ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พูดถึง พธม.และ นปช. บ้าง ตอนที่ 1






มาพูดถึง พธม. กันบ้าง หลังจากพรรค พลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เริ่มต้นเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆ[1]และจัดประชุมเสวนาอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน และเริ่มเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ในการขับไล่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยสามคนออกจากตำแหน่ง ได้แก่ ทักษิณ ชินวัตร สมัคร สุนทรเวช และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจากผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงทฤษฎีสมคบคิดเรื่องแผนฟินแลนด์(แต่เหตุการปฏิญาณฟินแลนด์ภายหลังทราบว่าไม่มีมูลความจริง)
พันธมิตรมีแกนนำหลักแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง , สนธิ ลิ้มทองกุล , สมศักดิ์ โกศัยสุข , พิภพ ธงไชย และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และรุ่นที่ 2 ได้แก่ สำราญ รอดเพชร, ศิริชัย ไม้งาม, สาวิทย์ แก้วหวาน, ศรัณยู วงศ์กระจ่าง และ มาลีรัตน์ แก้วก่า
หลังจากที่คนเริ่มเบื่อหน่ายกับ พธม. ก็ได้เกิดการรวมพลังขึ้นจากฝ่ายที่ไม่เห็ฯด้วยกับการกระทำของพันธมิตร ซึ่งก็คือ นปช.
นปช.หรือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมาชิกบางส่วนประกอบด้วย กลุ่มพีทีวี, แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.) , นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีตส.ว.กรุงเทพฯ, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย
นอกจากนี้ในการประชุมยังมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเข้าร่วม เช่น รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ., ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มธ.
นปช. หยุดการชุมนุมตั้งแต่ นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 และเนื่องด้วย นปช. มีแนวความคิดที่ขัดแย้งกับกลุ่มพันธมิตรฯ จึงทำให้เกิดการปะทะกันหลายครั้ง มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
แกนนำ นปช. ชุดที่ 1
วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช., จตุพร พรหมพันธ์, จักรภพ เพ็ญแข, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, เหวง โตจิราการ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, อภิวันท์ วิริยะชัย, จรัล ดิษฐาอภิชัย, มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
แกนนำ นปช. ชุดที่ 2 (ชุดรักษาการ)
นปช.ชุดที่ 2 ตั้งขึ้นหลังจาก แกนนำ นปช.ชุดแรก ทั้ง 9 คนถูกตำรวจออกหมายจับ[1][2] ผศ.ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ ประธาน นปช. ชุดรักษาการ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) , ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, ชินวัตร หาบุญผาด, ก่อแก้ว พิกุลทอง, สุชาติ นาคบางไทร, สมบัติ บุญงามอนงค์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เริ่มต้นด้วยนายสุริยะใส กตะศิลา และผู้ร่วมชุมนุม 300 คน เดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง รวมทั้งยังเดินทางไปชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อถามหาความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 11.28 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนจากหน้าสนามกีฬาแห่งชาติไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมเรียกร้องให้ประธาน กกต.ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคำร้องทุจริตเลือกตั้งที่ถูกยกกว่า 700 คดี ขณะเดียวกัน ให้ตรวจคำแถลงปิดคดีใบแดง ยงยุทธ ติยะไพรัช ด้วยตัวเอง และยังให้กำลังใจ กกต. 3 คนคือ
1. นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
2. นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง
3. นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง

ขณะเดียวกัน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังอ้างว่า นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง มีพฤติกรรมที่แสดงออกเข้าข้างพรรคพลังประชาชนในทุกกรณี ตลอดจนอยู่ในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่บังอาจนำเสนอหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลฎีกานั้น ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งโดยทันที
วันอังคารที่17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ เวลา 20:58 น. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และ นายวสันต์ พานิชย์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่ง ได้ประกาศนโยบายการประกาศสงครามปราบปรามยาเสพติดว่า นโยบายนี้มีการใช้วิธีการฆ่าตัดตอน ที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,800 ราย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง จากนั้นมีการเปิดเทปบันทึกภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส ในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงให้เห็นถึงการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง และโหดเหี้ยมทำให้มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องกันถึงกว่า 70 รายเวลา 21.20 น. หลังจากที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศจะนำมวลชนเคลื่อนไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลายพันคนเคลื่อนขบวน ยาวเหยียดไปยังหน้าสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับมารับโทษในประเทศไทย
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 15.00 น. พลตำรวจเอกวิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่าย ความมั่นคง พร้อมด้วย พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเรียกประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง กับการดูแลความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัยกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมวางแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรพร้อมทั้งยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ มีนโยบายการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด เพราะการกระทำเช่นนั้นภาพที่ปรากฏออกไปคงถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่นั้นจะมีการเตรียมกำลังเพิ่มเติมประมาณ 2 กองร้อย หรือ 300 นาย เพื่อป้องกันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กรณีการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยมี พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็น รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ ควบคุมกำลังดูแลพื้นที่โดยรอบรัฐสภา โดยเน้นไม่ให้มีการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่รัฐสภาอย่างเด็ดขาด
(มีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น