ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

คำพิพากษา...2478

เมื่อ 74 ปีที่แล้ว ทหารชั้นยศนายสิบ ก็กล้าหาญชาญชัยปานนี้ ก่อการกบฎ เดี๋ยวนี้นายสิบเขาทำอะไรกันบ้าง??
คำพิพากษาของศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ พิจารณากรณี กบฏนายสิบ โดยเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้

ศาลพิเศษ
วันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2478
ความอาญา
อัยการพิเศษ โจทก์
ระหว่าง ส.ท.หม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์ ที่ 1 กับพวก จำเลย
จำเลยกระทำความผิดฐานกบฏ
ข้าพเจ้าอัยการพิเศษ โจทก์ สังกัดกระทรวงกลาโหม ขอยื่นฟ้องต่อศาลมีข้อความจะกล่าวต่อไปนี้

1) ภายหลังที่ประเทศสยามได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากราชาธิปไตย มาเป็นประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญเป็น ต้นมา จำเลยต่าง ๆ ซึ่งมีตำแหน่งตามบัญชีท้ายฟ้องนี้กับพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ได้บังอาจสมคบร่วมคิดตระเตรียม โดยมีแผนการทำลายล้มล้างรัฐธรรมนูญและพระมหากษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยามให้เป็นอย่างอื่น

2) ด้วยเจตนาดังกล่าวแล้วในข้อ 1) ระหว่างเดือนมิถุนายน จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม ศกนี้ จำเลยกับพรรคพวกได้ยุยงเกลี้ยกล่อมส้องสุมผู้คน ตระเตรียมสรรพศัตราวุธในกองทัพสยามและที่ต่าง ๆ กัน แบ่งหน้าที่จำเลยกับพวกเข้ากำกับในการทหาร และที่ทำการต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อยึดอำนาจการปกครองโดยฆ่าผู้บังคับบัญชาและจะได้จับนายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรีไว้เป็นประกันก่อน ถ้าขัดขวางไม่ยินยอมหรือจำเลยกับพวกคนใดคนหนึ่งถูกประทุษร้ายก็ให้ฆ่าบุคคล ทั้งสองนั้นเสีย แต่หลวงประดิษฐมนูธรรมให้จับตาย แล้วตั้งตนเองและพรรคพวกขึ้นครองตำแหน่งบัญชาการแทน และจัดกำลังไปทำการยึดสถานที่ทำการของรัฐบาลกับรักษาสถานทูตต่าง ๆ

3) เพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมายของจำเลยกับพวก จำเลยจะประหารชีวิตข้าราชการในรัฐบาลบางจำพวกให้หมดเสี้ยนหนามหรือศัตรูขัด ขวางแก่พวกจำเลยต่อไป ทั้งจะปลดปล่อยนักโทษการเมืองเมื่อ พ.ศ.2476 ซึ่งต้องโทษอยู่ในเรือนจำมหันตโทษทั้งหมด

4) ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ จำเลยจะขับไล่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันออกจากราชสมบัติ และฆ่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ขณะทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระเจ้าอยู่หัวรัชการปัจจุบัน และหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ตลอดทั้งสกุลวรวรรณ แล้วอัญเชิญพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กลับขึ้นครองราชสมบัติแทนต่อไป

5) การกระทำของจำเลยยังไม่สำเร็จลุล่วงไปตามแผนการทั้งหมดโดยรัฐบาลได้ล่วงรู้เสียก่อน จึงเริ่มทำการจับกุมเมื่อวันที่ 3 เดือนนี้

6) การกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้ว มีความผิดฐานกบฎภายในราชอาณาจักร และประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล และก่อการกำเริบให้เกิดวุ่นวายถึงอาจเกิดเหตุร้ายในบ้านเมือง แล้วยังทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยมและเป็นที่หวาดหวั่นต่อการปกครองระบอบรัฐ ธรรมนูญ กับทำให้ทหารไม่พอใจเพื่อความกระด้างกระเดื่องไม่กระทำตามคำสั่งข้อบังคับ ของทหาร หมิ่นประมาทแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้บังคับบัญชา ละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ ทั้งหย่อนวินัยและสมรรถภาพแก่กรมกองทหารให้เสื่อมลง

7) จำเลยทั้งหมดถูกขังในศาลว่าการกลาโหมตั้งแต่วันที่ถูกจับ อัยการพิเศษได้ไต่สวนแล้ว คดีมีมูล จึงส่งจำเลยมาฟ้องยังศาลนี้ เหตุเกิดในกองรถรบ วังปารุสกกวัน กองพันทหารราบที่ 1 ,2,3,4, และบริเวณสนามหลวงกับที่อื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร เป็นต้น

คำขอท้ายฟ้อง

การที่จำเลยได้กระทำตามข้อความที่กล่าวมาในฟ้องนั้น โจทก์ถือว่าเป็นความผิดล่วงพระราชอาญาตามพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษา รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2476 มาตรา 3 ประมวลกฎหมายมทหารมาตรา29,30,31,32,33,41,42, และพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญาทหาร พ.ศ.2476 มาตรา 52 กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 97,102,63,64,65, และพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2470 มาตรา 3,4,

ลงนาม นายพันเอกพระขจรเนติยุทธ
นายร้อยเอกขุนทอง สุนทรแสง
นายร้อยเอกขุนโพธัยการประกิต
นายดาบกิม ศิริเศรษโฐ
นายดาบไสว ดวงมณี
นายสำราญ กาญจนประภา
นายทิ้ง อมรส

ผลการพิพากษาในวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2478

คุกตลอดชีวิต 8 คน คือ


ส.ท.ม.ล.ทวีวงศ์ วัชรีวงศ์
ส.อ.เข็ม เฉลยทิศ
ส.อ.ถม เกตุอำไพ
ส.อ.เท้ง แซ่ซิ้ม
ส.อ.กวย สินธุวงศ์
ส.ท.แผ้ว แสงสูงส่ง
ส.ท.สาสน์ คลกุล
จ่านายสิบสาคร ภูมิทัต

จำคุก 20 ปี 3 คน คือ

ส.อ.แช่ม บัวปลื้ม
ส.อ.ตะเข็บ สายสุวรรณ
ส.ท.เลียบ คหินทพงษ์

จำคุก 16 ปี คนเดียวคือ นายนุ่ม ณ พัทลุง

และประหารชีวิต ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ขอบคุณ วีกิพีเดีย...

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ยาสมานแผลทางใจ จาก ไทยรัฐ



สุเทพ เทือกสุบรรณ
ไม่แน่ใจว่า ยาสามัญประจำบ้านยี่ห้อ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ผู้จัดการรัฐบาล จะบรรเทาเอาอยู่หรือไม่
ในเมื่อบาดแผลทางใจระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับค่ายภูมิใจไทย ทั้งคิวแตะเบรกโปรเจกต์
รถเมล์เช่าเอ็นจีวีของกระทรวงคมนาคม และรายการหักดิบโครงการประมูลข้าวโพดจนถึงคิวระบายข้าวในโครงการรับจำนำของกระทรวงพาณิชย์
มันบาดลึกเกินกว่าอาการปวดหัว ตัวร้อน ทาได้ ถูได้เพราะลองถึงขั้นที่ "เทพเทือก" ในฐานะรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ต้องโดดลงมาเคลียร์เอง ทั้งๆที่แบ่งงานแบ่งหน้าที่ให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ไปชัดเจนแล้ว มันสะท้อนปัญหาขบเหลี่ยมเกินกว่าจะเคลียร์กันในวง ครม. ไม่อยู่ในอารมณ์ของฝ่ายบริหารที่เจรจากันได้
ต้องคุยกันด้วยภาษา "นักเลง" ในหมู่นักเลือกตั้งแต่ในเบื้องต้น ประเมินจากน้ำเสียงของ "ผู้จัดการใหญ่รัฐบาล" ที่แสดงความมั่นอกมั่นใจในบทท้าวมาลีวราช
"ไม่มีปัญหา เชื่อว่าจะทำให้บรรยากาศดีขึ้น ประสานรอยร้าวได้ ทุกอย่างต้องดี ผมรับรองว่าดี และจะได้มาตรการแนวทางที่ผมเชื่อว่ามีเหตุ มีผล และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ผมเป็นคนมองโลกในแง่ดี ผมไม่ค่อยมีปัญหา"
"เทพเทือก" ออกตัวล่วงหน้า บอกเป็นนัยว่า คนละสไตล์กับคุณชายสะอาดยี่ห้อ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" คุณชายละเอียดที่ชื่อ "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ"
ปรับโทนใหม่ แบะท่าคุยกันง่ายๆต่อเนื่องมาจากรายงานเบื้องหลังบรรยากาศในที่ประชุม ครม.นัดที่ผ่านมา นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ต้องกัดฟันสะกดอารมณ์ ในช่วงที่โดนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แตะมือกับรองนายกฯกอร์ปศักดิ์ ไล่บี้ไล่ต้อนเรื่องโครงการระบายข้าว
ในอารมณ์ที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม สายตรงกลุ่มเพื่อนเนวิน ต้องตัดบทเชิงประชด ให้กระทรวงพาณิชย์ถอนเรื่องกลับไปใหม่ เหมือนโครงการรถเมล์เช่าเอ็นจีวีของกระทรวงคมนาคม จะได้หมดเรื่องหมดราว
คนของพรรคภูมิใจไทยหงุดหงิดเต็มแก่ ฟางเส้นสุดท้ายใกล้เปื่อยเต็มที
และก็เป็นอะไรที่ตั้งท่าขู่กันซึ่งๆหน้า โดยอาการขยับของค่ายภูมิใจไทยที่เริ่มวางกำลังผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เหมือนเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ส่อวงแตก ทางใครทางมัน
นั่นก็เพราะเขี้ยวระดับ "เนวิน ชิดชอบ-สมศักดิ์ เทพสุทิน" ก็อ่านเกมทัน
ยังไงก็ไม่ปล่อยให้ประชาธิปัตย์เหยียบบ่าพรรคภูมิใจไทย เล่น
ลูกตามน้ำ โหนกระแสต้านโครงการรถเมล์เช่าเอ็นจีวี และยังได้กินรวบโครงการระบายสินค้าเกษตร
ชูภาพโปร่งใส มือสะอาด
ได้แต้ม แถมยังตัดท่อน้ำเลี้ยง สกัดดาวรุ่งค่ายภูมิใจไทย
โดยตรรกะง่ายๆ "เนวิน" มีแต่เสีย แล้วจะอยู่ให้ "อภิสิทธิ์" เหยียบบ่าทำไม
ปัญหาคือ ประชาธิปัตย์พร้อมจะยุบสภา ลงสนามเลือกตั้งแล้วหรือยัง
ในเมื่อ พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทยังค้างเติ่งอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทก็ยังไม่เข้าสภาฯ งบประมาณยังคาราคาซัง
ผลงานการกู้วิกฤติเศรษฐกิจก็ยังลูกผีลูกคน ไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
เหนืออื่นใด สถานภาพภายในพรรคประชาธิปัตย์เองก็ยังระส่ำระสาย ถึงขั้นที่นายชวน หลีกภัย "ผู้มีบารมีนอก ครม." ต้องออกมาช่วยสยบพยศ "กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย" คำรามฮึ่มๆให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง
หยุดก่อแรงกระเพื่อมจนระบบพรรคเสียหาย
แต่ก็เป็นอะไรที่ยิ่งขยายร่องรอยขึ้นเรื่อยๆ จากการออกหน้ามาร่วมวงของบรรดา "รุ่นเก๋า" อย่าง น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม หรือนายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี แสดงตัวเป็น "รุ่นใหญ่" ตัวจริงเสียงจริง
จองตั๋ว แย่งคิวเป็นรัฐมนตรี
ถ้ารัฐบาลวงแตกวันนี้ ประชาธิปัตย์ก็ไม่ได้ถือไพ่แต้มเหนือกว่าค่ายอื่นซะเมื่อไหร่
โดยอาการมันก็อย่างที่เห็นๆ หากประชาธิปัตย์แน่จริง "ตบหัว" แล้วต้องแตกหัก
จะส่ง "เทพเทือก" มาลูบหลังภูมิใจไทยทำไม.

