เมื่อ 74 ปีที่แล้ว ทหารชั้นยศนายสิบ ก็กล้าหาญชาญชัยปานนี้ ก่อการกบฎ เดี๋ยวนี้นายสิบเขาทำอะไรกันบ้าง??
คำพิพากษาของศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ พิจารณากรณี กบฏนายสิบ โดยเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้
ศาลพิเศษ
วันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2478
ความอาญา
อัยการพิเศษ โจทก์
ระหว่าง ส.ท.หม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์ ที่ 1 กับพวก จำเลย
จำเลยกระทำความผิดฐานกบฏ
ข้าพเจ้าอัยการพิเศษ โจทก์ สังกัดกระทรวงกลาโหม ขอยื่นฟ้องต่อศาลมีข้อความจะกล่าวต่อไปนี้
1) ภายหลังที่ประเทศสยามได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากราชาธิปไตย มาเป็นประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญเป็น ต้นมา จำเลยต่าง ๆ ซึ่งมีตำแหน่งตามบัญชีท้ายฟ้องนี้กับพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ได้บังอาจสมคบร่วมคิดตระเตรียม โดยมีแผนการทำลายล้มล้างรัฐธรรมนูญและพระมหากษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยามให้เป็นอย่างอื่น
2) ด้วยเจตนาดังกล่าวแล้วในข้อ 1) ระหว่างเดือนมิถุนายน จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม ศกนี้ จำเลยกับพรรคพวกได้ยุยงเกลี้ยกล่อมส้องสุมผู้คน ตระเตรียมสรรพศัตราวุธในกองทัพสยามและที่ต่าง ๆ กัน แบ่งหน้าที่จำเลยกับพวกเข้ากำกับในการทหาร และที่ทำการต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อยึดอำนาจการปกครองโดยฆ่าผู้บังคับบัญชาและจะได้จับนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรีไว้เป็นประกันก่อน ถ้าขัดขวางไม่ยินยอมหรือจำเลยกับพวกคนใดคนหนึ่งถูกประทุษร้ายก็ให้ฆ่าบุคคล ทั้งสองนั้นเสีย แต่หลวงประดิษฐมนูธรรมให้จับตาย แล้วตั้งตนเองและพรรคพวกขึ้นครองตำแหน่งบัญชาการแทน และจัดกำลังไปทำการยึดสถานที่ทำการของรัฐบาลกับรักษาสถานทูตต่าง ๆ
3) เพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมายของจำเลยกับพวก จำเลยจะประหารชีวิตข้าราชการในรัฐบาลบางจำพวกให้หมดเสี้ยนหนามหรือศัตรูขัด ขวางแก่พวกจำเลยต่อไป ทั้งจะปลดปล่อยนักโทษการเมืองเมื่อ พ.ศ.2476 ซึ่งต้องโทษอยู่ในเรือนจำมหันตโทษทั้งหมด
4) ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ จำเลยจะขับไล่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันออกจากราชสมบัติ และฆ่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ขณะทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าอยู่หัวรัชการปัจจุบัน และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ตลอดทั้งสกุลวรวรรณ แล้วอัญเชิญพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กลับขึ้นครองราชสมบัติแทนต่อไป
5) การกระทำของจำเลยยังไม่สำเร็จลุล่วงไปตามแผนการทั้งหมดโดยรัฐบาลได้ล่วงรู้เสียก่อน จึงเริ่มทำการจับกุมเมื่อวันที่ 3 เดือนนี้
6) การกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้ว มีความผิดฐานกบฎภายในราชอาณาจักร และประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล และก่อการกำเริบให้เกิดวุ่นวายถึงอาจเกิดเหตุร้ายในบ้านเมือง แล้วยังทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมและเป็นที่หวาดหวั่นต่อการปกครองระบอบรัฐ ธรรมนูญ กับทำให้ทหารไม่พอใจเพื่อความกระด้างกระเดื่องไม่กระทำตามคำสั่งข้อบังคับ ของทหาร หมิ่นประมาทแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้บังคับบัญชา ละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ ทั้งหย่อนวินัยและสมรรถภาพแก่กรมกองทหารให้เสื่อมลง
7) จำเลยทั้งหมดถูกขังในศาลว่าการกลาโหมตั้งแต่วันที่ถูกจับ อัยการพิเศษได้ไต่สวนแล้ว คดีมีมูล จึงส่งจำเลยมาฟ้องยังศาลนี้ เหตุเกิดในกองรถรบ วังปารุสกกวัน กองพันทหารราบที่ 1 ,2,3,4, และบริเวณสนามหลวงกับที่อื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร เป็นต้น
คำขอท้ายฟ้อง
การที่จำเลยได้กระทำตามข้อความที่กล่าวมาในฟ้องนั้น โจทก์ถือว่าเป็นความผิดล่วงพระราชอาญาตามพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษา รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2476 มาตรา 3 ประมวลกฎหมายมทหารมาตรา29,30,31,32,33,41,42, และพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญาทหาร พ.ศ.2476 มาตรา 52 กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97,102,63,64,65, และพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2470 มาตรา 3,4,
ลงนาม นายพันเอกพระขจรเนติยุทธ
นายร้อยเอกขุนทอง สุนทรแสง
นายร้อยเอกขุนโพธัยการประกิต
นายดาบกิม ศิริเศรษโฐ
นายดาบไสว ดวงมณี
นายสำราญ กาญจนประภา
นายทิ้ง อมรส
ผลการพิพากษาในวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2478
คุกตลอดชีวิต 8 คน คือ
ส.ท.ม.ล.ทวีวงศ์ วัชรีวงศ์
ส.อ.เข็ม เฉลยทิศ
ส.อ.ถม เกตุอำไพ
ส.อ.เท้ง แซ่ซิ้ม
ส.อ.กวย สินธุวงศ์
ส.ท.แผ้ว แสงสูงส่ง
ส.ท.สาสน์ คลกุล
จ่านายสิบสาคร ภูมิทัต
จำคุก 20 ปี 3 คน คือ
ส.อ.แช่ม บัวปลื้ม
ส.อ.ตะเข็บ สายสุวรรณ
ส.ท.เลียบ คหินทพงษ์
จำคุก 16 ปี คนเดียวคือ นายนุ่ม ณ พัทลุง
และประหารชีวิต ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ขอบคุณ วีกิพีเดีย...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น