ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฝนกั้นแม้วไม่อยู่ โผล่โฟนอิน ร้องเพลงกล่อมแดง


ฝนถล่มเวทีชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงสนามหลวง เวทีเกือบพัง "ทักษิณ" โผล่ 3 ทุ่มครึ่ง ชื่นชมชาวสกลนคร ต่อสู้จนชนะทั้งอำนาจรัฐ-เงิน อ้อนอยากกลับบ้าน ก่อนร้องเพลง" รางวัลแด่คนช่างฝน" ให้ผู้ชุมนุมฟัง...

ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (27 มิ.ย.) ว่า การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่บริเวณท้องสนามหลวง เริ่มตั้งแต่เวลา 16.30 น. และคึกคักมากยิ่งขึ้นจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่ทยอยเดินทางมาถึง โดยมีการอ่านแถลงการณ์บนเวทีปราศรัยเรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลประกาศยุบสภา ขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลเบื้องต้น ประมาณ 600 นาย กระจายกำลังดูแลอย่างเข้มงวด

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. กล่าวว่า จะไม่มีการเคลื่อนขบวนการชุมนุมไปปิดสถานที่แห่งใดในคืนนี้ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะโฟนอินมาที่เวทีปราศรัย ในเวลาประมาณ 20.30 น. โดย พ.ต.ท.ทักษิณ จะชี้แจงเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจและแก้ข้อกล่าวหาว่า อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวแผนตากสิน 2 รวมทั้งจะชุมนุมถึงเวลาประมาณ 06.00 น. วันพรุ่งนี้เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 19.45 น. การปราศรัยของกลุ่มเสื้อแดงได้ยุติลงประมาณ 10 นาทีเนื่องจากพายุฝนกระหน่ำมาอย่างหนักที่ท้องสนามหลวง ผู้ชุมนุมต้องช่วยประคับประคองนั่งร้านเวที ส่วนฉากหลังที่เป็นแผ่นพลาสติกได้ขาดลงมา เมื่อมีพายุฝน แต่ผู้ชุมนุมบริเวณหน้าเวทียังคงปักหลักกางร่มและนำเสื้อกันฝนมาสวมใส่ฟังการปราศรัย หลังจากฝนได้เริ่มซาแกนนำก็ขึ้นปราศรัยอีกครั้ง

ต่อมาเวลา 21.30 น. พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอินมาที่เวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง ว่า ฝนตกหนักพี่น้องยังไม่หนีกันเลย ถามว่าพี่น้องที่เคารพรักมีพี่น้องที่มาจากจ.สกลนครบ้างไหม ขอชื่นชมพี่น้องชาวสกลนครว่า ทั้งอำนาจรัฐ ทั้งเงินลงไปก็ไม่หวั่นไหวทำให้รู้สึกว่าประเทศไทยน่าอยู่ขึ้น เห็นความเป็นธรรมที่อยู่ในประเทศไทย พี่น้องเสื้อแดงทุกแห่งเข้มแข็งมากๆ ก่อนโฟนอินมามีพี่น้องชาวศรีสะเกษโทรมาบอกว่าเป็นห่วงจังเลยเงินลงมาใหญ่แล้ว แต่วันนี้พี่น้องอีสานไม่เหมือนเดิมแล้วใครที่บอกว่าคนอีสานซื้อได้ไม่มีอีก แล้วขอปรบมือให้พี่น้องชาวศรีสะเกษกับชาวสกลนครและทั่วประเทศและเสื้อแดง

"เราต่อสู้กันมายาวนานและถูกรังแกมานาน วันนี้ก็ได้เจอกันอีกได้เห็น หน้า 3 เกลอ แต่ที่แน่ๆคิดถึงพี่น้องเมื่อกี้นี้ก่อนจะโฟนอินได้พูดกับคนเมืองแพร่พร้อม จะสู้และไม่ยอมถอยจนกว่าจะได้กลับบ้านเมื่อคืนมีชาวเสื้อแดง 8 คนมากินข้าวที่บ้านผมบอกว่าอยู่กับเสื้อแดงมาทุกนัดเสียดายที่ไม่ได้มาคืนนี้เอาเสื้อแดงมาฝากและร้องเพลงให้ผมฟัง เขาบอกว่า "บนทางเดินที่มีขวากหนาม ถ้าเธอคร้ามถอยไปฉันคงเก้อ ฉันยังพร้อมช่วยเธอเสมอ เพียงตัวเธอไม่หนีไปเสียก่อน" พี่น้องยังต่อสู้กันอยู่อย่าทิ้งผมไว้คนเดียวผมอยากกลับบ้านแล้วนะอย่าทิ้ง ผมไว้คนเดียว" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ระหว่างที่พ.ต.ท.ทักษิณ โฟนอิน นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า เตรียมหารือร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงว่าจะยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อจะได้กลับบ้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จึงกล่าวขอบคุณ นายวีระ

ไทยรัฐออนไลน์

ขออภัย...อย่างแรง

ด้วยความรีบร้อน ในการตั้งหัวข้อโหวต จึงทำให้ผิดพลาด อย่างไม่น่าให้อภัย

"สมเด็จฮุนเซ็น" กลายเป็น "นายฮุนเซ็น" ไปเฉยเลย...

มิได้บังอาจ...แต่พลาดพลั้ง

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดฯ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ตากสิน 2


ห้าวมาก เดี๋ยวได้ยิงกันแน่ๆ

กับภาพข่าวทหารกัมพูชาเสริมกำลังประชิดชายแดนเขาพระวิหารพรึบพรับ ระดมอาวุธหนักครบเครื่องทั้งปืนใหญ่ รถถัง กองทหาร
พร้อมรบเต็มอัตราศึก
รับมุกกับอาการเฮี้ยวของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีเขมร ประกาศดังๆกับสำนักข่าวซินหัวของจีน ให้ได้ยินกันไปทั่วโลก บอกปัดจะไม่รับฟัง "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ตัวแทนของรัฐบาลไทย
ในทุกกรณี ถ้ามีการพูดเรื่องเขาพระวิหาร
สงครามยั่วประสาท ศึกนอกประเทศได้ลุ้นระทึกใจ
แต่ศึกภายในประเทศ ยังต้องลุ้นว่า "ของจริง" หรือ "ของปลอม" กับแผน "ตากสิน 2" ที่ถูกตีปี๊บออกมาในจังหวะดักคอการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 27 มิถุนายน
จ้องป่วนเมืองในระดับสูงสุด
ตั้งธงไล่ล่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ล็อกเป้าบุคคลสำคัญระดับองคมนตรี หัวขบวนกลุ่มอำมาตย์ นักวิชาการเครือข่ายม็อบพันธมิตรฯ
เร้าศึกเดิมพันเกมอำนาจประเทศไทย
แต่นาทีนี้ก็ยังเห็นมีแค่ "เทพเทือก" นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง กับลูกน้องสายตรงอย่าง "เดอะคึก" นายเทพไท เสนพงศ์ โทรโข่งประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ช่วยกันออกมาส่งมุกรับไม้
ยอมรับ เคยเห็นแผนลับผ่านตา
กับรายงานข่าวที่ไม่มีคนกล้าพูดยืนยันว่า พล.ต.ท.ธีระเดช รอดโพธิ์ทอง ผบช.ส.ได้เข้ารายงานกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เกี่ยวกับรายละเอียดของแผนตากสิน 2 ทุบหม้อข้าว-ตีเมืองจันท์ ของกลุ่ม นปช. ในวันที่ 27 มิถุนายน
เตรียมหน่วยจรยุทธ์ไล่ล่าบุคคลสำคัญที่เป็นปฏิปักษ์กับคนเสื้อแดง
แต่เมื่อหันไปที่หน่วยงานความมั่นคงที่รับผิดชอบโดยตรง บิ๊กตำรวจก็อึกๆอักๆ
โบ้ยหน่วยข่าวรายงานตรง "เทพเทือก"
ขณะที่ "บิ๊กป๊อก" พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ก็ไม่ได้ออกอาการตื่นเต้น แค่สั่งการกองทัพภาคที่ 1 เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ส่งกำลังพลสนธิกำลังตำรวจรับมือการชุมนุม
ประเมินสถานการณ์ไม่น่าเป็นห่วง
มองโลกแง่ดี มั่นใจกลุ่มเสื้อแดงเข้าใจวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่ก่อเหตุวุ่นวาย
ในอารมณ์ที่คนนอกอย่าง "บิ๊กจิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีต ผบ.ทบ.ในฐานะบรมครูด้านการข่าว ก็เตือนสติให้ฟังหูไว้หู
อย่าเพิ่งปักใจ "แผนตากสิน 2"
แต่ที่ร้อนรนกว่าใคร นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์ ทางไกลข้ามประเทศให้ช่วยเคลียร์ข่าว ขอความเป็นธรรม ปฏิเสธแผนป่วนเมือง
ด่ากลับแค่แผนกลบขี้ของรัฐบาล
กลบเกลื่อนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของตัวเอง
และดุเด็ดตามสไตล์ "ตุ๊ดตู่" นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช. บลัฟกลับแรงๆ "แม้แต่ควายยังไม่คิด"
สรุปเป็นเรื่องของคนที่คิดแบบควายๆ
แต่ไม่ชัวร์ว่า "ของจริง" หรือ "ของปลอม"
ตามเกม ณ นาทีนี้ก็เห็นแค่ยุทธศาสตร์ชิงกระแส รัฐบาลก็ได้ดักคอ นปช. แถมเบี่ยงประเด็นข่าว กลบเรื่องป่วนๆที่ถาโถมเข้าใส่
ในขณะคนเสื้อแดงเองก็จ้องดึงราคา แต่ยังไม่มีสัญญาณจะออกตัวแรงๆ
เบื้องต้นน่าจะหวังผลแค่กระตุ้นคิวเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดศรีสะเกษในวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน ลากยาวกระแส โหมแต้ม ให้คนของพรรคเพื่อไทยเข้าป้าย
เพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์สุดท้าย
ตีปี๊บรัวกลองโชว์พลังความขลังยี่ห้อ "ทักษิณ" คือเทวดาอีสาน.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน
ไทยรัฐ

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แดงตะวันออกที่พัทยา...