"ทีมข่าวการเมือง" รายงาน

เราควรเรียกร้องสามัคคีหรือความเป็นธรรม?




เราควรเรียกร้องสามัคคีหรือความเป็นธรรม?

นักปรัชญาชายขอบ

เมื่อเกิดความขัดแย้งทางการเมือง การเดินขบวนประท้วง เกิดความรุนแรงมากบ้าง น้อยบ้าง ขึ้นครั้งใด ชนชั้นนำในสังคมไทยก็มักจะออกมาเรียกร้องให้คนในสังคมรู้รักสามัคคี ให้เลิกทะเลาะกัน หันหน้ามาปรองดองสมานฉันท์กัน เพื่อให้ประเทศชาติได้เดินหน้าต่อไป

แต่ข้อเรียกทำนองนี้นับวันจะยิ่งห่างไกลความสำเร็จ เพราะ...

1.ข้อเรียกร้องดังกล่าวสะท้อนทรรศนะพื้นฐานของชนชั้นนำต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มองด้านเดียวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเป็น “ความวุ่นวาย” ที่ทำลายความสงบของชาติ และความสงบของชาติจะมีไม่ได้ถ้าคนในชาติไม่สามัคคี ซึ่งสามัคคีมีความหมายสำคัญว่าต้องเคารพเชื่อฟังอำนาจรัฐ ไม่ขัดแย้ง ไม่เดินขบวนต่อต้าน ฯลฯ
ทรรศนะพื้นฐานดังกล่าวนี้ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองยุคใหม่ที่มองความขัดแย้งเป็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า
ความสามัคคี ความสงบ ความมั่นคง ที่ประชาชนต้องเป็นเด็กดีเชื่อฟังโอวาท หรือการควบคุมครอบงำของอำนาจรัฐนั้นตกยุคไปแล้ว การเมืองยุคนี้เรียกร้องความสามัคคี ความสงบ ความมั่นคง ในความหมายที่ชนชั้นนำซึ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบมาตลอดให้ยุติการเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ โดยเปิดทางให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีสิทธิ์มีส่วนอย่างเท่าเทียมในการกำหนดกติกา นโยบาย และหรือเลือกพรรคการเมืองตามที่พวกเขาเห็นว่าดี
โดยที่ชนชั้นนำส่วนน้อยจะต้องไม่ฉวยโอกาสใช้เล่ห์เพทุบายมาล้มล้างกติกา นโยบาย และหรือรัฐบาลที่พวกเขาเลือก
2. การเรียกร้องให้รู้สามัคคีของชนชั้นนำ เป็น “การทำการเมืองให้ไม่การเมือง” (สำนวน อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์) ในเมื่อการเมืองเป็นเรื่องของการต่อรองอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์ ซึ่งจะเกิดความเป็นธรรมก็ต่อเมื่อประชาชนทุกภาคส่วนมีโอกาสเข้ามาต่อรองในเรื่องดังกล่าวอย่างเท่าเทียมกันผ่านเวทีต่างๆ เช่น สภาต่างๆ พรรคการเมือง สื่อมวลชน และเวทีสาธารณะอื่นๆ
ในการต่อรองอำนาจจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆ นั้น ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติ แต่สังคมการเมืองจะเรียนรู้และหาทางจัดการความขัดแย้งนั้นๆ ให้ดำเนินไปภายใต้กติกาและการใช้เหตุผล
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ใกล้-ไกล ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐไม่ยอมรับฟังเหตุผลของประชาชน และมักยุติการต่อรองทางการเมืองของประชาชนด้วยการใช้กำลังทำให้การเมืองไม่การเมือง คือ ทำเรื่องที่ควรจะต่อรองกันได้ด้วยเหตุผลในบรรยากาศที่เคารพสิทธิเสรีภาพให้กลายเป็นเรื่องที่คุยกันไม่ได้ด้วยเหตุผล ไม่เคารพสิทธิ เสรีภาพอีกต่อไป
การเรียกร้องให้รู้รักสามัคคีแม้จะฟังดูดี แต่ในแง่หนึ่งมันทำให้ภาพความขัดแย้งทางการเมืองในการต่อรองอำนาจจัดสรรผลประโยชน์ดูเป็นเรื่องที่เลวร้ายเกินเหตุ และมันไปปิดกั้นไม่ให้ความขัดแย้งพัฒนาไปสู่การใช้เหตุผลต่อสู้กัน
หรือขัดแย้งกันด้วยเหตุผลจนถึงที่สุดจนสังคมเกิดการเรียนรู้ร่วมกันว่า การจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมที่ทุกฝ่ายควรยอมรับร่วมกันได้นั้นคืออะไร
ไม่ใช่เพื่อรักษา “ภาพ” ของสังคมที่รู้รักสามัคคีแล้ว เลยทิ้งปัญหาความไม่เป็นธรรมด้านต่างๆ ที่มีอยู่จริงไปเฉยๆ จนสั่งสมเพิ่มพูนมากขึ้นๆ เมื่อถึงจุดระเบิดคำขอคำขวัญประเภทรู้รักสามัคคีก็เอาไว้ไม่อยู่อีกต่อไป
3. ประชาชนส่วนใหญ่รู้ทันวาทกรรมของชนชั้นนำ เช่น “รู้รักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความสงบ ความมั่นคง ฯลฯ” แล้วว่า เป็นเพียง “วาทกรรมอำพราง” เพราะวาทกรรมเหล่านี้ไม่ได้ตอบปัญหาความไม่เป็นธรรมทางฐานะเศรษฐกิจ อำนาจต่อรองทางการเมือง สิทธิและโอกาสทางสังคมอื่นๆ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นๆ
วาทกรรมอำพรางเหล่านั้นใช้ลวงประชาชนไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะสิ่งที่ประชาชนรักสุดจิตสุดใจ คือ “ความเป็นธรรม” พวกเขาต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม ถ้าแผ่นดินนี้มีความเป็นธรรมก็ไม่จำเป็นต้องพูดถึงความรู้รักสามัคคี ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หรือไม่จำเป็นต้องสร้างวาทกรรมอำพรางใดๆ อีก
ตื่นเถิดชนชั้นนำ ประชาชนชั้นล่างกำลังสอนท่านว่า ประชาชาติจะรักชาติโดยไม่รักความเป็นธรรมไม่ได้ พวกท่านจะพร่ำสอนหรือเรียกร้องให้ประชาชนรักชาติโดยปฏิเสธการสร้างสังคมที่เป็นธรรมไม่ได้ พวกท่านเสวยสุขบนความไม่เท่าเทียมของอำนาจต่อรองในการจัดสรรผลประโยชน์แทบทุกด้านมาแสนนาน
พวกท่านอยู่ส่วนบนของโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรม และไม่เคยใส่ใจปัญหาความไม่เป็นธรรมแม้แต่น้อย เมื่อไม่รักความเป็นธรรมก็อย่าเรียกร้องใครอื่นให้รักชาติ
ชนชั้นนำไม่มีความชอบธรรมที่จะเรียกร้องสามัคคีจากประชาชน ตราบที่เขาไม่ใส่ใจปัญหาความไม่เป็นธรรม ประชาชนต่างหากที่ควรเป็นผู้เรียกร้องความเป็นธรรมจากชนชั้นนำ และประชาชนต่างหากคือผู้ที่จะสร้างความเป็นธรรมด้วยสมองและสองมือ

ประเทศชาติจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร ถ้าไม่มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่จับต้องได้ !

