พระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคการเมือง
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมคณะตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จำนวน 20 คน เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเสื้อครุยตุลาการศาลปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในโอกาสนี้ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับคณะผู้เข้าเฝ้าฯ มีใจความสำคัญว่าการพิพากษาคดีนี้เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไรก็จะเกิดความเดือดร้อนทั้งนั้น แต่ผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะวิจารณ์การตัดสินใจดังกล่าว และมี "ความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม"
ท่าทีของบุคคลสำคัญหลังพระราชดำรัส
จากพระราชดำรัสครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายออกมาน้อมรับ และเชื่อว่าน่าจะทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายดีขึ้น
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า เท่าที่ได้ฟังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สรุปได้ 5 ประเด็น คือ
1. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทรงเดือดร้อนพระทัย เหมือนกับนำเคราะห์มาให้ท่านอีก
2. เรื่องที่จะตัดสินกันในอีกไม่กี่วันนี้ เป็นเรื่องสำคัญ มีผลกระทบต่อบ้านเมืองเพราะมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายกันไป ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรก็มีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอยู่เสมอ
3. ทางที่ดีที่สุดคือศาลต้องกล้าหาญและสุจริตในการตัดสิน
4. เมื่อตัดสินแล้วต้องใช้สติปัญญาของทุกคนอธิบายผลที่เกิดขึ้นให้กับประชาชนทุกระดับได้เข้าใจในผลการตัดสิน
5. ท่านทรงอวยพรให้ปลอดภัยโชคดี
ด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ยอมรับว่าห่วง แต่เท่าที่เตรียมการไว้แล้วไม่น่าจะการมีการชุมนุมใหญ่ เพราะเราได้เตรียมทำความเข้าใจกับประชาชนมาพอสมควร ว่าควรยึดถือคำวินิจฉัยของศาล หากเราไม่ยึดถือศาล ต่อไปจะไม่มีอะไรเป็นหลักยึดในด้านความยุติธรรม อย่างที่เขาพูดกันว่าควรเป็นที่พึ่งสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรม" พร้อมกับลดระยะเวลาการเยือนจีนให้สั้นลง เพื่อกลับประเทศไทยในวันที่ 29 พฤษภาคม
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด และรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การตัดสินคดีจะเป็นไปตามหลักนิติศาสตร์ ส่วนจะมีการยุบพรรคหรือไม่ ต้องดูว่าอัยการฟ้องอย่างไร ขอให้ศาลทำอะไร และข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างไร เป็นอย่างที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ สิ่งที่จะสนองพระราชดำรัส คือการกระทำด้วยเหตุด้วยผลตามหลักกฎหมายที่จะต้องสามารถอธิบายหลักกฎหมายให้ คนทั่วไปเข้าใจได้ คำนึงถึงภาวะรอบด้านทุกอย่างให้ครบถ้วน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า พรรคต้องน้อมรับพระราชดำรัส ใช้เป็นหลักปฏิบัติคือการช่วยกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไร พร้อมจะรับและดำเนินงานทางการเมืองต่อไป โดยยึดหลักสันติวิธีและยึดมั่นตามระบอบรัฐสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยกล่าวว่า สิ่งที่ควรคิดกันคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดความเดือดร้อน หรือเกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในรูปแบบใดทั้งสิ้น ดังนั้นการเคลื่อนไหวอะไรก็ตามของฝ่ายที่คิดหรือหวังผลที่จะให้เกิดความ รุนแรง จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมือง
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองมีทั้งหมด 9 คน ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้ [1]
* นายปัญญา ถนอมรอด (ประธาน)
* นายอักขราทร จุฬารัตน (รองประธาน)
* หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายสมชาย พงษธา (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายธานิศ เกศวพิทักษ์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายจรัญ หัตถกรรม (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายวิชัย ชื่นชมพูนุท (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้แบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
นายจรัญ หัตถกรรม อ่านคำพิพากษาคดีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
* กลุ่มที่ 1 พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย โดยการไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันอังคาร รวมทั้งสิ้น 14 นัด โดยการไต่สวนพยานพยานนัดสุดท้าย คือ วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้มีการสืบพยานฝ่ายอัยการผู้ร้องไปทั้งสิ้น 31 ปาก พยานพรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 19 ปาก พยานพรรคพัฒนาชาติไทยผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 2 ปาก และพยานพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 1 ปาก
* กลุ่มที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยการไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มขึ้นเมื่อ 18 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันพฤหัสบดี รวมทั้งสิ้น 12 นัด โดยการไต่สวนพยานนัดสุดท้าย คือ วันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา
ตามกำหนดการของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีกำหนดอ่านคำวินิจฉัยของกลุ่มที่ 2 ก่อน (พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า) ในเวลา 13.30 น. หลังจากนั้นจะอ่านคำวินิจฉัยกลุ่มที่ 1 (พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย) ในเวลา 14.30 น. [8] อย่างไรก็ตาม การอ่านคำวินิจฉัยใช้เวลานานหลายชั่วโมงจนเกินกำหนดการ ทั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่องและสถานีวิทยุแห่งประเทศ ไทย
หลังทราบคำพิพากษาแล้วในส่วนของพรรคไทยรักไทย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค ที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะน้อมรับมติศาล ได้เดินทางกลับไปที่พรรคและประกาศพร้อมกับสมาชิกพรรคและกลุ่มบุคคลที่สนับ สนุนพรรคว่า ไม่ขอรับคำตัดสิน เพราะเป็นคำตัดสินจากปากกระบอกปืน
นายปัญญา ถนอมรอด ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า คณะตุลาการมีมติไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยมติ 9 ต่อ 0 มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทย ด้วยมติ 9 ต่อ 0 และมีมติให้ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ด้วยมติ 6 ต่อ 3 โดย 3 เสียงข้างน้อยมาจากตุลาการจากศาลฎีกา ซึ่งมีความเห็นว่า แม้จะมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค แต่ไม่เห็นด้วยที่จะนำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 มาย้อนหลังใช้บังคับเพื่อกำหนดโทษ ในขณะที่ 6 เสียงข้างมาก เห็นว่าเมื่อมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค ก็ควรกำหนดโทษกับผู้บริหารพรรคที่ทำผิด ในฐานะเป็นตัวแทนพรรค
(มีต่อ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น