สายๆของวันที่ 23 มิย. รีบทำงานบ้านเสร็จ อ่านข่าวในเว็บต่างๆ แล้วก็มาจบที่เว็บประชาไท พอเห็นภาพแดงเตรียมงานชุมนุมที่พัทยาใต้ แยกเทพประสิทธิ์ ก็อดใจไม่อยู่
ออกไปเมื่อ 13.30 น. แวะซื้ออาหารหมา เทียนไหว้พระ ที่ตลาดโรงโป๊ะ เสร็จก็ตีตั๋วรวดไป พัทยา
ตอนนี้มีร้านรวงขายเสื้อผ้า อุปกรณ์สัญลักษณ์ของเสื้อแดง มาวางขายแล้ว แต่คนยังไม่มาก เอารถเข้าไปจอดข้างหลังเวที ดูลาดเลา ว่าเดินไกลใกล้แค่ไหน แล้วก็ขับรถออกมา ซูมถ่ายรูปอยู่อีกฝั่งถนน
โทรศัพท์หาลุงธรรม กำลังขับรถอยู่ ก็เลยคุยกับน้องนี ขวัญใจลุงธรรมแทน เสียดายลุงธรรมกับน้องนีมาไม่ได้ติดธุระที่ กทม.
แดงแจ๋ กลับมาบ้าน เตรียมทำกับข้าวเย็นรอลูก พอกลับมาก็ชวนกันมาพัทยาอีกรอบ หลังทานข้าวเย็น
เสียดายออกบ้านดึก ถึงลานเสื้อแดงก็สองทุ่มแล้ว วนหาที่จอดรถ 3 รอบไม่มี กะจะเอาไปจอดที่โลตัส แล้วนั่งมอไซค์ออกมา พอดี๊ พอดี เห็นที่ว่างในบริษัทหนึ่ง ขอ รปภ.เข้าไปจอด สำเร็จ ! เดินย้อนกลับมาอีกประมาณ 700 เมตร...
เข้าไปถึงในลาน ปรากฎว่าหน้าเวทีที่แอบจองไว้ในใจ เต็มหมดเลย เช่าเก้าอี้ สองตัว สองคนแม่ลูก ตัวละ 20 บาท ซื้อเสบียงและอุปกรณ์ ตีนตบ กับหัวใจตบ คนละอัน นั่งไกลเวทีเป็นร้อยเมตร แต่ก็พอซูมถ่ายภาพได้อยู่ แม้จะไม่ค่อยชัดเท่าไหร่
จุ๋มไพจิตร อักษรณรงค์ ร้องเพลง เพราะไม่มีตก เจ๊ดา ใจถึงของเราเสื้อแดง เพิ่งแปลงเพลงเสร็จ งานนี้เลยต้องเอาโฉนดขึ้นมากางร้อง แต่ก้ไม่น่าเกลียด ฮา..
คนมากพอสมควร ส่วนมากจะเข้ามาตอนดึกๆ หลังจากที่ทักษิณโฟนอินจบ คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ทะยอยกลับออกไป
เราสองแม่ลูกยังนั่งฟังอยู่จนกระทั่ง 5 ทุ่มเศษๆ ก็ชวนกันกลับ ตอนนั้นจตุพรกำลังพูดได้สัก 15 นาทีแล้ว
กลับมาถึงบ้านรีบเปิด เว็บ Newsky เพื่อดูถ่ายทอดต่อ
เป็นคิวของณัฐวุฒิกำลังพูด...พูดสนุกมาก ไม่เครียดเลย แถมได้หัวเราะ สมกับเป็น อดีต "นักโต้คารม" จริงๆ
นั่งฟังจนถึงเกือบตีหนึ่ง ง่วงมาก ก็จบเองเลย...เข้านอนตอน "อริสกี้" ร้องเพลงพอดี...

เผยรายชื่อ 48 ส.ว.ไม่เห็นด้วยกับ พรก.กู้ 4 แสนล้าน ...



ตั้งข้อสังเกตบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นภาษีน้ำมัน ส่วนใหญ่จะเป็นส.ว.สรรหา กลุ่ม 40 ส.ว. พร้อมเปิดเผยรายชื่อ 48 ส.ว.ไม่เห็นด้วยกับ พรก.กู้ 4 แสนล้าน ...

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ว่าจากกรณี วุฒิสภามีมติคว่ำพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ว่าด้วยการขึ้นภาษีน้ำมัน ด้วยคะนนเสียง 58 ต่อ 33 งดออกเสียง 10 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ถือเป็นกฎหมายสำคัญฉบับแรกที่วุฒิสภาแสดงเจตนารมณ์ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล อย่างชัดเจน โดยจากการตรวจสอบรายชื่อส.ว.ที่ลงมติคว่ำกฎหมายดังกล่าว 58 คน พบว่าประกอบด้วย 1.นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร 2.พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร ส.ว.สรรหา 3.นายจตุรงค์ ธีระกนก ส.ว.ร้อยเอ็ด 4.นายจรัล จึงยิ่งเรืองรุ่ง ส.ว.สระบุรี 5.นายจารึก อนุพงษ์ ส.ว.สรรหา 6.พล.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงษ์ ส.ว.มุกดาหาร 7.นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ส.ว.ชัยนาท 8.นายโชติรัส ชวนิชย์ ส.ว.สรรหา 9.นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ ส.ว.สรรหา 10.พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา 11.นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา 12.นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ ส.ว.ยะลา 13.นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบลราชธานี 14.นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา 15.นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์

16.นายธนู กุลชล ส.ว.สรรหา 17.นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต 18.นายธันว์ ออสุวรรณ ส.ว.ประจวบคีรีขันธ์ 19.นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ ส.ว.สรรหา 20.นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิษถ์ 21.นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน ส.ว.สรรหา 22.นายบุญส่ง โควาวิสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน 23.นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม 24.ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา 25.นายพิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา 26.นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง 27.นายไพโรจน์ ถัดทะพงษ์ ส.ว.สรรหา 28.นายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่ 29.นายมานพน้อย วานิช ส.ว.พังงา 30.นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหา 31น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. 32.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา 33.นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี 34.นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ ส.ว.ลพบุรี

35.นายวรวุฒิ โรจน ส.ว.สรรหา 36.นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม ส.ว.สรรหา 37.นายวิระ มาวิจักขณ์ ส.ว.สรรหา 38.นายแวดือราแม มะมิงจิ ส.ว.สรรหา 39.นายศุภวัฒน์ เทียนถาวร ส.ว.สิงห์บุรี 40.นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม 41.นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง 42.นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี 43.นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ 44.นายสุโข วุฑฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ 45.พล.ท.สุจินดา สุทธิพงศ์ ส.ว.สรรหา 46.นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ ส.ว.สรรหา 47.น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี 48.นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ส.ว.ชลบุรี 49.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา 50.นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล 51.นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร 52.นายอนันต์ วรธิติพงศ์ ส.ว.สรรหา 53.นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา 54.พล.อ.อ.อาคม กาญจนหิรัญ ส.ว.สรรหา 55.นายธวัชชัย บุญมา ส.ว.นครนายก 56. นางพรทิพย์ โล่วีระ จันทรรัตน์ปรีดา ส.ว.ชัยภูมิ 57.นางสมพร จูมั่น ส.ว.เพชรบูรณ์ 58.นางอรพินท์ มั่นศิลป์ ส.ว.นครสวรรค์

สำหรับ ผู้ที่งดออกเสียงจำนวน 10 คนประกอบด้วย 1.นายขวัญชัย พนมขวัญ ส.ว.แพร่ 2.นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง 3.น.ส.ทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา 4.นายประสพสุข บุญเดช ส.ว.สรรหา 5.นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา 6.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.สรรหา 7.นายสงคราม ชื่นภิบาล ส.ว.สรรหา 8.พ.ต.อ.สนธยา แสงภา ส.ว.สรรหา 9.นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช 10.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา และไม่ลงคะแนนเสียง 1 คนคือ นางสุกัญญา สุดบรรทัด ส.ว.สรรหา เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่จะเป็นส.ว.สรรหาและ อยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว.ด้วย