--------------------------------------------------------------------------------
โดย : ประชาไท วันที่ : 28/5/2552

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พูดถึง พธม.และ นปช. บ้าง ตอนที่ 3

แต่ในวันเดียวกันที่จังหวัดอุดรธานี กลุ่มพันธมิตรฯอุดรธานีได้จัดตั้งเวทีปราศรัยและจอโปรเจกต์เตอร์ขึ้น ได้ถูกกลุ่มชมรมคนรักอุดร ซึ่งนำโดย นายขวัญชัย ไพรพนา นักจัดรายการวิทยุท้อง ถิ่นยกพวกร่วม 1,000 คน พร้อมอาวุธครบมือ ไปรื้อทำลายเวทีและทำร้ายผู้ร่วมชุมนุมจนได้รับบาดเจ็บไปหลายคน และมีอยู่หนึ่งคนที่สาหัสจนต้องเข้าห้องไอซียู เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้มีตำรวจในพื้นที่ยืนดูอยู่เฉย ๆ ขณะที่จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดยโสธร ก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้คล้าย ๆ กัน
เช้าวันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 มีกลุ่มผู้คนประมาณ 80 คนอ้างตัวว่าเป็นพันธมิตรฯ บุกเข้าไปที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) แล้วยึดไว้ ในช่วงเวลาประมาณ 05.30 น.แต่หลังจากนั้นก็ถูกจับกุมและสถานีก็สามารถออกอากาศได้ตามปกติ ต่อมากลุ่มพันธมิตรฯได้บุกเข้าไปในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายในการนำสัญญาณโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี มาออกอากาศในคลื่นความถี่โทรทัศน์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยแทน แต่ทำไม่สำเร็จ โดยทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยต้องย้ายไปออกอากาศที่กองบังคับการตำรวจจราจร และสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5แทน
ต่อมากลุ่มพันธมิตรฯ ได้ประกาศเป่านกหวีดเผด็จศึกกับรัฐบาล และเคลื่อนตัวออกจากสะพานมัฆวานรังสรรค์ มุ่งหน้าไปที่กระทรวงหลายแห่งรวมทั้งทำเนียบรัฐบาล จนสามารถบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องไปประชุมกันที่กองบัญชาการทหารสูงสุด และที่นั่นเอง นายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบอำนาจการจัดการกับผู้ชุมนุมให้กับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมต.มหาดไทย ซึ่ง พล.ต.อ.โกวิท ก็ได้ประกาศว่า จะสลายการชุมนุมในเวลา 18.00 น. ของวันนั้น แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นดังที่อ้าง
ช่วงค่ำนายสนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยว่าทางรัฐบาลจะขอศาลออกหมายจับ 5 แกนนำ และผู้ประสานงานในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดตกลงกันแล้วว่าจะยอมให้จับโดยดีและมีความเป็นไปได้ที่ศาลจะไม่ ให้ประกันตัว
ศาลอนุมัติหมายจับ 9 แกนนำพันธมิตรฯ
วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 16.00 น.ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการพิจารณาคำร้องขออนุมัติออกหมายจับ
* สนธิ ลิ้มทองกุล
* พลตรีจำลอง ศรีเมือง
* พิภพ ธงไชย
* สมศักดิ์ โกศัยสุข
* สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์
* สุริยะใส กตะศิลา
* เทิดภูมิ ใจดี
* อมร อมรรัตนานนท์
* ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
ผู้ต้องหาที่ 1-9 ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113, ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี มาตรา 114, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิกแล้วไม่เลิก ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 215 และ 216
จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด!
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 นายชัช ชลวร ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมคณะ ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 267 ประกอบมาตรา 182(7) เนื่องจากรับเป็นพิธีกรกิตติมศักดิ์ ของรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ซึ่งคณะตุลาการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่านายสมัครกระทำต้องห้ามขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เรื่องคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี จึงทำให้นายสมัครสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีลง แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2551 นายสมัครยังได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชนอย่างไม่เป็นทางการ (ยังไม่มีเอกสารยื่นใบลาออก) โดยให้เหตุผลว่า ได้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคและรักษาระบอบประชาธิปไตยอย่างดีที่สุดแล้ว จึงขอยุติบทบาททางการเมือง ส่วนการดำเนินการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับพรรค
และในวันที่17 กันยายน 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ได้รับการคัดเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
นับตั้งแต่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนที่นายสมัคร รัฐบาลมีท่าทีเจรจาสมานฉันท์กับฝ่ายพันธมิตรฯ โดยได้แต่งตั้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรีเพื่อที่จะมาทำหน้าที่เจรจากับทางพันธมิตรโดยเฉพาะ ซึ่งทางฝ่ายพล.อ.ชวลิตเองก็ได้ยอมรับในเรื่องนี้ โดยส่ง พล.ท.พิรัตน์ สวาพิรัตน์ นายทหารคนสนิทไปคุยเจรจากับพล.ต.จำลอง ถึงที่ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล
แต่ในศุกร์ที่ 3 ตุลาคม เวลาประมาณ 14.00 น. ขณะที่นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ หนึ่งในแกนนำ 9 คน ที่ถูกหมายจับข้อหาเป็นกบฏ ได้เดินทางไปที่บ้านของนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ เพื่อผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า และเดินทางกลับด้วยรถยนต์ ขณะที่อยู่บนทางด่วน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับโดยกระชากตัวลงมาจากบนรถเลย โดยนายตำรวจคนที่รับหน้าที่นี้มีชื่อว่า พ.ต.อ.ปรีชา ธิมามนตรี การจับกุมเริ่มขึ้นจากนายไชยวัฒน์ออกเดินทาง จากที่ชุมนุม ซึ่งตำรวจได้ตามประกบไปตั้งแต่ที่นายไชยวัฒน์เสร็จสิ้นการปราศรัยที่ทำเนียบ รัฐบาล ในช่วงบ่าย ก่อนหน้านั้น ในช่วงการจับกุมได้มีการต่อรอง ว่า จะนำมาสอบสวนที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง แต่ระหว่างที่ขึ้นทางด่วน นายไชยวัฒน์ได้ขับรถส่วนตัว โดยมีตำรวจนั่งประกอบ และมีรถตำรวจอีกจำนวนหนึ่งตามหลัง เมื่อมาถึงทางแยกระหว่างไปทางแจ้งวัฒนะ และ ยมราช ตำรวจได้บังคับให้หยุดรถและฉุกกระชาก นายไชยวัฒน์ ลงมาจากรถ และนำขึ้นรถตำรวจอีกคันแล้วขับตรงไปทางแจ้งวัฒนะ และนำตัวไปกักขังไว้ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 คลอง 5 ปทุมธานี แต่นายไชยวัฒน์ยังมีขวัญกำลังใจดีอยู่และฝากบอกมาว่าไม่ต้องประกันตัว ซึ่งปฏิกิริยาของทางฝ่ายพันธมิตรฯระบุว่า รัฐบาลไม่มีท่าทีที่จะสมานฉันท์จริง และเป็นไปได้ว่าอาจเรียกชุมนุมใหญ่อีกครั้ง
ตกเย็นแกนนำ พธม.ประชุมกันอย่างเคร่งเครียด โดยมีการคาดการว่า จะมีการบุกเข้ามาจับ ตนเองภายในทำเนียบ จึงได้ใช้ปรากฏการณ์ "โล่มนุษย์"
และในเช้าวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ออกจากที่ชุมนุมเพื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งของตนที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ถนนพระราม 5 เขตดุสิต ขณะที่หย่อนบัตรลงหีบเรียบร้อยแล้วก็ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรจเข้าจับกุมและนำ ไปควบคุมตัวที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 อันเป็นที่เดียวกับนายไชยวัฒน์ โดยก่อนหน้านั้น พล.ต.จำลองได้เขียนจดหมายทิ้งไว้หนึ่งฉบับและย้ำให้เปิดอ่านหลัง 09.00 น. ซึ่งนางสาวอัญชลี ไพรีรัก ซึ่งทำหน้าที่พิธีกรบนเวทีก็ได้เปิดอ่านหลังจากนั้น โดยมีข้อความในจดหมายว่า
เรียน คุณอัญชลี คุณกมลพร หรือพิธีกรคนอื่นๆ กรุณาอ่านทุกถ้อยคำ อย่าให้ตกหล่น อ่านออกสำเนียงเสียงพูด พันธมิตรฯ ทุกท่าน ในการปราศรัย เราต่างมาชุมนุมเพื่อใช้หนี้แผ่นดิน และมาทำบุญ เราต่างมาทำบุญเพื่อประเทศไทย และใช้หนี้แผ่นดิน เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกๆ คนที่เกิดมา ก่อนตายต้องชดใช้บุญคุณแผ่นดิน ไม่ว่าการณ์สิ่งใดจะเกิดขึ้นขอให้ทุกคนจงจดจำไว้ว่า หน้าที่ของพลเมืองไทย คือ รับใช้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ผมจำลอง ศรีเมือง อยากย้ำเตือนคนไทยว่า เราต่างเกิดมาพร้อมหน้าที่ ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ยากดีมีจน เรามีหน้าที่ใช้หนี้แผ่นดิน
หลังจากถูกจับกุมแล้ว พล.ต.จำลองแสดงความจำนงว่าไม่ต้องการรับประกันตัว เนื่องจากเป็นหมายจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปฏิกิริยาต่าง ๆ ของสังคมหลังจากทราบข่าวก็ได้แสดงความเป็นห่วงในสถานการณ์ และหลายฝ่ายก็คาดว่าเหตุการณ์จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งทางกลุ่มแนวร่วมของพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากต่างจังหวัดก็ได้ทยอย เดินทางมุ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานครทันที
ระหว่างนี้รายการความจริงวันนี้ ที่ออกช่องNBTก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม จนได้เกิดความคิดที่จะจัดรายการความจริงวันนี้สัญจรขึ้น และพวกเขาก็ทำได้จริงๆ...
ในที่สุดก็อย่างที่ท่านเห็นกัน คือ NBT ถูกเปลี่ยนชื่อ รัฐเข้าครอบงำ, รายการความจริงวันนี้เปลี่ยนหน้าตา ยกระดับขึ้นมาอย่างใหญ่โต , เกิดกลุ่มแดงต่างๆมากมายทั่วทุกหัวระแหง, มีการทำงานใต้ดิน, บนอากาศ,ผ่านใยแก้ว สาระพัดทางต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และ...เพื่อทวงคืนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ.....

