ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พูดถึง พธม.และ นปช. บ้าง ตอนที่ 2

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และในวันนี้มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมี ทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
ต่อมาในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น มรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่า 10 ชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ศาลปกครองสูงสุดได้โปรดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
1. ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
2. เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
3. ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
4. มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก
ประมาณเวลา 13.30 น. ขบวนผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การควบคุมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สามารถฝ่าการสกัดกั้นของตำรวจเข้ายึดพื้นที่แยกนางเลิ้งสำเร็จ พร้อมประกาศจะเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในเวลา 17.00 น. (กรุงเทพธุรกิจ) ส่วนขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้เคลื่อนพลถึงบริเวณแยกวังแดงใกล้คุรุสภา[56] ด้าน นปก. ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมของตนและกลุ่มจักรยานยนต์ ปักหลักชุมนุมที่ ถนนราชดำเนินนอก หวังกดดันให้พันธมิตรฯ ยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่การจราจรบริเวณรอบถนนราชดำเนินนอกเป็นอัมพาต
เวลา 15.00 น. ขบวนผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กลุ่มของนายสมศักดิ์ โกศัยสุขสามารถฝ่าด่านของตำรวจที่สกัดไว้บริเวณแยกมิสกวัน และมุ่งหน้านำกลุ่มผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มของพลตรีจำลองที่แยกนางเลิ้งจน สำเร็จ
เวลา 15.30 น. พันธมิตรประกาศชัยชนะในการยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าว ยอมรับว่าการที่พันธมิตรฯ สามารถยึดพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของประชาชนทุกคน เพราะถือว่าตำรวจไม่ได้แพ้ และประชาชน ก็ไม่ได้แพ้ และทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นประชาชนเช่นเดียวกัน พร้อมยืนยัน จะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือการใช้แก๊สน้ำตาแต่อย่างใด
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมตัวกันหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปักหลักที่ ถนนพระรามที่ 1 ตามแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เพื่อทวงถามความคืบหน้าของคดีความที่มีคนในรัฐบาลเป็นผู้ต้องหาที่ยังคั่ง ค้างอยู่ รวมถึงความคืบหน้าของคดีความที่แกนนำพันธมิตร และผู้ปราศรัยบนเวทีการชุมนุมถูกแจ้งข้อหา ซึ่งพบว่ามีอยู่กว่า 20 คดี
วันเดียวกันนั้น ศาลแพ่งได้ตัดสินให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องเปิดเส้นทางการ จราจรให้ครบหมดทุกเส้นทาง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 - 18.00 น. เวลา 21.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ย้ายเวทีและที่ชุมนุมไปเป็นที่เชิง สะพานมัฆวานรังสรรค์หน้ากระทรวงศึกษาธิการเหมือนเมื่อครั้งชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 แต่ครั้งนี้ได้หันเวทีปราศรัยไปยังพระบรมรูปทรงม้า
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 18.45 น. พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แต่งเครื่องแบบนายทหารเต็มยศขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวาน โดยปราศรัยว่า เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งปราศรัยเรื่องการเสียดินแดนปราสาทเขาพระวิหารที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้วว่า เป็นภารกิจของทหารต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาอธิปไตยของชาติ ซึ่งแม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็เสียให้ใครไม่ได้ ในครั้งนี้ พล.อ.ปฐมพงษ์ยังได้กล่าวกับประชาชนที่มาร่วมชุมนุมไว้อีกว่า
บางคนบอกว่ากลัวผิดวินัย ถ้าออกมาร่วมกับประชาชน แต่วินัยนั้นถ้าทำเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเพื่อดินแดน ถือว่าไม่ผิดวินัย ถ้าผู้บังคับบัญชาคนใดสั่งห้ามในเรื่องเหล่านี้ ถือว่าผู้บังคับบัญชาคนนั้นขี้ขลาด
หมายจับสนธิ ลิ้มทองกุล
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญามีคำสั่งอนุมัติหมายจับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องด้วยนายสนธิได้เผยแพร่คำปราศรัยที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ปราศรัยที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายสนธิได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00 น.
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. พร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และพนักงานสอบสวนร่วมกันสอบปากคำนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยมีแกนนำพันธมิตรฯ คนสำคัญ เช่น นายสุริยะใส กตะศิลา นายพิภพ ธงไชย เข้าให้ปากคำในฐานะพยานร่วมกับ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด แต่งเครื่องแบบนายทหารเต็มยศที่เดินทางสมทบในภายหลัง ซึ่งนายสนธิได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อหากล่าวหา พร้อมให้ทนายความส่วนตัวยื่นเรื่องขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ของนายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นหลักประกันตัวออกไป
(มีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น