นอกจากนี้สำหรับพ.ร.ก.ให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านความเห็นชอบของสมาชิกวุฒิสภาอย่างฉิวเฉียดด้วยมติ 69 ต่อ48 งดออกเสียง 11 จากการตรวจสอบพบว่าผู้ที่ลงมติไม่เห็นด้วย 48 คนประกอบด้วย 1.กฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร 2.นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี 3.น.ส.เกศสิณี แขวัฒนะ ส.ว.พระนครศรีอยุธยา 4.พล.ต.ต.ขจร สัยวัตร์ ส.ว.หนองคาย 5.นายคำณูญ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา 6.นายจำนงค์ สวมประคำ ส.ว.สรรหา 7.นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา ส.ว.ศรีสะเกษ 8.นายชูชัย เลิศพงศ์อดิศร ส.ว. เชียงใหม่ 9.นายโชติรัส ชวนิชย์ ส.ว.สรรหาร 10.นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ ส.ว.สรรหา 11.พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา 12.นายถนอม ส่งเสริม ส.ว.อุบราชธานี 13.นายธวัช บวรวนิชยกูร ส.ว.สรรหา 14.นางธันยรัศม์ อัจฉริยะฉาย ส.ว.ภูเก็ต 15.นายบุญส่ง โควาวิสารัช ส.ว.แม่ฮ่องสอน 16.ประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี 17.พล.ท.พงษ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา

18.นายพรชัย สุนทรพันธุ์ ส.ว.สรรหา 19.นายพีระ มานะทัศน์ ส.ว.ลำปาง 20.นายมงคล ศรีคำแหง ส.ว.จันทบุรี 21.พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ส.ว.สรรหา 22.นางยุวดี นิ่มสมบุญ ส.ว.สรรหา 23.นางรสสุคนธ์ ภูริเดช ส.ว.สรรหา 24.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา 25.นายวรวิทย์ วงษ์สุวรรณ ส.ว.ลพบุรี 26.นายวรวุฒิ โรจนพานิช ส.ว.สรรหา 27.นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา 28.นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา 29.นายศุภวัฒน์ เทียรถาวร ส.ว.สิงห์บุรี 30.นายสมชาติ พรรณพัฒน์ ส.ว.นครปฐม 31.นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว.อุทัยธานี 32.นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธุ์ 33.นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช 34.นางสุกัญญา สุดบรรทัด ส.ว.สรรหา 35.นายสุโข วุฑฒิโชติ ส.ว.สมุทรปราการ 36.พล.ท.สุจินดา สุทธิพงศ์ ส.ว.สรรหา 37.นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ ส.ว.สรรหา 38.น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี 39.นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี 40.สุรพงษ์ ตันธนศรีกุล ส.ว.กาญจนบุรี 41.นายสุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล 42.นายสุวิศว์ เมฆเสรีกุล ส.ว.สมุทรสาคร 43.นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน 44.นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา 45.นายอนันต์ วรธิติพงศ์ ส.ว.สรรหา 46.นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา 47.นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ขอนแก่น 48.พ.ต.อ.พายัพ ทองชื่น ส.ว.สรรหา

ส่วนผู้ที่งดออกเสียง จำนวน 11 คนประกอบด้วย 1.พล.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงษ์ ส.ว.มุกดาหาร 2. น.ส.ทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา 3.นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิษถ์ 4.นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว.สรรหา 5.นายประสพสุข บุญเดช ส.ว.สรรหา 6.พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี 7.นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร 8.น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. 9.นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.สรรหา 10พล.ต.อ.สนธยา แสงเภา ส.ว.สรรหา 11.นายสุเมธ ศรีพงษ์ ส.ว.นครราชสีมา เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่ม 40 ส.ว.งดออกเสียง ขณะที่ส.ว.เลือกตั้งไม่เห็นด้วยจำนวนมาก

ไทยรัฐออนไลน์โดย ไทยรัฐออนไลน์
24 มิถุนายน 2552, 05:00 น.
tags:
รายชื่อ,ส.ว.,ไม่เห็นด้วย,พ.ร.ก.

ไทยรัฐ

77 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง


ที่บริเวณหมุดคณะราษฏร ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อจัดกิจกรรมรำลึกการครบรอบ 77 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 กล่าวสดุดีคณะราษฎร..
เมื่อเวลา 06.05 น. วันนี้ (24 มิ.ย.) สมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ภาคประชาชน ประมาณ 100 คน นำโดยนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข พร้อมด้วยนายจรัล ดิษฐาอภิชัย นายสรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน พร้อมด้วยนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย และนายวัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ได้มารวมตัวที่บริเวณหมุดคณะราษฏร ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อจัดกิจกรรมรำลึกการครบรอบ 77 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475
นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวสดุดีวีรชนคนในคณะราษฎร เช่น นายปรีดี พนมยงค์ พล.อ.พระยาพหลพยุหเสนา นายเตียง ศิริขันธ์ เพื่อปลุกจิตสำนึกรักชาติรักประชาธิปไตยให้เกิดขวัญกำลังใจในการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยแก่ประชาชน กลุ่มผู้ร่วมชุมนุมยังได้ร่วมจุดเทียนสีแดง วางดอกกุหลาบประดับที่หมุด และยืนไว้อาลัยให้กับวีรชนคณะราษฎร ก่อนจะสลายตัวอย่างสงบ ในเวลา 07.00น .ก่อนจะกลับมารวมตัวชุมนุมจัดกิจกรรมปราศรัยอีกครั้งที่ท้องสนามหลวงในช่วงเย็น

ไทยรัฐ

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ชวรัตน์ยกธง....เพื่อไทย แรง !!!


"ชวรัตน์" แถลงยอมรับความพ่ายแพ้เลือกตั้งซ่อม สกลนคร
ชี้ กระแส "ทักษิณ" ยังแรงเนื่องจากมีการโฟนอิน ด้าน "เฉลิม"ลั่นเอาชนะได้แน่ ทุกอำเภอ เพื่อไทยคะแนนนำ ...
ช่วงเย็นวันนี้ (21 มิ.ย.) นายชวรัตน์​ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อม เขต 3 จ.สกลนคร โดยให้เหตุผลที่สู้พรรคเพื่อไทยไม่ได้เพราะเกี่ยวข้องกับกระแสของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีการโฟนอิน และ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คะแนนของพรรคเพื่อไทยเป็นต่อพรรคภูมิใจไทย รวมถึงมีใบปลิวโจมตีที่ยังไม่ทราบว่าเป็นฝีมือของใคร ทำให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจผิด
ด้านนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่อาจชี้ขาดถึงอนาคตได้ โดยพรรคพอใจคะแนนเสียงครั้งนี้ และขอบคุณทุกคะแนนเสียง ของประชาชน ใน จ.สกลนคร หลังจากนี้จะตั้งใจทำงาน เพื่อให้ประชาชนเห็นผลงานของพรรคภูมิใจไทย
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส. พรรคเพื่อไทย แถลงว่า จะสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ หลังผลการนับคะแนนไปแล้วกว่า 50% ในพื้นที่ อ.คำตากล้า อ.ส่องดาว และ อ.เจริญศิลป์ มีคะแนนทิ้งห่างผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทยมากกว่า ร้อยละ 80 ขณะพื้นที่ อ.บ้านม่วง และ อ.สว่างแดนดิน คะแนนยังสูสีห่างกันไม่มาก มั่นใจว่าอาจจะรู้ผลการนับคะแนนไม่น่าจะเกินเวลา 18.30 น. ยอมรับว่าหนักใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจาก ต่อสู้เหน็ดเหนื่อยมากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
ด้าน นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้ร่วมสังเกตการณ์หลังปิดหีบเลือกตั้ง และการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งที่ 14 15 และ 16 บริเวณโรงเรียนอนุบาลสว่างแดนดิน พร้อมกล่าวแสดงความพอใจการจัดการเลือกตั้ง หลังตระเวนสังเกตการณ์หน่วยเลือกตั้ง พบว่าไม่มีเหตุรุนแรง โดยจะนำข้อขัดข้อง และปัญหาการเลือกตั้งที่ จ.สกลนครไปเป็นบทเรียน ในการเลือกตั้งที่ จ.ศรีสะเกษ ส่วนการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง พรรคการเมือง สามารถทำได้ และ กกต.พร้อมประกาศรับรองผล ภายใน 30 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผลการนับคะแนนใน 5 อำเภอของเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสกลนคร ผู้สมัครหมายเลข 2 นายอนุรักษ์ บุญศล จากพรรคเพื่อไทย ยังคงมีคะแนนที่ทิ้งห่างผู้สมัครหมายเลข 1 จากพรรคภูมิใจไทยอยู่ในทุกอำเภอ จากนั้น จะต้องรอลุ้นข้อร้องเรียนของพรรคภูมิใจไทย ยื่นเรื่องให้ กกต. ร้องพรรคเพื่อไทย กรณีมีการปราศรัยระบุว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ​เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และเรื่องใบปลิวโจมตี ซึ่งตำรวจอยู่ระหว่างการตรวจสอบ

ไทยรัฐ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลุงธรรม...คนเสื้อแดงหัวใจประชาธิปไตย