พูดถึง พธม.และ นปช. บ้าง ตอนที่ 2

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมนักวิชาการ เดินทางมาพบ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อรับมอบรายชื่อผู้คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งในส่วนของพันธมิตรฯ ได้มีการมอบรายชื่อให้กับทางสถาบันไทยคดีศึกษาไปแล้ว 6,000 รายชื่อ และในวันนี้มอบให้อีก 3,488 รายชื่อ ซึ่งล่าสุดตัวเลขของผู้ที่คัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมี ทั้งหมด 33,400 รายชื่อ ภายหลังจากที่มีการรับมอบรายชื่อจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรแล้ว ม.ล.วัลวิภา ยังได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านเรื่องนี้ ต่อนายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
ต่อมาในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็น มรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือ ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน และใช้เวลาไต่สวนกว่า 10 ชั่วโมง จนมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเวลา 02.00 น. ศาลปกครองสูงสุดได้โปรดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังนี้
1. ให้เพิกถอนการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
2. เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่มีมติเห็นชอบร่างคำแถลงการณ์ร่วม ฯ โดยมอบหมายให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ฯ
3. ให้เพิกถอนการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551
4. มีคำสั่งให้นายนพดล ปัทมะ ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ร่วม ฯ ต่อประเทศกัมพูชาและองค์การยูเนสโก
ประมาณเวลา 13.30 น. ขบวนผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การควบคุมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สามารถฝ่าการสกัดกั้นของตำรวจเข้ายึดพื้นที่แยกนางเลิ้งสำเร็จ พร้อมประกาศจะเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในเวลา 17.00 น. (กรุงเทพธุรกิจ) ส่วนขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้เคลื่อนพลถึงบริเวณแยกวังแดงใกล้คุรุสภา[56] ด้าน นปก. ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมของตนและกลุ่มจักรยานยนต์ ปักหลักชุมนุมที่ ถนนราชดำเนินนอก หวังกดดันให้พันธมิตรฯ ยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่การจราจรบริเวณรอบถนนราชดำเนินนอกเป็นอัมพาต
เวลา 15.00 น. ขบวนผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ กลุ่มของนายสมศักดิ์ โกศัยสุขสามารถฝ่าด่านของตำรวจที่สกัดไว้บริเวณแยกมิสกวัน และมุ่งหน้านำกลุ่มผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มของพลตรีจำลองที่แยกนางเลิ้งจน สำเร็จ
เวลา 15.30 น. พันธมิตรประกาศชัยชนะในการยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาล ด้าน พล.ต.ต.สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าว ยอมรับว่าการที่พันธมิตรฯ สามารถยึดพื้นที่หน้าทำเนียบรัฐบาลสำเร็จ ถือเป็นชัยชนะของประชาชนทุกคน เพราะถือว่าตำรวจไม่ได้แพ้ และประชาชน ก็ไม่ได้แพ้ และทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นประชาชนเช่นเดียวกัน พร้อมยืนยัน จะไม่มีการสลายการชุมนุมหรือการใช้แก๊สน้ำตาแต่อย่างใด
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมตัวกันหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปักหลักที่ ถนนพระรามที่ 1 ตามแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เพื่อทวงถามความคืบหน้าของคดีความที่มีคนในรัฐบาลเป็นผู้ต้องหาที่ยังคั่ง ค้างอยู่ รวมถึงความคืบหน้าของคดีความที่แกนนำพันธมิตร และผู้ปราศรัยบนเวทีการชุมนุมถูกแจ้งข้อหา ซึ่งพบว่ามีอยู่กว่า 20 คดี
วันเดียวกันนั้น ศาลแพ่งได้ตัดสินให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องเปิดเส้นทางการ จราจรให้ครบหมดทุกเส้นทาง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 - 18.00 น. เวลา 21.00 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ย้ายเวทีและที่ชุมนุมไปเป็นที่เชิง สะพานมัฆวานรังสรรค์หน้ากระทรวงศึกษาธิการเหมือนเมื่อครั้งชุมนุมเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 แต่ครั้งนี้ได้หันเวทีปราศรัยไปยังพระบรมรูปทรงม้า
วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 18.45 น. พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษา กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้แต่งเครื่องแบบนายทหารเต็มยศขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่สะพานมัฆวาน โดยปราศรัยว่า เป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งปราศรัยเรื่องการเสียดินแดนปราสาทเขาพระวิหารที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นเป็นมรดกโลกเรียบร้อยแล้วว่า เป็นภารกิจของทหารต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาอธิปไตยของชาติ ซึ่งแม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็เสียให้ใครไม่ได้ ในครั้งนี้ พล.อ.ปฐมพงษ์ยังได้กล่าวกับประชาชนที่มาร่วมชุมนุมไว้อีกว่า
บางคนบอกว่ากลัวผิดวินัย ถ้าออกมาร่วมกับประชาชน แต่วินัยนั้นถ้าทำเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และเพื่อดินแดน ถือว่าไม่ผิดวินัย ถ้าผู้บังคับบัญชาคนใดสั่งห้ามในเรื่องเหล่านี้ ถือว่าผู้บังคับบัญชาคนนั้นขี้ขลาด
หมายจับสนธิ ลิ้มทองกุล
วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ศาลอาญามีคำสั่งอนุมัติหมายจับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องด้วยนายสนธิได้เผยแพร่คำปราศรัยที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ที่ปราศรัยที่ท้องสนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งนายสนธิได้เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 9.00 น.
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร.พร้อมด้วย พล.ต.ท.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผช.ผบ.ตร. พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. พร้อมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และพนักงานสอบสวนร่วมกันสอบปากคำนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยมีแกนนำพันธมิตรฯ คนสำคัญ เช่น นายสุริยะใส กตะศิลา นายพิภพ ธงไชย เข้าให้ปากคำในฐานะพยานร่วมกับ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด แต่งเครื่องแบบนายทหารเต็มยศที่เดินทางสมทบในภายหลัง ซึ่งนายสนธิได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อหากล่าวหา พร้อมให้ทนายความส่วนตัวยื่นเรื่องขอประกันตัวโดยใช้ตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ของนายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นหลักประกันตัวออกไป
(มีต่อ)

พูดถึง พธม.และ นปช. บ้าง ตอนที่ 1






มาพูดถึง พธม. กันบ้าง หลังจากพรรค พลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 เริ่มต้นเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยจัดสัมมนาที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีการเสวนาทางวิชาการโดยนักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลที่สนใจในการเมืองหลายกลุ่ม รวมทั้งมีการแสดงงิ้วธรรมศาสตร์อีกครั้ง และเปิดตัวผู้ทำงานทางด้านติดตามและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลชุดต่าง ๆ[1]และจัดประชุมเสวนาอีกครั้งที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน และเริ่มเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กร จากสื่อมวลชน นักวิชาการ ศิลปิน รวมถึงองค์กรอิสระจากภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีจุดประสงค์ในการขับไล่นายกรัฐมนตรีประเทศไทยสามคนออกจากตำแหน่ง ได้แก่ ทักษิณ ชินวัตร สมัคร สุนทรเวช และ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ขับไล่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรจากผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัว รวมไปถึงทฤษฎีสมคบคิดเรื่องแผนฟินแลนด์(แต่เหตุการปฏิญาณฟินแลนด์ภายหลังทราบว่าไม่มีมูลความจริง)
พันธมิตรมีแกนนำหลักแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง , สนธิ ลิ้มทองกุล , สมศักดิ์ โกศัยสุข , พิภพ ธงไชย และ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และรุ่นที่ 2 ได้แก่ สำราญ รอดเพชร, ศิริชัย ไม้งาม, สาวิทย์ แก้วหวาน, ศรัณยู วงศ์กระจ่าง และ มาลีรัตน์ แก้วก่า
หลังจากที่คนเริ่มเบื่อหน่ายกับ พธม. ก็ได้เกิดการรวมพลังขึ้นจากฝ่ายที่ไม่เห็ฯด้วยกับการกระทำของพันธมิตร ซึ่งก็คือ นปช.
นปช.หรือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมาชิกบางส่วนประกอบด้วย กลุ่มพีทีวี, แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.) , นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีตส.ว.กรุงเทพฯ, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ประสานงานพันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย
นอกจากนี้ในการประชุมยังมีนักวิชาการจำนวนหนึ่งเข้าร่วม เช่น รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มธ., ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มธ.
นปช. หยุดการชุมนุมตั้งแต่ นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 แต่ก็กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 และเนื่องด้วย นปช. มีแนวความคิดที่ขัดแย้งกับกลุ่มพันธมิตรฯ จึงทำให้เกิดการปะทะกันหลายครั้ง มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
แกนนำ นปช. ชุดที่ 1
วีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช., จตุพร พรหมพันธ์, จักรภพ เพ็ญแข, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, เหวง โตจิราการ, วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, อภิวันท์ วิริยะชัย, จรัล ดิษฐาอภิชัย, มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ
แกนนำ นปช. ชุดที่ 2 (ชุดรักษาการ)
นปช.ชุดที่ 2 ตั้งขึ้นหลังจาก แกนนำ นปช.ชุดแรก ทั้ง 9 คนถูกตำรวจออกหมายจับ[1][2] ผศ.ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ ประธาน นปช. ชุดรักษาการ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) , ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, ชินวัตร หาบุญผาด, ก่อแก้ว พิกุลทอง, สุชาติ นาคบางไทร, สมบัติ บุญงามอนงค์, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ดาวกระจาย เริ่มต้นด้วยนายสุริยะใส กตะศิลา และผู้ร่วมชุมนุม 300 คน เดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงนายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึง ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง รวมทั้งยังเดินทางไปชุมนุมประท้วงที่ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อถามหาความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 11.28 น. พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เคลื่อนขบวนจากหน้าสนามกีฬาแห่งชาติไปชุมนุมที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมเรียกร้องให้ประธาน กกต.ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคำร้องทุจริตเลือกตั้งที่ถูกยกกว่า 700 คดี ขณะเดียวกัน ให้ตรวจคำแถลงปิดคดีใบแดง ยงยุทธ ติยะไพรัช ด้วยตัวเอง และยังให้กำลังใจ กกต. 3 คนคือ
1. นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง
2. นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง
3. นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง

