ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาระหนี้มากเกินไป ทำให้การฟื้นประเทศยากขึ้น


ภาระหนี้มากเกินไป ทำให้การฟื้นประเทศยากขึ้น

โดย สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของปี 2552 อยู่ที่ -7.1% เป็นอัตราหดตัวติดลบมาก ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ทำให้ประชาชนมีฐานะยากลำบาก ชักหน้าไม่ถึงหลัง นักธุรกิจสำคัญๆ หลายท่านได้กล่าวว่า รัฐบาลแก้ปัญหาผิดพลาดมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจตีลังกา ทั้งนี้ เนื่องมาจาก
1.รัฐบาลเน้นการกู้เงินจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ทั้งหมดประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่กลับมาใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เน้นการแจกเงิน ไม่ก่อให้เกิดการจ้างงาน ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ผล
2.รัฐบาลแอบเสนอค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เป็น พ.ร.ก. ไม่ผ่านกระบวนการกฎหมายงบประมาณ ทำให้เกิดการใช้เงินเกินตัว การกู้เงินในส่วนนี้ถึง 800,000 ล้านบาท จะก่อหนี้จำนวนมากในอนาคต จะทำให้ยอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มจาก 37% เมื่อต้นปี 2552 เป็น 60% ในปี 2555 จะทำให้ประเทศมี Credit Worthiness ลดลง ประเทศมีความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีฐานรายได้ต่ำเพียง 15% ของจีดีพี
3.รัฐบาลพยากรณ์ยอดหนี้ที่ 60% บนข้อสมมติฐานที่ว่าประเทศจะโตร้อยละ 5.5 และเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 หากเศรษฐกิจโลกฟื้นไม่ทัน และ จีดีพี โตเพียง 2-3% ยอดหนี้สาธารณะในปี 2555 จะเป็นที่ 65-70% สูงกว่าปี 2540 เสียอีก ประเทศจะตกอยู่ในความเสี่ยง ที่จะเป็นประเทศที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว คล้ายกับอเมริกาใต้
4.เมื่อจีดีพีโตไม่มาก รัฐบาลก็ยิ่งต้องกู้มาก มาใช้จ่ายอีก เป็นวัฏจักรแห่งความล้มเหลว
จึงขอให้รัฐบาลเปลี่ยนวิธีการจากการกู้เงินจำนวนมากๆ มาฟื้นเศรษฐกิจ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น เพื่อสร้างความเจริญเติบโต ได้ภาษีเพิ่มขึ้น
แล้วนำเงินภาษีที่ได้เพิ่มมาพัฒนาประเทศ จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่เสี่ยงล้มละลาย ซึ่งดีกว่าวิธีการกู้เงินมากๆ ของรัฐบาล
5.รัฐบาลต้องมีกรอบคิดและวิสัยทัศน์ในการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ การกู้เงินจำนวนมากๆ เพียงอย่างเดียว นอกจากจะไม่ฟื้นเศรษฐกิจแล้ว แต่จะสร้างความเสี่ยงการล้มละลายทางเศรษฐกิจด้วย
6.รัฐบาลขาดการดูแลการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการทำตลาดและด้านค่าเงินที่แข็งกว่าภูมิภาคมาก ทำให้การส่งออกทรุดตัวมากกว่าที่ควร จึงเป็นการซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจมากขึ้นอีก
7.รัฐบาลขาดการดูแลการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้สินเชื่อไม่ขยายตัว เป็นอุปสรรคอย่างมากในการฟื้นระบบเศรษฐกิจ
8.รัฐบาลขาดวิธีการหาเงินมาลงทุนในภาครัฐ โดยไม่ต้องกู้เงิน ทำให้การลงทุนในขนาดที่เพียงพอเพื่อฟื้นระบบเศรษฐกิจไม่สามารถทำได้
9.มาตรการงบกลางปีที่นำออกใช้ ไม่ได้เพิ่มการจ้างงาน แต่เป็นการแจกเงิน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ยังคงจะทำให้คนตกงานถึง 1.2 ล้านคน
10.รัฐบาลได้ตัดงบเอสเอ็มแอลไป 20,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณนี้ และในปีงบประมาณ 2553 ได้ลดงบเอสเอ็มแอลไปอีก 30,000 ล้านบาท และตัดงบประมาณ 30 บาทรักษาทุกโรคอีก 50,000 ล้านบาท รัฐบาลละเลยคนยากจน ไม่ดูแลคนยากคนจน
11.รัฐบาลขึ้นภาษีจำนวนมากในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดการลดการบริโภคในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงถึงความไม่เข้าใจในวิธีการฟื้นเศรษฐกิจ การนำเงินไปแจกให้บางกลุ่มในระบบเศรษฐกิจ แต่มีการขึ้นภาษีน้ำมันกับคนไทยทุกคนเพื่อชดเชยเงินเหล่านั้นในยามที่ประชาชนไม่มีงานทำ ขายของไม่ได้
เป็นการสร้างความไม่ยุติธรรม มีลักษณะ 2 มาตรฐาน ไม่เป็นธรรมสำหรับคนชนบท

กระแสทรรศน์ -มติชนออนไลน์

2 ความคิดเห็น:

  1. เห็นด้วยอย่างยิ่งการกู้เงินมาควรกู้มาสร้างงานมีการจ้างแรงงาน มีเงินหมุนเวียนในระบบ ถ้ากู้มาแจกมันเป็การตำน้ำพริกละลายแม่น้าไม่เกิดประโยชน์แก่ชาติและคนจน เพราะเงินที่แจกใช้วันเดียวก็หมด แต่เงินที่ได้จากการสร้างงานจะเป็นเงินที่มีเงินใช้ มีเงินในระบบ ประเทศชาติไม่ต้องล้มละลายในอนาคต
    เคยคุยกับคนรากหญ้าที่เขาทำกินในพื้นที่สปก.เขามีผลิตผลทางเกษตร(สวนยางพาราหลายสิบไร่ใกล้ให้ผลผลิต)แต่เขาไม่มีเงินซื้อปัจจัยในการผลิตเพื่อที่จะได้ผลผลิตเร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อนายยกทักษิณ ชินวัตร ออกพรบ เป็นทรัพย์สินเป็ทุน เขานำใบสปก.ไปกู้เงินมาทำการผลิตได้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนรากหญ้ากู้เงินในระบบได้ ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแพง มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้ามากขึ้นน่าจะนำมาดำเนินการต่อ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ

    ตอบลบ