ลุงธรรม
icon ID # 810231 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-19 15:13:26 _ ปิดข้อความ ex-link
เรียนคนเสื้อแดงหัวใจประชาธิปไตยทุกท่าน.....โปรดฟังลุงนิด
เวลาลุงเดินทางไปแจกยาหยอดตาในที่ต่าง ๆ
แจก ซีดี แจกเอกสาร นั่งอธิบายให้เขาฟัง..
ลุงได้สัจธรรมหลายอย่าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- ใครที่คิดเหมือนเรา อย่าไปทึกทักหรือด่วนสรุปว่าเขาเป็นพวกเรา
หรือเขาเป็นคนเสื้อแดง เขาอาจเกลียดรัฐบาลเหมือนเรา
แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เกลียดสีเสื้อต่าง ๆ เหมือนกัน
บางคนเกลียดทั้งเหลืองแดง บางคนเกลียดสีเดียว บางคน เกลียดสีหนึ่ง
เฉย ๆ กับอีกสีหนึ่ง บางคนชอบเจ้าและชอบทักษิณ บางคนไม่ชอบทั้ง
2 อย่าง สรุป เจอแต่ร้อยพ่อพันแม่ นี่คือความหลากหลายทางชีวภาพ
ของมวลมนุษย์
อย่าไปเข้าใจว่าทุกคนเข้าใจภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดงว่าเป็นพระเอก
ผู้รักษาประชาธิปไตย ทำเพื่อคนส่วนรวม ภาพจากสื่อต่าง ๆ ที่ออกไป
สมัยสงกรานต์เลือด การปิดถนน ปิดอนุสาวรีย์ การบุกพัทยายุติการประชุม
ระดับชาติ การทุบรถนายก รถนิพนธ์ พร้อมพันธ์ การยึดรถแก็ส ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้ ชาวบ้านยังไม่เข้าใจ จริงอยู่การยึดสนามบิน การยึดทำเนียบ
เขารู้แล้วว่าเสื้อหลืองทำ เขารู้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง แต่ก็ไม่ได้หมายความ
ว่าเขาเกลียดทางโน้นแล้วจะต้องหันมาเชียร์คนเสื้อแดง
- การคงอัตลักษณ์ด้วยการใส่เสื้อแดงทำได้ในบางครั้ง
แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์
การรบเพื่อชัยชนะ จะไม่มีรูปแบบ เพราะถ้ามีรูปแบบ เขาจับได้
แก้ทางถูก ต้อง ลับ ลวง พราง เอาศัตรูของศัตรูเป็นมิตร
แกล้งกล่าวหามิตรเป็นศัตรู เหมือนการเล่นฟุตบอลแต่ละนัด
เจอแต่ละทีมไม่เหมือนกัน ต้องปรับแท็คติคตลอดทุกนัด ตลอดเวลา
คู้ต่อสู้เอากองหน้าร่างโย่งลงเพื่อใช้ลูกฆม่งในการทำประตู
เราก็ต้องเอาแบ็คร่างโย่งลงประกบ เขาเอาไอ้โย่งออก เอากองหน้าตัวเล็ก
ว่องไวเลื้อยเก่งลงเล่นแทน เราก็ต้องเปลี่ยนตาม ดังนั้นกลยุทธของคน
เสื้อแดงในแต่ละเหตุการณ์ควรปรับเปลี่ยนไปด้วย
ตัวอย่าง สมัยก่อนเขาใช้ทหาร เดี๋ยวนี้เขาใช้ศาล
เขาเอาศัตรูคือเนวินมาเป็นมิตร เขาใส่เสื้อแดงทำลายคนเสื้อแดง
ฯลฯ แล้วจะตามมาเรื่อย ๆ ล่าสุดอาจจะจัดเวทีคนเสื้อแดง
พูดหมิ่นแล้วออกข่าวไปทั่ว วิชามารแบบนี้เขาทำมานานเป็น 10
ปีแล้ว ดังนั้นเราต้องปรับกลยุทธของเราบ้าง
เวลาลงภาคสนาม เราจะไม่ไปบอก แต่จะปล่อยให้เขาคุย ให้เขาระบาย
ให้เขาออกความเห็น ถามเขาไปเรื่อย ๆ คิดยังไง ทำไมถึงคิด ถามไป
เรื่อย ๆ เดี๋ยวเขาก็จะเกิดสติปัญญาเอง เราเป็นเพียงคนชี้แนะ เป็นสหาย
ไม่ใช่เป็นอาจารย์ ไม่มีใครชอบให้ใครไปสอนใคร ถ้าทำให้เขาตาสว่าง
และคิดเองได้ ด้วยหลักการและเหตุผล เขาจะภูมิใจ และจดจำแม่น
และจะเป็นแนวร่วมที่ดี
สรุป ลุงอยากให้มีการ Brainstorm ระหว่างพวกเราเพื่อ
หาแนวทางรบและรุกไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับชัยชนะ
แต่ขอเป็น Positive และ Creative Idea
ไม่ใช่ Negative หรือ Passive หรือ Destructive
(ความคิดเชิงบวก สร้างสรรค์ ไม่ทำลายล้างซึ่งกันและกัน)

ใช้เหตุผล อย่าใช้อารมณ์ เอาอัตตา ความอิจฉา
ความชอบ ความไม่ชอบ ความยึดมั่นถือมั่น
ในความเห็นของตนเป็นใหญ่
(เอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ออกจากปัญหา ออกจากข้อถกเถียง)
อย่ายึดมั่นในตัวบุคคล ขอให้ยึดหลักการความเป็นสากล
ในการแก้ปัญหา
ทำจิตว่างฟังความคิดเห็นของซึ่งกันและกัน
หาข้อดี ข้อเสีย มาถกกัน ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีไปหมด
หรือเสียไปหมด ระบบประชาธิปไตยคือระบบที่เลวน้อยที่สุด
มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย
อย่าต่อว่ากันว่าเป็นแดงเทียม แดงเนียน เหลืองซ่อนรูป
สุดท้าย อยากให้ทดลองคิดกรอบดูบ้าง

เหมือนสมัยโบราณที่ปีธากอรัสที่คิดนอกกรอบว่าโลกเราน่าจะกลม
ไม่ใช่แบน เหมือนพระุพุทธองค์ที่ค้นพบหลักธรรมชาติของมนุษย์
ทั้งโลก ว่าทุกอย่างที่เป็นผลเกิดจากมาความคิดและการกระทำของ
เราทั้งสิ้นไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาทำหรือมากำหนดให้เราเป็นเช่นนั้น
เช่นนี้ การอยู่บนโลกอย่างมีความสุขร่วมกัน เพียงแค่ คิดดี ทำดี พูดดี
ต่อกัน อีกนัยหนึ่งละชั่วหรือละในการสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นและ
ตนเอง (อบายมุข กิ๊ก ฯลฯ) ทำดีกับเพื่อนมนุษย์ และทำใจให้สงบเพื่อ
ต่อสู้กับกิเลสในใจ (ทุกข์เพราะอยาก ทุกข์เพราะยึด ทุกข์เพราะคิด)
ที่สอนกันในเรื่องสววรค์ นรก นอกโลก เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ก็คือกุศโลบายในการสอนบัวใต้น้ำ หรือสอนคนสมัย2500 ปีมาแล้ว
ที่ยังไม่มีปัญญาพอที่จะดับทุกข์ด้วยตนเอง เลยถูกเจ้าลัทธิหลอกลวง
ให้นับถือ ศิวะ นารายณ์ คนครึ่งสัตวพิฆเนศ ฯลฯ
เช่นการสอนที่บอกว่า พระพุทธองค์ เกิดแล้วเดินได้เลย 7 ก้าว
คือการแก้ลำ เอาคนธรรมดาถึงแม้ว่าจะเป้นราชาก็ตาม
ไปหักล้างกับพวกเทพ ก้ต้องเอาคนธรรมดามาสมมติเป็นเทพ
เพื่อสู้กับเทพ เหมือนสมัยนี้เด๊ะ คนไทยหลายสิบล้านคน
กัยังคงติดฝิ่นงมงายกับเทวดาจำแลงอยู่
สมัยโบราณ มีเรื่องสำคัญที่สุด 2 ประการ คือการหาเลี้ยงปากท้องด้วยการกสิกรรม ต้องพึ่งธรรมชาติ และการป่วยไข้ ที่คนจะไม่รู้สาเหตุ ดังนั้น พ่อมดหมอผีเจ้าลัทธิจึงเข้ามีบทบาทกลายเป็นที่พึ่งทางใจทางจิต ทางพิธีกรรม บวงสรวง ขอฟ้าขอฝน ขอสิ่งศักดิ์
สิทธิ์ หลอกปรุงยาหม้อให้คนป่วยกิน คนป่วยไม่หาย กลัวเสียชื่อ บอกว่าผีสิงเอาคนป่วยไปฆ่า แต่ปัจจุบัน ระบบชลประทานดี การแพทย์ก้าวหน้า เรื่องพวกนี้ก็ซาไป
แต่เจ้าลัทธิบางคนเพาะเชื้อชั่วไว้หลอกแดกแบ่งแยกศาสนาพุทธออกเป็นนิกายต่าง ๆ แล้วแปลงตนเป็นอวตารแอบอ้างบ้า ๆ บอ ๆ
รอองค์ใหม่มาเกิด ไร้สาระ ทำมาหากินกับคนด้วยการ
สร้างความหวัง ขายบุญ ขายวีซ่าไปสวรรค์ ทุกวันนี้
ถ้าเราลด ละ เลิกกิเลสได้ เราก็คือปัจเจกพระพุทธเจ้า
ไม่ต้องรอใครมาอวตารหรอก

ขอบคุณลุงธรรม และเว็บบอร์ดประชาไท

"ทักษิณ" เปิดพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มใหม่


"ทักษิณ" เปิดพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มใหม่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายของทักษิณ ในการแก้ปัญหาความยากจนในเมืองไทยวางขายทั่วอาหรับ-เอเชีย เตรียมวางขายในไทยเร็ว ๆ นี้...