ขณะเดียวกัน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังอ้างว่า นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง มีพฤติกรรมที่แสดงออกเข้าข้างพรรคพลังประชาชนในทุกกรณี ตลอดจนอยู่ในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่บังอาจนำเสนอหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลฎีกานั้น ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งโดยทันที
วันอังคารที่17 มิถุนายน พ.ศ. 2551 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ เวลา 20:58 น. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา และ นายวสันต์ พานิชย์ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกมากล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่ง ได้ประกาศนโยบายการประกาศสงครามปราบปรามยาเสพติดว่า นโยบายนี้มีการใช้วิธีการฆ่าตัดตอน ที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,800 ราย เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง จากนั้นมีการเปิดเทปบันทึกภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สถานีตำรวจอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส ในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงให้เห็นถึงการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง และโหดเหี้ยมทำให้มีผู้เสียชีวิตต่อเนื่องกันถึงกว่า 70 รายเวลา 21.20 น. หลังจากที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศจะนำมวลชนเคลื่อนไปชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลในเวลา 13.00 น.ของวันที่ 20 มิถุนายน
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หลายพันคนเคลื่อนขบวน ยาวเหยียดไปยังหน้าสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับมารับโทษในประเทศไทย
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 นายสุวัตร อภัยภักดิ์ นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ และ คณะ รวม 9 คน เป็นตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เวลา 15.00 น. พลตำรวจเอกวิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่าย ความมั่นคง พร้อมด้วย พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเรียกประชุมนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง กับการดูแลความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัยกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ที่ปักหลักบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมวางแนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรพร้อมทั้งยืนยันว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ มีนโยบายการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด เพราะการกระทำเช่นนั้นภาพที่ปรากฏออกไปคงถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ส่วนกำลังเจ้าหน้าที่นั้นจะมีการเตรียมกำลังเพิ่มเติมประมาณ 2 กองร้อย หรือ 300 นาย เพื่อป้องกันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด กรณีการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยมี พล.ต.ต.สุชาติ เหมือนแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็น รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ ควบคุมกำลังดูแลพื้นที่โดยรอบรัฐสภา โดยเน้นไม่ให้มีการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่รัฐสภาอย่างเด็ดขาด
(มีต่อ)

เกี่ยวกับการยุบพรรค...................ตอนที่ 2

ก่อนหน้าการวินิจฉัยคดีในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงกันประเด็นหนึ่ง คือ พรรคที่ถูกยุบจะไปจดทะเบียนใหม่ในชื่อเดิมหรือคล้ายชื่อเดิมได้หรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์และไทยรักไทยมีความเห็นว่าทำได้ แต่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ออกมายืนยันทั้งก่อนหน้าและภายหลังการวินิจฉัยคดีว่าทำไม่ได้ เพราะต้องใช้เวลาในการชำระบัญชีต่าง ๆ ให้เสร็จภายใน 6 เดือน ตามมาตรา 68 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง และยังมีประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และ 27 เกี่ยวกับการห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองอยู่
ภายหลังคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 กลุ่มไทยรักไทย (เดิมคือ พรรคไทยรักไทย) มีมติที่จะส่งอดีต ส.ส.เก่า สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชน เพื่อลงรับเลือกตั้งครั้งใหม่ หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[5][6] โดยมีข่าวว่า แกนนำกลุ่มไทยรักไทย ได้เชิญ นายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยนายสมัครให้สัมภาษณ์ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นผู้โทรศัพท์ทางไกลมาเชิญให้รับตำแหน่งด้วยตัวเอง[7] จากนั้น ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ของพรรค เพื่อลงคะแนนเสียงเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค และ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นเลขาธิการพรรค
หลังจากไปใช้ชีวิตที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี ถือหุ้นทั้งหมด 75 เปอร์เซ็นต์ โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ขอให้แฟนบอลเรียกตนอย่างง่ายๆ ว่า แฟรงค์ ชินาตรา (Frank Sinatra)
จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ ให้นายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ [2] วันที่ 6 กุมภาพันธ์ นายสมัครยังได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีก 1 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนที่ 3 ที่ดำรงตำแหน่งนี้
ขณะที่นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้จัดรายการ สนทนาประสาสมัคร ซึ่งออกอากาศทุกวันอาทิตย์ 09.00 น. เพื่อรายงานการทำงานและชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ
ระหว่างนั้นก็มีการเริ่มต้นชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ

เกี่ยวกับการยุบพรรค...................ตอนที่ 1

พระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคการเมือง
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมคณะตุลาการศาลปกครอง และข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง จำนวน 20 คน เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเสื้อครุยตุลาการศาลปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ในโอกาสนี้ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับคณะผู้เข้าเฝ้าฯ มีใจความสำคัญว่าการพิพากษาคดีนี้เป็นการตัดสินใจที่สำคัญ ไม่ว่าผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไรก็จะเกิดความเดือดร้อนทั้งนั้น แต่ผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะวิจารณ์การตัดสินใจดังกล่าว และมี "ความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม"



ท่าทีของบุคคลสำคัญหลังพระราชดำรัส
จากพระราชดำรัสครั้งนี้ ทำให้หลายฝ่ายออกมาน้อมรับ และเชื่อว่าน่าจะทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายดีขึ้น
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า เท่าที่ได้ฟังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สรุปได้ 5 ประเด็น คือ
1. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทรงเดือดร้อนพระทัย เหมือนกับนำเคราะห์มาให้ท่านอีก
2. เรื่องที่จะตัดสินกันในอีกไม่กี่วันนี้ เป็นเรื่องสำคัญ มีผลกระทบต่อบ้านเมืองเพราะมีความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายกันไป ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไรก็มีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอยู่เสมอ
3. ทางที่ดีที่สุดคือศาลต้องกล้าหาญและสุจริตในการตัดสิน
4. เมื่อตัดสินแล้วต้องใช้สติปัญญาของทุกคนอธิบายผลที่เกิดขึ้นให้กับประชาชนทุกระดับได้เข้าใจในผลการตัดสิน
5. ท่านทรงอวยพรให้ปลอดภัยโชคดี
ด้าน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "ยอมรับว่าห่วง แต่เท่าที่เตรียมการไว้แล้วไม่น่าจะการมีการชุมนุมใหญ่ เพราะเราได้เตรียมทำความเข้าใจกับประชาชนมาพอสมควร ว่าควรยึดถือคำวินิจฉัยของศาล หากเราไม่ยึดถือศาล ต่อไปจะไม่มีอะไรเป็นหลักยึดในด้านความยุติธรรม อย่างที่เขาพูดกันว่าควรเป็นที่พึ่งสุดท้ายในกระบวนการยุติธรรม" พร้อมกับลดระยะเวลาการเยือนจีนให้สั้นลง เพื่อกลับประเทศไทยในวันที่ 29 พฤษภาคม
นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด และรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การตัดสินคดีจะเป็นไปตามหลักนิติศาสตร์ ส่วนจะมีการยุบพรรคหรือไม่ ต้องดูว่าอัยการฟ้องอย่างไร ขอให้ศาลทำอะไร และข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างไร เป็นอย่างที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ สิ่งที่จะสนองพระราชดำรัส คือการกระทำด้วยเหตุด้วยผลตามหลักกฎหมายที่จะต้องสามารถอธิบายหลักกฎหมายให้ คนทั่วไปเข้าใจได้ คำนึงถึงภาวะรอบด้านทุกอย่างให้ครบถ้วน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า พรรคต้องน้อมรับพระราชดำรัส ใช้เป็นหลักปฏิบัติคือการช่วยกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ไม่ว่าผลการพิจารณาจะออกมาเป็นเช่นไร พร้อมจะรับและดำเนินงานทางการเมืองต่อไป โดยยึดหลักสันติวิธีและยึดมั่นตามระบอบรัฐสภา


ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยกล่าวว่า สิ่งที่ควรคิดกันคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดความเดือดร้อน หรือเกิดความเดือดร้อนน้อยที่สุด เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ประสงค์จะเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในรูปแบบใดทั้งสิ้น ดังนั้นการเคลื่อนไหวอะไรก็ตามของฝ่ายที่คิดหรือหวังผลที่จะให้เกิดความ รุนแรง จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่

ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมือง
ผู้พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองมีทั้งหมด 9 คน ซึ่งทั้งหมดมีดังนี้ [1]

