ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่5)

ต่อมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อย่างรุนแรง จากกรณีที่ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ออกมากล่าวหาว่า มีผู้ว่าจ้างให้คนเขียนบทความต่อต้านระบบเศรษฐกิจพอเพียง และสนับสนุนระบบทักษิโณมิกส์ โดยทั้งสองมิได้ระบุว่า มีหลักฐานที่อ้างอิงได้ อย่างไรบ้าง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เปิดแถลงข่าว พร้อมนำเอกสารมาแสดงว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้าง บริษัทล็อบบียิสต์ แห่งที่ 2 เพื่อให้ช่วยงานด้านการเมือง โดยบริษัทดังกล่าว เป็นของ นายเจมส์ เอ.เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ที่มีความใกล้ชิดกับ นายจอร์จ เอช.ดับเบิลยู.บุช อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แถลงข่าวตอบโต้นายกอร์ปศักดิ์ ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ให้ดูแลเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ และติดตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ไม่ได้จ้างทำงานเป็นล็อบบี้ยิสต์แต่อย่างใด
หลังจากนั้นคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ในคดีกลุ่มที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใน คดีกลุ่มที่ 2 ถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยในข้อกล่าวหา เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการไต่สวนพยานครบถ้วนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ต่อมาตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละคน ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนออกมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกลางในช่วงบ่ายจนถึงเกือบเที่ยงคืนของวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เริ่มจากคดีกลุ่มที่ 2 ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุตลอดการอ่านคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ สรุปว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 พรรคมีความผิดจริง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค มีกำหนด 5 ปี


ระหว่างการอ่านคำวินิจฉัย รัฐบาล ทหาร และตำรวจ ได้เตรียมพร้อมรองรับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่คาดว่าอาจออกมาเคลื่อนไหว โดยเตรียมพร้อมประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีเกิดสถานการณ์รุนแรง แต่ในที่สุดไม่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น
คดียุบพรรคมีจุดเริ่มต้นจากวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2549 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2549 ต่อมานายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค พรรคไทยรักไทยร้องเรียนกลับว่าถูกพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรค ตน
กกต. มีความเห็นว่าทั้ง 5 พรรค กระทำความผิดตามมาตรา 66 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 พรรค
หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ส่งผลให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเก่าถูกยกเลิกไปด้วยกัน และได้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่มีจำนวน 9 คน [1] ขณะเดียวกันได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 กำหนดให้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ยังคงบังคับใช้ต่อไป และกรณีที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคนาน 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น