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.) ร้านหนังสือต่าง ๆ ในหลายเมืองของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้วางจำหน่าย พ็อคเก็ตบุ๊คเล่มใหม่ ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อหนังสือว่า “ทักษิณ ชินวัตร Tackling Poverty: The Policy That Change Thailand, And How They Can Change The World ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายของทักษิณ ในการแก้ปัญหาความยากจนในเมืองไทย และการนำไปใช้เพื่อพลิกโฉมโลก

ทั้งนี้ ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการข่าวชื่อดังชาวอินเดีย ซึ่งทำงานให้กับนิตยสาร CEO สื่อยักษ์ใหญ่ด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

สำหรับ หน้าปกหนังสือ มีข้อความว่า “ขออุทิศความดีของหนังสือนี้ให้แก่พี่น้องชาวไทยทุกคน” มีความหนาจำนวน 202 หน้า เขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มโดยมีเนื้อหา 14 บท เช่น การก่อตัวของทักษิโณมิค การปฏิรูประบบสาธารณสุข การปฏิรูปศึกษา การปฏิรูปที่ดิน กองทุนหมู่บ้าน การสร้างอนาคตที่ดีกว่า และการวิเคราะห์วิสัยทัศน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ จากการแสดงปาฐกถาด้านเศรษฐกิจในเวทีระดับโลก

นอกจากนี้ เนื้อหาช่วงหนึ่งของหนังสือ ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งผู้เขียนเดินทางเข้ามาเก็บข้อมูลด้วยตนเองที่เมืองไทย เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2552 ขณะที่เกิดเหตุการณ์เมษาเลือดอีกด้วย ทั้งนี้ พ็อคเก็ตบุ๊คเล่มดังกล่าว มียอดพิมพ์ครั้งแรก 10,000 เล่ม และวางจำหน่ายทั้งในกลุ่มประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งบางประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ได้เตรียมที่จะแปลพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มดังกล่าว เป็นภาษาไทย เพื่อวางจำหน่ายในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้

ขอบคุณ คุณตะวันแดง/ประชาไท

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สุภาษิต คองโก...

โพสต์โดย : เซ็งซะจนม่อง
icon ID # 810140 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-19 07:29:56 _


"ถ้าไม่กล้าคัดค้านกับความชั่วที่เห็นอยู่ในสังคม

ในที่สุดตัวท่านเองนั่นแหละจะเป็นเหยื่อ.."

กวีคองโก...ยุคผู้นำกินตับ(กินจริงๆ)


ขอบคุณ คุณ "เซ็งซะจนม่อง" จากเว็บบอร์ดประชาไทยค่ะ

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา เวบเสธ.แดง
17 มิถุนายน 2552
*ข่าวเกี่ยวเนื่อง:อนาถ!สื่อไทยมั่วตั้งแต่ต้นจนจบ ฮือต้านตัดสินรางวัลสุดนิ่มจิกหัวเสื้อแดงคว้าภาพยอดเยี่ยม


หนังสือ พิมพ์บ้านเมืองรายงานว่า สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จะจัดงานแจกรางวัลข่าวภาพยอดเยี่ยม โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการแจกรางวัล ในวันที่ 18 มิถุนายน 2552 เวลา 16.30–18.30 น. ที่ห้องวิภาวดีบอลรูม

นอกจากรางวัลภาพข่าวยอด เยี่ยมแล้ว ยังมีการคัดเลือกบุคคลดีเด่นในสายตาของช่างภาพสื่อมวลชน โดยเน้นถึงผลงานการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ซึ่งได้แก่ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสมาคมลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายวิชัย รักศรีอักษร แห่งบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.

ทาง ด้านกลุ่มเสื้อแดงได้กล่าววิจารณ์ว่าสื่อมวลชนไทยได้ฮั้วกับนักการเมืองฝ่าย รัฐบาลแบบต่างตอบแทนกันคือแต่ละฝ่ายก็แจกโล่ให้กันโดยที่บิดเบือนทำลาย ประชาธิปไตย จึงขอเชิญชวนพี่น้องเสื้อแดง ไปประท้วง สมาคมผู้สื่อข่าว วันที่18 ที่เซ็นทรัลโซฟิเทล

ผู้ใช้ชื่อว่า"ผู้หญิงเสื้อแดง"แจ้ง ข่าวทางเวบบอร์ดเสธ.แดงว่า ขอเรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ผู้สื่อข่าวทำร้ายเธอด้วยวิธีการ โป้ปด มดเท็จ

ร่วมด้วยช่วยกันนะคะ วันที่ 18 มิถุนายน เวลาบ่ายโมง พบกันที่ข้างโรงเรียนหอวัง ฝั่งโรงแรมเซ็นทรัลโซฟิเทล

สมคิด บาลไธสง


"เก็บตกมาจากรัฐสภา- จาก นสพ.ไทยรัฐ"

สมคิด บาลไธสง

* เพศ ชาย
* เกิด 8 กันยายน 2495
* อายุ 57

ล่า สุดการอภิปรายร่างพ.ร.บ.เงินกู้ช่วงดึกคืนวันที่ 16 มิ.ย.ส.ส.หนองคาย ได้ลุกขึ้นอภิปรายสับแหลกนโยบายรัฐบาล พร้อมสาปส่งพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจไทย ทำนองให้ไปลงนรก เดือดร้อนถึงส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ลุกขึ้นประท้วงให้ถอนคำว่า "ไปลงนรก"แต่นายสมคิด บาลไธสง ยืนยันไม่ถอน สุดท้ายก็ต้องหอบแฟ้มเอกสารเดินออกจากห้องประชุมเป็นคำรบสอง

การศึกษา : พม. กรมการฝึกหัดครู/ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา วิทยาลัยครูอุดรธานี , MINI MBA สาขาการบริหารการสหกรณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 20 หมู่บ้าน หนองปลาไหล ซอย เทพวังทอง ถนน โพนพิสัย-โซ่พิสัย ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัด หนองคาย

อาชีพก่อนได้รับเลือกตั้งครั้งนี้ ศึกษานิเทศน์ ประสบการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ เคย เป็นสมาชิกพรรคการเมือง 1.พรรคพลังธรรม 2.พรรคไทยรักไทย 3.พรรคชาติไทย 4.พรรคพลังประชาชน, เคยได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนอยู่ใน กปจ. 2 สมัย, คุรุสภาจังหวัด 2 สมัย, อก.ศส.1 สมัย ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

พลังสีแดง...



ภาพการชุมนุม "เสื้อแดงอุดรธานี"

ขอบคุณภาพจากประชาไท และขอบคุณข้อความโดนใจที่โพสต์ไว้ในประชาไท....โดยคุณ T.xox

โพสต์โดย : T.xox

ID # 1826697 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-15 16:52:21
ยิ่งปิดกั้น

คนเสื้อแดง ยิ่งแผ่ขยายตัวมากขึ้น

ยิ่งกดดัน

คนเสื้อแดง ยิ่งมั่นคง ยิ่งเหนียวแน่น

เงินกู้ 8 แสนล้าน


เงินกู้ 8 แสนล้าน

คอลัมน์ บทบรรณาธิการ


รัฐบาลเตรียมนำพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติกู้เงิน ที่มีวงเงินรวมกัน 800,000 ล้านบาทเข้าสู่การพิจารณาของสภาในสัปดาห์นี้
ประเด็นว่าจะมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ให้ประชาชนได้รับชมหรือไม่ก็เป็นเรื่องหนึ่ง
หากรัฐบาลมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจ และเชื่อว่าแผนงานและโครงการที่จะใช้เงินกู้จำนวนมหาศาลดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างจริง ก็ไม่น่าจะมีข้อขัดข้องในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
เพราะในยามที่มีสถานะเป็นฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยเรียกร้องหา"ความโปร่งใส"ในการดำเนินการโครงการต่างๆ จากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา
ฉะนั้น การแสดงความโปร่งใสควรจะเป็นความสมัครใจของรัฐบาลด้วยซ้ำไป
เพราะมีทั้งนักการเมืองด้วยกัน และนักวิชาการจำนวนไม่น้อยแสดงความเห็นเอาไว้ก่อนหน้านี้ว่า ประเด็นของเงินกู้ดังกล่าวมิได้ขึ้นอยู่กับวงเงินของการกู้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น
ที่สำคัญกว่าก็คือ ทิศทางการใช้เงินเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีการกำกับควบคุมให้การปฏิบัติจริงมีประสิทธิภาพ มีความสุจริต และมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้หรือไม่
เนื่องจากที่ผ่านมา การใช้จ่าย"อย่างรวดเร็ว"ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลไหน หากมิใช่เป็นไปอย่างเบี้ยหัวแหลกหัวแตกไร้ทิศทาง ไร้ประสิทธิผล
ก็จะมากไปด้วยข้อครหาเรื่องการทุจริต การชักเปอร์เซ็นต์จากโครงการต่างๆ
และแม้ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องทุ่มเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือประคองกำลังซื้อของประชาชนในระยะสั้น
แต่ขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ลืมว่า การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจได้จริงนั้น ลำพังเงินงบประมาณของรัฐไม่สามารถลากจูงให้เศรษฐกิจทั้งระบบฟื้นตัวได้
จะต้องอาศัยมาตรการต่างๆ อีกหลายส่วนประกอบกัน เพื่อผลักดันให้กลไกเศรษฐกิจกลับมาทำงานให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับยามปกติให้มากที่สุด โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
ถ้ากลไกการเงินที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของระบบเศรษฐกิจยังสูบฉีดไม่เต็มที่
เงินกู้มากกว่านี้ก็เหนี่ยวรั้งไม่ได้