* นายปัญญา ถนอมรอด (ประธาน)
* นายอักขราทร จุฬารัตน (รองประธาน)
* หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายสมชาย พงษธา (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายกิติศักดิ์ กิติคุณไพโรจน์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายนุรักษ์ มาประณีต (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายธานิศ เกศวพิทักษ์ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายจรัญ หัตถกรรม (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
* นายวิชัย ชื่นชมพูนุท (ตุลาการรัฐธรรมนูญ)
ตุลาการรัฐธรรมนูญได้แบ่งการพิจารณาคดีออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
นายจรัญ หัตถกรรม อ่านคำพิพากษาคดีพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
* กลุ่มที่ 1 พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทยและพรรคแผ่นดินไทย โดยการไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันอังคาร รวมทั้งสิ้น 14 นัด โดยการไต่สวนพยานพยานนัดสุดท้าย คือ วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ได้มีการสืบพยานฝ่ายอัยการผู้ร้องไปทั้งสิ้น 31 ปาก พยานพรรคไทยรักไทย ผู้ถูกร้องที่ 1 จำนวน 19 ปาก พยานพรรคพัฒนาชาติไทยผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 2 ปาก และพยานพรรคแผ่นดินไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 จำนวน 1 ปาก
* กลุ่มที่ 2 พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยการไต่สวนพยานนัดแรกเริ่มขึ้นเมื่อ 18 มกราคม 2550 และไต่สวนพยานอย่างต่อเนื่องทุกวันพฤหัสบดี รวมทั้งสิ้น 12 นัด โดยการไต่สวนพยานนัดสุดท้าย คือ วันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา
ตามกำหนดการของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญมีกำหนดอ่านคำวินิจฉัยของกลุ่มที่ 2 ก่อน (พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า) ในเวลา 13.30 น. หลังจากนั้นจะอ่านคำวินิจฉัยกลุ่มที่ 1 (พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย) ในเวลา 14.30 น. [8] อย่างไรก็ตาม การอ่านคำวินิจฉัยใช้เวลานานหลายชั่วโมงจนเกินกำหนดการ ทั้งนี้ได้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่องและสถานีวิทยุแห่งประเทศ ไทย
หลังทราบคำพิพากษาแล้วในส่วนของพรรคไทยรักไทย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรค ที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะน้อมรับมติศาล ได้เดินทางกลับไปที่พรรคและประกาศพร้อมกับสมาชิกพรรคและกลุ่มบุคคลที่สนับ สนุนพรรคว่า ไม่ขอรับคำตัดสิน เพราะเป็นคำตัดสินจากปากกระบอกปืน
นายปัญญา ถนอมรอด ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า คณะตุลาการมีมติไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยมติ 9 ต่อ 0 มีมติให้ยุบพรรคไทยรักไทย ด้วยมติ 9 ต่อ 0 และมีมติให้ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ด้วยมติ 6 ต่อ 3 โดย 3 เสียงข้างน้อยมาจากตุลาการจากศาลฎีกา ซึ่งมีความเห็นว่า แม้จะมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค แต่ไม่เห็นด้วยที่จะนำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 มาย้อนหลังใช้บังคับเพื่อกำหนดโทษ ในขณะที่ 6 เสียงข้างมาก เห็นว่าเมื่อมีความผิดถึงขั้นยุบพรรค ก็ควรกำหนดโทษกับผู้บริหารพรรคที่ทำผิด ในฐานะเป็นตัวแทนพรรค
(มีต่อ)

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่5)

ต่อมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อย่างรุนแรง จากกรณีที่ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ออกมากล่าวหาว่า มีผู้ว่าจ้างให้คนเขียนบทความต่อต้านระบบเศรษฐกิจพอเพียง และสนับสนุนระบบทักษิโณมิกส์ โดยทั้งสองมิได้ระบุว่า มีหลักฐานที่อ้างอิงได้ อย่างไรบ้าง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เปิดแถลงข่าว พร้อมนำเอกสารมาแสดงว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้าง บริษัทล็อบบียิสต์ แห่งที่ 2 เพื่อให้ช่วยงานด้านการเมือง โดยบริษัทดังกล่าว เป็นของ นายเจมส์ เอ.เบเกอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา ที่มีความใกล้ชิดกับ นายจอร์จ เอช.ดับเบิลยู.บุช อดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แถลงข่าวตอบโต้นายกอร์ปศักดิ์ ว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ว่าจ้างบริษัทดังกล่าว ให้ดูแลเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ และติดตามสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ไม่ได้จ้างทำงานเป็นล็อบบี้ยิสต์แต่อย่างใด
หลังจากนั้นคดียุบพรรคการเมืองเนื่องจากการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่พรรคไทยรักไทย พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทย ในคดีกลุ่มที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใน คดีกลุ่มที่ 2 ถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยในข้อกล่าวหา เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย และกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการไต่สวนพยานครบถ้วนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ต่อมาตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละคน ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตนออกมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยกลางในช่วงบ่ายจนถึงเกือบเที่ยงคืนของวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เริ่มจากคดีกลุ่มที่ 2 ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์และวิทยุตลอดการอ่านคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ สรุปว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 พรรคมีความผิดจริง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้ง 4 พรรค มีกำหนด 5 ปี


ระหว่างการอ่านคำวินิจฉัย รัฐบาล ทหาร และตำรวจ ได้เตรียมพร้อมรองรับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่คาดว่าอาจออกมาเคลื่อนไหว โดยเตรียมพร้อมประกาศใช้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีเกิดสถานการณ์รุนแรง แต่ในที่สุดไม่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวรุนแรงใด ๆ เกิดขึ้น
คดียุบพรรคมีจุดเริ่มต้นจากวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2549 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2549 ต่อมานายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า พรรคไทยรักไทยได้จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ปลอมแปลงเอกสารฐานข้อมูลสมาชิกพรรค พรรคไทยรักไทยร้องเรียนกลับว่าถูกพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กใส่ร้ายพรรค ตน
กกต. มีความเห็นว่าทั้ง 5 พรรค กระทำความผิดตามมาตรา 66 ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 และได้ส่งสำนวนต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 พรรค
หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ส่งผลให้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเก่าถูกยกเลิกไปด้วยกัน และได้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่มีจำนวน 9 คน [1] ขณะเดียวกันได้ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 กำหนดให้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ยังคงบังคับใช้ต่อไป และกรณีที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคนาน 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่4)

อย่างไรก็ตาม ศาลปกครองได้ตัดสินให้ การเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน เป็นโฆฆะ ประกอบกับการที่ศาลตัดสินจำคุก คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้งสามคน จึงทำให้การเมืองถึงทางตัน
แต่แล้วในวันที่ 19 กันยายน เวลาประมาณ 21.00 น. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็น หัวหน้าคณะและขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟน อินไปยังช่อง 9 ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"[
ภายหลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด
หลังการรัฐประหารไม่นาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้น พำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ได้ส่งจดหมายถึงพรรคไทยรักไทย ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีเนื้อหาชี้แจงถึงสาเหตุการลาออก
นับแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายนพดล ปัทมะ เป็นทนายความส่วน ตัว เพื่อทำหน้าที่ ผู้แทนทางกฎหมายในประเทศไทย นอกจากนี้ นายนพดลยังได้จัดแถลงข่าว เพื่อตอบโต้ผู้กล่าวหาและโจมตี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่เป็นระยะ
วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2550 นายนพดล นำจดหมายที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เขียนด้วยลายมือ เนื้อหาเป็นการตอบโต้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ได้แถลงข่าวสรุปสถานการณ์เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 1 มกราคม กล่าวหา กลุ่มอำนาจเก่าผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมือง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เขียนปฏิเสธว่า ตนไม่เคยคิดจะทำเรื่องเลวร้ายเช่นนั้น
จากนั้นไม่นาน พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล ได้เรียกสื่อมวลชนประเภทวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงเข้าพบ โดยได้กล่าวเตือนในกรณีการเสนอประเด็นจดหมายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ โดยชี้แจงให้ยุติการนำเสนอความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
ราวกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลายแขนง เช่น สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (15 มกราคม) เอ็นเอชเค หนังสือพิมพ์ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล และสื่อมวลชนอื่นๆ ในประเทศสิงคโปร์ และ ญี่ปุ่น เนื้อหาเป็นการชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนและประเทศไทย ในระหว่างการเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน
ในเวลาใกล้เคียงกัน มีข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ว่าจ้าง บริษัทล็อบบียิสต์ เพื่อ ชี้ช่องทาง และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในวอชิงตัน ดี.ซี. และต่างประเทศ (Provide guidance and cousel with regard to Thaksin’s interest in Washington DC and abroad) แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ปฏิเสธรายงานดังกล่าว
(มีต่อ)

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่3)