จาก...ข่าวสด

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาระหนี้มากเกินไป ทำให้การฟื้นประเทศยากขึ้น


ภาระหนี้มากเกินไป ทำให้การฟื้นประเทศยากขึ้น

โดย สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของปี 2552 อยู่ที่ -7.1% เป็นอัตราหดตัวติดลบมาก ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ทำให้ประชาชนมีฐานะยากลำบาก ชักหน้าไม่ถึงหลัง นักธุรกิจสำคัญๆ หลายท่านได้กล่าวว่า รัฐบาลแก้ปัญหาผิดพลาดมาก ทำให้ระบบเศรษฐกิจตีลังกา ทั้งนี้ เนื่องมาจาก
1.รัฐบาลเน้นการกู้เงินจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ทั้งหมดประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่กลับมาใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เน้นการแจกเงิน ไม่ก่อให้เกิดการจ้างงาน ทำให้การกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้ผล
2.รัฐบาลแอบเสนอค่าใช้จ่ายจำนวนมาก เป็น พ.ร.ก. ไม่ผ่านกระบวนการกฎหมายงบประมาณ ทำให้เกิดการใช้เงินเกินตัว การกู้เงินในส่วนนี้ถึง 800,000 ล้านบาท จะก่อหนี้จำนวนมากในอนาคต จะทำให้ยอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มจาก 37% เมื่อต้นปี 2552 เป็น 60% ในปี 2555 จะทำให้ประเทศมี Credit Worthiness ลดลง ประเทศมีความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีฐานรายได้ต่ำเพียง 15% ของจีดีพี
3.รัฐบาลพยากรณ์ยอดหนี้ที่ 60% บนข้อสมมติฐานที่ว่าประเทศจะโตร้อยละ 5.5 และเงินเฟ้อร้อยละ 3.5 หากเศรษฐกิจโลกฟื้นไม่ทัน และ จีดีพี โตเพียง 2-3% ยอดหนี้สาธารณะในปี 2555 จะเป็นที่ 65-70% สูงกว่าปี 2540 เสียอีก ประเทศจะตกอยู่ในความเสี่ยง ที่จะเป็นประเทศที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว คล้ายกับอเมริกาใต้
4.เมื่อจีดีพีโตไม่มาก รัฐบาลก็ยิ่งต้องกู้มาก มาใช้จ่ายอีก เป็นวัฏจักรแห่งความล้มเหลว
จึงขอให้รัฐบาลเปลี่ยนวิธีการจากการกู้เงินจำนวนมากๆ มาฟื้นเศรษฐกิจ เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น เพื่อสร้างความเจริญเติบโต ได้ภาษีเพิ่มขึ้น
แล้วนำเงินภาษีที่ได้เพิ่มมาพัฒนาประเทศ จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่เสี่ยงล้มละลาย ซึ่งดีกว่าวิธีการกู้เงินมากๆ ของรัฐบาล
5.รัฐบาลต้องมีกรอบคิดและวิสัยทัศน์ในการสร้างความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ การกู้เงินจำนวนมากๆ เพียงอย่างเดียว นอกจากจะไม่ฟื้นเศรษฐกิจแล้ว แต่จะสร้างความเสี่ยงการล้มละลายทางเศรษฐกิจด้วย
6.รัฐบาลขาดการดูแลการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการทำตลาดและด้านค่าเงินที่แข็งกว่าภูมิภาคมาก ทำให้การส่งออกทรุดตัวมากกว่าที่ควร จึงเป็นการซ้ำเติมระบบเศรษฐกิจมากขึ้นอีก
7.รัฐบาลขาดการดูแลการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้สินเชื่อไม่ขยายตัว เป็นอุปสรรคอย่างมากในการฟื้นระบบเศรษฐกิจ
8.รัฐบาลขาดวิธีการหาเงินมาลงทุนในภาครัฐ โดยไม่ต้องกู้เงิน ทำให้การลงทุนในขนาดที่เพียงพอเพื่อฟื้นระบบเศรษฐกิจไม่สามารถทำได้
9.มาตรการงบกลางปีที่นำออกใช้ ไม่ได้เพิ่มการจ้างงาน แต่เป็นการแจกเงิน ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ยังคงจะทำให้คนตกงานถึง 1.2 ล้านคน
10.รัฐบาลได้ตัดงบเอสเอ็มแอลไป 20,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณนี้ และในปีงบประมาณ 2553 ได้ลดงบเอสเอ็มแอลไปอีก 30,000 ล้านบาท และตัดงบประมาณ 30 บาทรักษาทุกโรคอีก 50,000 ล้านบาท รัฐบาลละเลยคนยากจน ไม่ดูแลคนยากคนจน
11.รัฐบาลขึ้นภาษีจำนวนมากในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดการลดการบริโภคในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แสดงถึงความไม่เข้าใจในวิธีการฟื้นเศรษฐกิจ การนำเงินไปแจกให้บางกลุ่มในระบบเศรษฐกิจ แต่มีการขึ้นภาษีน้ำมันกับคนไทยทุกคนเพื่อชดเชยเงินเหล่านั้นในยามที่ประชาชนไม่มีงานทำ ขายของไม่ได้
เป็นการสร้างความไม่ยุติธรรม มีลักษณะ 2 มาตรฐาน ไม่เป็นธรรมสำหรับคนชนบท

กระแสทรรศน์ -มติชนออนไลน์

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

I WILL BE HERE


โพสต์โดย : kohka55 ID # 808747 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-12 13:49:02
วันนี้คลายเครียดสักวันนะคะ...

Tomorrow mornin' if you wake up
And the sun does not appear
I...I will be here

If in the dark we lose sight of love
Hold my hand and have no fear
'Cause I...I will be here

I will be here...
When you feel like bein' quiet
When you need to speak your mind
I will listen
And I will be here
When the laughter turns to cryin'
Through the winnin' and losin' and tryin'
We'll be together
'Cause I will be here

Tomorrow mornin' if you wake up
And the future is unclear
I...I'll be here

Just as sure as seasons are made for change
Our lifetimes are made for years
I...I will be here

I will be here....
You can cry on my shoulder
When the mirror tells us we're older
I will hold you

And I will be here
To watch you grow in beauty
And tell you all the things you are to me
I will be here

I will be true
To the promise I have made
To you and to the
One who gave you to me
I WILL BE HERE

I...I will be here
And just as sure as seasons are made for change
Our lifetimes are made for years
'Cause I...
I will be here....
We'll be together

Cause I will be here...

หากเธอตื่น ในยามรุ่ง ของพรุ่งนี้
ดวงสุรีย์ ลี้ลับ ดับสีสัน
ม่านมืดมิด อุปสรรค ความรักกัน
จับมือฉัน ให้มั่น อย่าหวั่นใจ

ฉันอยู่นี่.....
ในยามที่ ความเงียบเหงา เข้ามาใกล้
อยากรำพึง ความรู้สึก ลึกภายใน
ฉันน้อมใจ สดับ คอยรับฟัง

เสียงหัวเราะ เปลี่ยนทำนอง เป็นร้องไห้
ทั้งมีชัย ในชีวิต ทั้งผิดหวัง
จะเผชิญ ร่วมกัน มั่นจีรัง
รวมพลัง สร้างหนทาง อย่างสุดฤทธิ์

หากเธอตื่น ในยามรุ่ง ของพรุ่งนี้
อนาคต ริบหรี่ ยากลิขิต
ฤดูกาล หมุนเวียน หรือเปลี่ยนทิศ
ช่วงชีวิต ของเรา ยังเนาว์นาน

เพราะว่าฉัน ยังคง อยู่ตรงนี้
พร้อมไหล่ที่ แบกรับ ซับประสาน
ยามน้ำตา เธอหลั่งไหล ดังสายธาร
ไม่ว่ากาล ผ่านเท่าใด ยังใกล้เธอ

คอยเฝ้าชม เจริญวัย สดใสยิ่ง
และบอกสิ่ง ที่เก็บงำ นำเสนอ
จากห่วงใย กลายเป็นรัก ภักดีเธอ
ใช่เพ้อเจ้อ เป็นความจริง ทุกสิ่งอัน

ฉันสัญญา ทุกคำ ฉันทำได้
กับใครใคร ที่บันดาล สานความฝัน
เพราะฉันอยู่ ตรงนี้ ทุกวี่วัน
รอเธอนั้น เคียงข้าง ร่วมทางเดิน

ขอบคุณคุณเกาะคา และเว็บบอร์ดประชาไทย

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สงครามกลางเมืองคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงยากมากๆ


808639 สงครามกลางเมืองคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงยากมากๆ 12/06/2009 01:15:25 1232 บังสุกุล (เว็บบอร์ดประชาไท)

ผมกล้าฟันธงหากยังเรียกร้องประชาธิปไตยเต็มใบ มันยากที่จะหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง
เพราะฝ่ายอำมาตย์ เหลือประตูที่จะสู้แล้วชนะมีแค่การใช้อาวุธเท่านั้นเอง
ไม่ว่าความชอบธรรม การยอมรับของสังคมโลก การเลือกตั้งที่บริสุทธิ
มวลชน ความถูกต้อง อำมาตย์ ไม่มีโอกาสชนะได้สักอย่างเดียว
ยก เว้นการเลือกตั้งที่แสนจะสกปรก แบบปัจจุบันผมไม่ต้องบรรยาย ทั้งคนจัดการแข่งขัน กรรมการ เจ้าของสนาม กติกรูที่พวกเองอย่าทำ แต่พวกฉันทำได้ แบบนี้อำมาตย์ชนะัใสๆ
ขณะนี้ อำมาตย์พร้อมเรืองอาวุธ และพร้อมจะทำการยิงได้ทุกเวลาและท้าทาย
กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยโดยการโกงทุกเรื่อง ข้าถูกหมดเองผิดหมด
เหตุการณ์สงกรานต์เลือดคือตัวอย่างที่สัมผัสได้ ไม่มีเหตุให้ยิงไม่เป็นไร ฉันจะก่อเหตุให้
ซึ่งแน่นอนมวลชนเสื้อแดงสู้ไม่ได้แน่นอนเรื่องอาวุธ และท่านทั้งหลายไม่ต้องสงสัย
ประชาธิปไตยทุกที่ในโลกมาจากการขนะด้วยกองกำลังทั้งนั้น อย่าหวังออกมาเป็นล้านแล้วจะได้
เมื่อรู้เช่นนี้ผมถามแบบตรงไปตรงมา พวกเรา มีกองกำลังหรือยัง อาวุธอยู่ไหน
ใครเป็นคนฝึกและรวบรวม คำตอบตอนนี้คือไม่มี
แล้วหลายคนบอกชนะแน่ๆ ในเร็วๆนี้ แต่ไม่มีใครบอก ตายแน่ๆในเร็วๆนี้
การโยกย้ายทหารควบคุมกำลังพล ตอนนี้มีหลายคนแจ้งว่า เสร็จสรรพ ทหาร รอ.เอาไปคุมทั้งประเทศแล้ว
หวังทหารกลับข้างเมินซะเถอาะ
เมื่อเรารู้ตัวว่าสู้เขาไม่ได้เรื่องอาวุธ ก็ต้องป้องกันทุกอย่างไม่ให้เขาใช้อาวุธ
การชุมนุมจะกี่แสนกี่ล้านคนต้องไม่เคลื่อนที่ให้ฝ่ายตรงข้ามแทรกเข้ามาสร้างสถานการณ์
ชุมนุมมีกำหนดวันแล้วเลิกไม่ยือเยื้อ
หากจะถามต่อว่าแล้วเราจะชนะอย่างไรตอบได้เต็มปากว่า ไม่รู้โว้ย..
รู้ แน่ๆว่าต้องทุกประเทศมีกองกำลังทั้งนั้น แม้แต่ที่อินโดที่หลายคนแย้งว่าเพราะพิษเศรษฐกิจ แต่ท่านลืมสมัยนั้นมี อาเจะ ติมอแล้วหรือ
มากอสฟิลิปปินเพราะอาคิโนตาย ทหารกลับข้าง แต่ของเราที่ทหารถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เข้า เตรียมปี1เลยคิดหรือว่าจะกลับข้าง
ไม่มีอื่นครับ หากจะเอาประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องพร้อมทำสงครามกลางเมืองเท่านั้นไม่มีเป็นอื่น
ขอบคุณ คุณบังสุกุล
จากห้องสังคมและการเมือเว็บบอร์ดประชาไท

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมคนเสื้อแดง เพิ่มเติมค่ะ


TAN007
ID # 1818467 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-11 11:23:45 _ ปิดข้อความ ex-link

งานเสวนา Thailand Mirror Cyber + 6 "จากหลังคีย์บอร์ดถึงหน้ารัฐสภา "
ทีมงาน Thailandmirror.com จัดงานเสวนาสุดยอดผู้นำ Cyber + 6
หัวข้อเรื่อง "จากหลังคีย์บอร์ดถึงหน้ารัฐสภา "
วันเสาร์ ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552
เวลา 17.00 น เป็นต้นไป [ส่วนของงานเสวนาเริ่ม18.00-21.00 น.]
ลักษณะงาน No action Talk only
แลกเปลี่ยนทรรศนะ และเสวนาแบบไม่เสียค่าเนต
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากโลกไซเบอร์สู่ภาคประชาชน
วิพากษ์วัฒนธรรมองค์กรไซเบอร์ ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ในงานมีอาหาร เครื่องดื่ม ให้บริการในแบบบุพเฟ่ต์ Cyber talk
(สำหรับเครื่องดื่ม Lกฮ โปรดนำมาลงทะเบียนด้วย)
วิทยากรรับเชิญที่ตอบรับเข้าร่วมเสวนา
อาทิ เช่น ..
คุณปลื้ม มล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล
คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการน.ส.พ.Thai Red News
คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ( บก.ลายจุด)
และหลายท่านที่กำลังรอการตอบรับ ...
นักสิทธิมนุษยชน
ผู้ประกาศข่าวฟรีทีวี
นักวิชาการ
นักกฎหมาย
นักการเมือง
ฯลฯ
รูปแบบงาน
เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ โดยผู้ที่มาในงานสามารถเป็นผู้ร่วมเสวนาได้ทุกท่าน(ตามแต่เจตนารมณ์)
เพื่อให้เกิดองค์ความคิดเห็นอันหลากหลายขยายผลเป็นรูปธรรม
ราคาบัตร และสถานที่จะแจ้งให้ทราบในอีกไม่กี่วันนี้
สำรองที่นั่ง และเป็นผู้ร่วมเสวนาติดต่อ
คุณที่ระลึก 084-091-0707
หมายเหตุ*จำกัดจำนวน และงดโฟนอิน

จุติเทพ
icon ID # 1818485 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-11 11:31:17 _ ปิดข้อความ ex-link
เพิ่มเติมครับ
คนเสื้อแดงสระบุรี นัดรวมพลจัดเลี้ยงโต๊ะจีน โต๊ะละ 2000(คนละ 200)
19 มิ.ย.52 ที่ ร.ร.พุแค เริ่มงาน 16.00 น.
เพิ่งรู้เมื่อกี้นี้ เลยจองไว้ 1 โต๊ะ

TAN007
ID # 1818503 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-11 11:43:27 _ ปิดข้อความ ex-link
15 มิถุนายน 2552 งานรวมพลคนเสื้อแดง อุบลราชธานี โดยกลุ่มเสรีชน อุบล
สถานที่จัดงาน ลานเอนกประสงค์(ถนนกว้าง) ข้างๆ ห้างดีมาร์ท สาขาอุบลราชธานี ถนนศรีณรงค์ ในเมืองอุบลราชธานี เวลา 16.00 น - 23.00 น.
-พบกับ แกนนำความจริงวันนี้หลายท่าน ทั้งคุณจตุพร คุณณัฐวุฒิ ใสเกื้อ --คุณอริสมันต์ และท่านอื่นๆ
-รายละเอียดอื่นๆ ติดต่อผู้ประสานงาน คุณอ้วนไอที 081-6642176