หลังจากจัดตั้งรัฐบาลได้ไม่นานนัก ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายผู้ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล ผู้นิยมพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม และนักวิชาการที่มีแนวคิดแตกต่างกับรัฐบาล โดยสาเหตุหลักมาจากการกล่าวหาว่า รัฐบาลมุ่งเอื้อประโยชน์ให้กับเครือญาติและพวกพ้อง, แผนฟินแลนด์ ที่เป็นแผนอันชั่วร้าย ซึ่งกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และคนใกล้ชิด ได้วางไว้ก่อนจัดตั้งรัฐบาล ที่ประเทศฟินแลนด์ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มิได้ตอบคำถามต่างๆ เหล่านั้นอย่างชัดเจน
โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ได้ตอบโต้ ด้วยการตั้งฉายาให้กลุ่มนักวิชาการ และผู้ที่วิจารณ์อยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น กลุ่มรู้ทันทักษิณ หรือ นายธีรยุทธ บุญมี ว่าเป็น ขาประจำ และยังชี้ให้เห็นว่า ผู้โจมตีรัฐบาลบางส่วน เป็นกลุ่มทุนเก่า และผู้สูญเสียผลประโยชน์ จากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จากการที่กลุ่มทุนใหม่มีอำนาจทางการเมือง
ต่อมา ในปลายปี พ.ศ. 2548 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้ นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความส่วนตัว ยื่นฟ้อง สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ต่อศาลแพ่ง เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท รวมถึงในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจในทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศ ได้ยื่นฟ้องสนธิในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วย แต่หลังจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้มอบหมายให้นายธนา ดำเนินการถอนฟ้อง เพื่อรับสนองกระแสพระราชดำรัส พร้อมกันนี้ ศาลก็ได้ยกคำร้องของตำรวจไปทั้งหมด
ค่ำวันที่ 13 มกราคม ประทิน สันติประภพ, กัลยา โสภณพนิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, กล้านรงค์ จันทิก อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช. สนธิ และพวก ได้นำประชาชนที่มาร่วมฟังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ที่สวนลุมพินี กว่า 3,000 คน เดินเท้ามายังหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อกดดันให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่ง อีกทั้งมีบางส่วนที่บุกรุกเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย และเนื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันเด็กแห่งชาติ จะมีเด็กและเยาวชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงมีการสลายการชุมนุมในคืนวันนั้น
จากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดที่ทำให้ประชาชนที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ รวมถึงกลุ่มคนที่เห็นว่าว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หลีกเลี่ยงภาษี ร่วมกันแสดงท่าทีขับไล่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมประท้วง ที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จัดขึ้นนานมาแล้ว จนเมื่อเกิดการขายหุ้นดังกล่าว ตามที่สนธิคาดการณ์ไว้แล้ว แต่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ปฏิเสธตลอดมา ส่งผลให้มีผู้ร่วมชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
เย็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นใหม่ ในวันที่ 2 เมษายน โดยกล่าวถึงเหตุผล ในตอนหนึ่งของแถลงการณ์ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 20.30 น. คืนวันเดียวกันว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านระบอบประชาธิปไตย กดดันให้ตนลาออกจากตำแหน่ง
วันที่ 3 มีนาคม พรรคไทยรักไทย จัดการปราศรัยใหญ่ ที่ท้องสนามหลวง โดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรค ขึ้นปราศรัย ในเวลา 20.00 น. มีผู้เดินทางมาฟังปราศรัย เป็นจำนวนหลายคน จนเต็มท้องสนามหลวง และล้นออกไปถึง ถนนราชดำเนินกลาง ใกล้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
วันที่ 5 มีนาคม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดย แกนนำ ทั้ง 5 ได้นำประชาชนจำนวนหนึ่ง ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล กดดันทุกวิถีทาง เพื่อให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเว้นวรรคทางการเมือง อีกทั้งต้องตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด แต่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยืนยันว่า ตนจะลาออกจากตำแหน่งรักษาการไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่ จึงไม่สามารถลาออกจากตำแหน่งได้
วันที่ 4 เมษายน เวลา 20.30 น. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ แถลงการณ์ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยว่า แม้พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง 2 เมษายน แต่ตนจะไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการสร้างความสมานฉันท์ และปรองดองในชาติ แต่ยังจำเป็นจะต้องรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกว่าการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่จะแล้วเสร็จ แต่เมื่อยังคงมีกระแสต่อต้านการที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ในวันที่ 6 เมษายน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาราชการ และแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน
ในระหว่างลาราชการ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เดินทางเยือน และพบปะหารือ เป็นการส่วนตัว กับผู้นำหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น จีน และ ฮ่องกง ตั้งแต่ วันที่ 24 ถึง 30 เมษายน
(มีต่อ)

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่2)

ในช่วงแรกที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ป.ป.ช.ได้มีมติว่า บัญชีทรัพย์สินที่แจ้งเป็นเท็จ [2] ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิด ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประเด็นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติพิพากษา ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 ให้ยกคำร้องดังกล่าว ในจำนวนเสียงข้างมากนี้ มี 4 ท่านมีความเห็นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ไม่ถือว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ภายใต้ข้อบังคับดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังถูกกล่าวหาประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน จากตำแหน่งทางการเมือง อาจเอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจของครอบครัว โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานจากรัฐ ซึ่งคล้ายคลึงกับกรณีของ ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี นายกรัฐมนตรีของอิตาลี
รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในสมัยแรก ดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ได้รับความนิยมจากประชาชน เช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร, โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, โครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ออกโฆษณาโครงการต่างๆ ที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการตามนโยบาย ผ่านสื่อของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยังได้รับความนิยมจากกลุ่มเกษตรกร และประชาชนในชนบททั่วไปอย่างมาก หากแต่มีเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายว่า เป็นการดำเนินนโยบายแบบประชานิยม
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีนโยบายทำสงครามปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดอย่าง รุนแรง ระยะเวลา 3 เดือน และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการฆ่าตัดตอนผู้กระทำความผิด เพื่อไม่ให้สืบสวนไปถึงผู้บงการรายใหญ่ และยังเป็นการตัดตอนกระบวนการยุติธรรม โดยไม่ให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้พิสูจน์ตัวเองในศาล ทั้งยังเห็นว่า มีผู้ถูกวิสามัญฆาตกรรมจำนวนหนึ่ง ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

นโยบายอื่นๆ ในด้านสังคม ได้แก่ การปราบปรามผู้มีอิทธิพล และการจำหน่ายสลากเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ของรัฐบาล โดยนำรายได้จากการจำหน่ายส่วนหนึ่ง ไปเป็นทุนการศึกษา สำหรับเยาวชนที่ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่ผ่านสอบคัดเลือกในระดับอำเภอ เพื่อส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ตามสาขาที่นักเรียนทุนต้องการ โดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนแก่ราชการ ทั้งยังสามารถลดปัญหาจากการค้าหวยเถื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า รายได้ในส่วนอื่นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ ว่านำไปใช้อะไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลสมัยนั้นก็มิได้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าว และยังมีโครงการ แท็กซี่เอื้อ อาทร โดยคิดค่าเช่ารถในราคาประหยัด เพื่อสร้างอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย แต่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการลักลอบเปิดโอกาสให้ทำธุรกิจเช่าแท๊กซี่ได้อย่างเสรี เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ดำเนินธุรกิจให้เช่าแท๊กซี่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผลให้เกิดปริมาณรถแท๊กซี่บนท้องถนนมากเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า มักใช้อำนาจสนับสนุนหรือเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติและบุคคลใกล้ชิด เช่น การสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งสำคัญ อย่างการผลักดันให้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ให้ได้รับตำแหน่งสำคัญอย่าง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในเวลาต่อมา รวมถึง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณหญิงพจมาน รวมถึงการใช้อำนาจต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มชินคอร์ป เช่น ลดค่าภาษีสัมปทานโทรคมนาคม ให้กับบริษัทเอไอเอส ลดค่าสัมปทานเช่าคลื่นความถี่ ให้กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เข้ารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 จากผลการเลือกตั้ง เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง โดยได้ตำแหน่ง ส.ส.ในสภา จำนวน 376 ที่นั่ง แม้ในช่วงนั้น ฝ่ายตรงข้ามจะโจมตีเรื่องการคอรัปชัน และการซื้อเสียง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ กลับได้เพียง 96 ที่นั่ง โดยคะแนนเสียงหลักของพรรคไทยรักไทย มาจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร โดยใน กทม. พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง จาก 37 เขตเลือกตั้ง จากนโยบายเมกะโปรเจกต์ สร้างรถไฟฟ้า 7 สาย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มาเพียง 4 ที่นั่ง ในส่วนภาคใต้ ซึ่งประชาชนมีความนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างเหนียวแน่น โดย พรรคไทยรักไทยได้มาเพียง 1 ที่นั่ง พรรคชาติไทย 1 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ถึง 52 ที่นั่ง
จึงอาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลพรรคไทยรักไทยสมัยที่สองนี้ เป็นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนทั่วทุกภาค ทั้งในเมืองและชนบท จึงเป็นรัฐบาลชุดแรก ในประวัติศาสตร์ไทย ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มาจากพรรคการเมืองเดียว ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ ทำให้การเมืองไทย มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเข้าสู่ระบบสองพรรค

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอนที่1)


ได้มีผู้รวบรวมไว้ในกระทู้ของพันทิพเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้บันทึกไว้ว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รวบรวม
แต่ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ ณ ที่นี้ ด้วยความเคารพ

การต่อสู้ของทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งคนแรก ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี แต่กลับต้องพ้นจากตำแหน่งในวาระที่สอง เนื่องจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะกำลังร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 10 คนของ นายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร จบการศึกษาจาก โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) โดยสอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น

ต่อมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุน ก.พ. ศึกษาต่อสาขากระบวนการยุติธรรม ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2518 และ ได้ศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่ มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต ได้รับ ดุษฎีบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2521

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เริ่มทำงาน โดยเป็น หัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และ อาจารย์ประจำ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ

จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2523 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัวหลายอย่าง ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ เช่น ค้าขายผ้าไหม ซื้อภาพยนตร์ฉาย กิจการโรงภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่กลับประสบความล้มเหลว เป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ระหว่างนั้นได้ลาออกจากราชการ

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยมักเป็นการนำภาพยนตร์ที่เคยได้รับความนิยมกลับมาสร้างใหม่ แต่ส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ เช่น ไทรโศก (2524 สร้างครั้งแรกโดย วิจิตร คุณาวุฒิ พ.ศ. 2510) รักครั้งแรก (2524 สร้างครั้งแรกโดย ล้อต๊อก พ.ศ. 2517) โนรี (2525 สร้างครั้งแรกโดย พันคำ พ.ศ. 2510) รจนายอดรัก (2526 สร้างครั้งแรกโดย ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง พ.ศ. 2515)[1]
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2526 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ก่อตั้ง และเป็น ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด (ชื่อเดิม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ (ICSI) ปัจจุบันได้เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มี นายบุญคลี ปลั่งศิริ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร) ดำเนินธุรกิจ ให้เช่าคอมพิวเตอร์แก่สำนักงานต่างๆ และได้ขยายกิจการไปสู่ การให้บริการ วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม และ โทรคมนาคม ครบวงจร นำไปสู่การชำระหนี้สินในช่วงแรกของการทำธุรกิจ และประสบผลสำเร็จทางธุรกิจในที่สุด

ในปี พ.ศ. 2537 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการ และ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้โอนหุ้นให้ คุณหญิงพจมาน นายพานทองแท้ นางสาวพิณทองทา นางสาวแพทองธาร และ คนรับใช้ คนสนิทถือแทน

จากนั้นไม่นาน ก็เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัย รัฐบาล นายชวน หลีกภัย และ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2538) ได้เข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าพรรคพลังธรรม ต่อจาก จำลอง ศรีเมือง และ ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในสมัย รัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในสมัย รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้ก่อตั้ง พรรคไทยรักไทย และ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรค จนในที่สุด ได้ขึ้นสู่ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ใน วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544.


เตรียมรับมือเกมส์โหด (ไทยรัฐ 27-5-52)





ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ในที่สุดมติของเครือข่ายม็อบพันธมิตรฯก็ใช้วิธีการยืนขึ้นโห่ร้องปรบมือแสดง ความเห็นด้วยในการตั้งพรรคการเมืองใหม่
อัพเกรดจากการเมืองนอกสภา เข้าสู่ห้องแอร์เวทีสภาฯ
และ ก็ทันทีทันควัน ในอารมณ์ของสังเวียนนักเลือกตั้งที่ไม่ได้มีเวทีไว้ให้ด่าคนอื่นฝ่ายเดียว โดยการชิงจังหวะของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมารับน้องก่อนใคร
ตั้งแง่ใส่พรรคของพันธมิตรฯอาจเป็นแค่สาขาของพรรคประชาธิปัตย์ แตะมือวางแผนฮั้วเลือกตั้ง
แต่ จับสัญญาณจากอาการนั่งไม่ติดของคนพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ผู้จัดการรัฐบาล นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ต้องแท็กทีมออกมาบอกปัด การตั้งพรรคของม็อบพันธมิตรฯ ไม่กระเทือนฐานคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
พร้อมๆกับคิว "ปล่อยโพล" ภายในของพรรค
อ้าง คะแนนนิยมของนายกฯอภิสิทธิ์และคนพรรคประชาธิปัตย์กำลังดีวันดีคืน ไม่เว้นแม้แต่ในภาคเหนือกับภาคอีสาน จุดบอดใหญ่ ก็คะแนนตีตื้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
วางโปรแกรม "อภิสิทธิ์" เดินสายทัวร์เก็บแต้ม ตีปี๊บ โหมโรงกันแบบปัจจุบันทันด่วน
นั่น ก็เพราะประชาธิปัตย์กับเครือข่ายม็อบพันธมิตรฯก็มาจากฐานเสียงเดียวกัน คะแนนทับซ้อนกันอยู่ในพื้นที่ปักษ์ใต้ เขตกรุงเทพฯรอบใน คนเชื้อสายจีนในตลาดตามหัวเมืองใหญ่ต่างจังหวัด
สินค้าบริษัทลูกแย่งส่วนตลาดกับยี่ห้อบริษัทแม่
ประชาธิปัตย์ต้องกั๊กแต้มทุกวิถีทางแน่
ใน ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯเอง แม้จะแสดงมติตั้งพรรคการเมืองเปลี่ยนเป้าหมายไปเล่นในระบบ แต่แกนนำบางคนก็ยังกั๊กวิถีการเมืองนอกสภาควบคู่กันไป
ฟ้องอาการไม่ชัวร์เหมือนกัน
นั่น ก็เพราะรู้กันอยู่แก่ใจ กระแสม็อบนอกสภาฯมันก็แค่ประเดี๋ยวประด๋าว จุดติดเร็ว ไฟมอดไว เทียบกับการเมืองในระบบที่นักเลือกตั้งอาชีพเล่นกันมานาน
มันคนละอารมณ์
ที่แน่ๆการเมืองนอกสภาอาจเป็นเวทีถนัดของม็อบพันธ-มิตรฯ แต่การเมืองตามระบบในเวทีสภาฯยังห่างชั้นจากยี่ห้อประชาธิปัตย์เยอะ

เตรียมตัวรับมือกับเกมโหดๆให้ดีก็แล้วกัน

เอา แค่เริ่มประเดิมไม่ทันไร ก็เจอเลยกับประเด็นการเป็นบุคคลล้มละลาย จะมีผลต่อการขึ้นแท่นรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำใหญ่ของม็อบพันธมิตรฯหรือไม่
เขี่ยแผลแงะสะเก็ด เตะตัดขากันในที
แต่ ที่ต้องอัปเปหิกันก่อนเลย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แกนนำม็อบพันธมิตรฯ ที่ฝากไว้ในโควตา ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ รวมไปถึงนายประพันธ์ คูณมี คนสนิทของ "บุรุษคาบไปป์" น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่กินโควตาที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ฯ
ในเมื่อแยกกิจการกันชัดเจนแล้ว ก็ยากจะนั่ง "หน้ามึน" ต่อไปโดยไม่เขิน
เอา เป็นว่า ทั้ง "เทพเทือก" และนายสาทิตย์ ต่างก็ออกมาพูดถึงสถานะของนายสมเกียรติ ในทำนองเปิดทางสะดวก หากจะลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปสังกัดพรรคพันธมิตรฯที่จะตั้งขึ้นใหม่
ไล่กันนิ่มๆในที
ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องมีภาระเพิ่มในการตั้งรับศึกด้านใหม่ เปิดเกมการต่อสู้อย่างเป็นทางการกับพรรคพันธมิตรฯ
พร้อมๆกับการตั้งรับศึกในพรรคร่วมรัฐบาลที่กำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม
กับ เกมวัดใจ ประลองกำลังภายในกับค่ายภูมิใจไทย ตามข่าว "ตั้งใจปล่อย" ออกจากทำเนียบรัฐบาล ทีมกุนซือนายกฯอภิสิทธิ์แนะให้ล้มโต๊ะโครงการปัญหา ทั้งรถเมล์เช่าเอ็นจีวี 4,000 คัน และโครงการประมูลระบายสินค้าเกษตรของกระทรวงพาณิชย์
ล่าสุดสั่งเบรก โครงการรถเมล์เช่าเอ็นจีวีที่กระทรวงคมนาคมจะดันเข้า ครม.ใหม่ พร้อมๆกับการที่ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกฯก็รวบอำนาจในการพิจารณาโครงการประมูลสินค้าเกษตรไปอยู่ในมือ
ลูบคม ท้าทายยี่ห้อ "เนวิน" หลายช็อตแล้ว.

"ทีมข่าวการเมือง" รายงาน

แดงนั้น....สำคัญนัก


กระแส "เสื้อสีแดง" ไม่ใช่เรื่องไร้สาระแล้วในวันนี้...........
แต่เป็นเครื่องชี้วัดถึงความต้องการของคนในบ้านในเมือง ว่า ลึกๆ แล้ว ณ ชั่วโมงนี้เขาต้องการอะไร และสิ่งที่เขาต้องการนั้นจะหาได้จากที่ไหน นี่เป็นอีกหนึ่งสาระ
ถามว่า เราจะอยู่นิ่งๆ ปล่อยให้วันเวลาผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลยได้ไหม คำตอบของแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ๆ คำตอบของคนที่มีใจสีแดง ทุกอะณูในสายเลือดและวิญญาณเป็นสีแดง เขาก็จะมีคำตอบว่า เขาอยู่นิ่งๆไม่ได้แล้ว อย่างมาก เขาก็จะกระโจนลงไปในสนาม เพื่อต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจัง ด้วยพละกำลัง ด้วยสมองก็แล้วแต่ คนที่เข้มข้นรองลงมา ก็อาจจะมีกิจกรรมอื่นๆ แตกต่างกันออกไป ซึ่งจุด มุ่งหมายสำคัญก็คือ พร้อมสนับสนุนสีแดงในทุกวิถีทาง เมื่อเวลาที่สำคัญมาถึง หรือบางคนไม่สามารถมาแสดงตนได้ ก็อาจมาในรูปแบบของการสนับสนุนด้านปัจจัย มากบ้าง น้อยบ้างตามอัตภาพของคนเหล่านั้น
ยังไม่เห็นคนเสื้อแดงอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย อย่างน้อยเขาก็จะเอ่ยทักทาย ถามไถ่ความเป็นอยู่ ความเคลื่อนไหว ของสังคม ของแวดวงที่เขายืนอยู่ ติดตามข่าวสารจากทุกแหล่งที่เขาเชื่อถือ
ขณะเดียวกันเขาก็จะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการพูดคุยกับคนที่เขาไม่รู้จักดีพอ ระดับการสนทนาของเขาจะลดเนื้อหาลง เขาจะเพิ่มความละเอียดอ่อนในการสนทนาเกี่ยวกับการเมืองวันนี้ เขาจะรู้จักแยกแยะความถูก ความผิด ความจริง ความเท็จได้ในระดับหนึ่ง นับว่าเป็นผลพลอยได้ที่ดีซึ่งติดตามมาจาก "การมีสี" โดยที่เราไม่รู้ตัว
แต่บางครั้ง บางคนก็อาจเสียเพื่อน เสียคนที่รักไปโดยปริยาย จากการที่ มีสี "ต่างกัน" หลายคน หยุดการคบหากับเพื่อนพ้อง เมื่อรู้ว่า สีของเขาต่างกัน ความสนิทสนมก็จะอ่อนดีกรีลงอย่างช่วยไม่ได้
เราไม่ได้พูดอย่างคนเข้าข้างตัวเอง แต่ในชีวิตที่นับว่ายาวนานพอสมควร (พอจำความได้ก็รู้ว่านายกรัฐมนตรีชื่อพจน์ สารสิน) ยังไม่เคยเห็นว่านายกรัฐมนตรีคนไหนจะสมบูรณ์แบบตามทฤษฏีสักคน แต่เราคงไม่ปฏิเสธว่า คนที่"ค่อนข้าง" สมบูรณ์แบบมากที่สุดเท่าที่เรารู้ เราเห็น คือ นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย พันตำรวจโท ด็อกเตอร์ทักษิณ ชินวัตร!