TAN007
ID # 1818515 - โพสต์เมื่อ : 2009-06-11 11:49:08 _ ปิดข้อความ ex-link
ข่าวไทยเรด นิวส์ 13.6.09)นายสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำแนวร่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือแกนนำคนเสื้อแดง เปิดเผยว่า วันที่ 22 – 24 มิถุนายนนี้ จะมีการรวมตัวชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่ท้องสนามหลวง จัดกิจกรรม “ทวงคืนประชาธิปไตย รื้อฟื้นวันชาติไทย 24 มิถุนายน” วันที่ 24 มิถุนายนถือเป็นการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และทวงคืนวันชาติไทยซึ่งก่อนหน้านี้คือวันที่ 24 มิถุนายน
อย่าง ไรก็ตามการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิ ราชเป็นระบอบประชาธิปไตย รวมถึงปลุกจิตสำนึกความรักชาติรักประชาธิปไตยของคนไทย รื้อฟื้นความสำคัญของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และจะได้ฉลองวันชาติในวันดังกล่าว
ทั้งนี้การจัดชุมนุมของคนเสื้อแดง ในวันดังกล่าว จะมีการทำบุญให้กับคณะราษฎรรวมถึงการอ่านแถลงการณ์ของคณะราษฎรที่หมุด 24 มิถุนายน 2475 ที่พระบรมรูปทรงม้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน 2552
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า การชุมนุมครั้งใหม่นี้จะเป็นการต่อสู้ ชุมนุมอย่างสงบ และยกระดับขึ้นกว่าทุกครั้ง และยืนยันว่า กลุ่มเสื้อแดงจะยังเกาะกลุ่ม รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นเพื่ออุดมการณ์และเป้าหมายสูงสุด แม้จะใช้เวลายาวนานก็ตาม
การชุมนุมครั้งนี้จะเป็นการชุมนุมเพื่อเตรียม ตัวในการเข้าร่วมกับการชุมนุมของรายการความจริงวันนี้ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2552 จึงหวังว่าประชาชนทุกสาขาอาชีพจะมาเข่าร่วมการชุมนุมระหว่างวันที่ 22-24 มิถุนายน 2552 กันให้เต็มท้องสนามหลวง
สำหรับทุนการดำเนินงานนั้น จะเปิดรับการบริจาค จึงขอเชิญชวนทุกท่านมีส่วนร่วมการจัดงานรำลึกอดีตวันชาติไทย 24 มิถุนายน ของทุกปี ด้วยการบริจาคเงินให้กับนปช. มีส่วนร่วมต่อการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยและสร้างความเข้มแข็งให้กับนปช. สนับสนุนทางการเงินบริจาคในนามของ แนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Front) ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 208-206680-4 สาขาย่อยเซ็นจูรี
รายงานโดย สรัลชนา ศรีเชียงสา Thai Red News

จากเว็บบอร์ดประชาไท ถ้ามีเพิ่มเติมจะลงให้อีกค่ะ

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมคนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตย



วันที่ 10 มิถุนายน 2552 พี่น้องเสื้อแดงบริเวณใกล้เคียง ช่วยไปให้กำลังใจเสื้อแดง อ.ประทาย พรุ่งนี้มีโต๊ะจีน 100 โต๊ะจองหมดแล้ว.
ท่านใดตั้งใจไปร่วมงานขอเชิญไปได้นะครับ..ไม่มีโต๊ะแต่มีอาหารฟรี ให้บริการทุกท่าน.
พบกับ แรมโบ้อีสาน และ ณัฐวุฒิ, จตุพร. และอีกหลายๆท่าน
อยากเชิญชวนเพื่อนๆเสื้อแดงที่สามารถเดินทางไปได้เชิญนะครับ.

13 มิ.ย. 2552 14.00 - 24.00 น.
คอนเสิร์ตเยียวยาผู้กล้าประชาธิปไตย
สถานที่จัดงาน ตลาดเชื่อมสัมพันธ์ ถนนเชื่อมสัมพันธ์ ข้างมหาวิทยาลัยมหานคร หนองจอก
พบแกนนำความจริงวันนี้และแกนนำ นปช. นักร้องประชาธิปไตย ครบ
คณะกรรมการจัดงานกลุ่มแท๊กซี่สุวรรณภูมิ/ประสานงาน
โทร 089-427-3583 คุณชูวิทย์
โทร 086-772-3916 คุณสมัย
โทร 087-682-6356 คุณประมวล

16 มิถุนายน 2552
>>งานทวงถามตามหาประชาธิปไตย << กลุ่มเสื้อแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วมฟังปราศรัยและรับประทานอารหาร(โต๊ะจีน) ราคาบัตรท่านละ 200 โต๊ะละ 2,000 บาท เวลา 17.00 น เป็นต้นไป
พบกับ
-คุณพายัพ ปั่นเกตุ
-ดร.ประแสง มังคลสิริ
-คุณสุพร อัตถาวงศ์(แรมโบ้อีสาน)
-คุณนาวิน บุญเสริฐ
-และขวัญใจแม่ยกเสื้อแดง ณัฐวุฒิ ใสเกื้อ
สถานที่ ณ ลานเอนกประสงค์ ร้าน Y to K หลังเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก***

ศุกร์ที่ 19 มิ.ย.52 รวมพลังคนรักประชาธิปไตย ที่ฉะเชิงเทรา
รวมพลังคนรักประชาธิปไตย จ.ฉะเชิงเทรา
ณ สนามกีฬาจังหวัดฉะเชิงเทรา (สุบิน พิมพยะจันทร์)
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2552
เวลา 16:00 - 24:00 น.
นำทีมโดย จตุพร พรหมพันธุ์, ณัฐวุติ ใสยเกื้อ
เพื่อหารายได้ก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชน เพื่อประชาธิปไตยฉะเชิงเทรา
ติดต่อจองโต๊ะ : 081-2942426, 081-9206664, 080-0522503
ติดต่อจองที่ขายสินค้าได้ที่ 081-3745495


วันที่ 20 มิ.ย. 52
งานเปิดตัวสถานีวิทยุชุมชน คนรักไทย FM.95.25 MHz. โทร 02-690-0416
ขอเชิญทุกท่านร่วมรับประทานอาหารคำ ในงานเปิดตัวสถานีอย่างเป็นทางการ วันที่ 20 มิ.ย. 52
ที่อาคารเดอะบีช เรซิเด้นซ์ รัชดาซอย 19

วันที่ 20 มิ.ย. นี้ ณ สนามกีฬากลางหนองกระทิง สำหรับผู้รักประชาธิปไตย พลาดไม่ได้...
บัตรผ่านประตู ท่านละ 100 บาท
รายได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงานสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวลำปาง...

ขอเชิญร่วมงาน เปิดตัว >กลุ่มแดงสากล09 < (แดงบุรีรัมย์ 52) และเปิดตัว ว่าที่ ผู้สมัคร สส.พรรคเพื่อไทย จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดการดังนี้
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552 เวลา 9.00 น. - 10.00 น.ร่วมทำบุญตักบาตร และถวายภัตราหารเพล
ณ บ้านเลขที่ 65 บ้านหนองเสม็ด ตำบลไทยเจิรญ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
กำหนดการรับประทานอาหารร่วมกันและฟังการบรรยาย เวลา 12.00 - 18.00 น.
-ฟังการบรรยายธรรมมะกับการเมือง โดยพระมหาโชว์ ทสสุนีโย
-เปิดตัว >แดงสากล09< ดร.สากล ศรีวันทา
-ร่วมรับประทานอาหารและฟังการบรรยาย(ปราศรัยย่อย)บนเวที โดย คุณสุพร อัตถาวงศ์ (แรมโบ้อีสาน)
-พบกับ อดีต สส. จังหวัดบุรีรัมย์ พลังประชาชน คุณโสภณ เพชรสว่าง
-เจ้าภาพกล่าวปราศัยปิดงาน
เบอร์ประสานงาน 044-654-104 หรือ 080-770-6214
**ดร.สากล ศรีวันทา** ปล.อาจจะมีแกนนำท่านอื่นมาร่วมงาน อยู่ระหว่างประสานงานติดต่อ

ขอเชิญ ร่วมงาน
ความจริงวันนี้ สัญจร แดงสมุทรปราการ
วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน 2552 เวลา 16.00 น. - 22.00 น.
ณ บริเวณ ตลาดนัด ตรงข้าม สภอ.สำโรงใต้ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย สมุทรปราการ
โต๊ะจีน 600 โต๊ะ โต๊ะละ 3,000 บาท (ท่านละ 300 บาท)
โต๊ะ ViP. มีจำนวนจำกัด โต๊ะละ 5,000 บาท
พบกับแกนนำ นปช. รุ่น 1
คุณวีระ , คุณจตุพร, คุณนัฐวุฒิ
ผู้ดำเนินรายการ ความจริงวันนี้ แกนนำอื่น ๆ เช่น
คุณก่อแก้ว พิกุลทอง, คุณอดิศร เพียงเกษ, อ.สุรชัย แซ่ด่าน, คุณวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย , คุณดารุณี กฤตบุญญาลัย และคุณวรชัย เหมะ (คุณเงาะ) ซึ่งเป็นแกนนำ และประธานชมรมแดงสมุทรปราการ เป็นต้น
พร้อมทั้ง คุณอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง คุณวิสา คัญทัพ คุณไพจิตร อักษรณรงค์ คุณมุข เมทินี
และคุณอนุสรณ์ พิธีกรหนุ่มคนดังแห่ง MV. 5
ซื้อบัตร และสอบถามได้ที่
-อิมพีเรียล ลาดพร้าว ชั้น 6 หน้า D- Station -คุณสุทธินันท์ 081-834-8045
-อิมพีเรียล สำโรง ชั้น 4 ศูนย์จำหน่ายพระ - คุณหน่อย 085-8484-524 และ
-คุณนิ 082-077-7510
-คุณวันดี ซอยแบริ่ง 083-198-0382
-คุณสุนิสา แกนนำบางพลี 085-666-7523 , 080-934-0407
-คุณโดม แกนนำ พระประแดง 080-591-0489
-เจ๊เล็ก ศูนย์จำหน่ายบัตร วัดบางด้วน 081-430-9448
ซื้อ และ สั่งจองบัตร ด่วน !

24 มิถุนายน 2552
สถาบันปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับ โครงการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ขอเชิญร่วมงานปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี ๒๕๕๒
“ขบวนการชาวบ้านกับการต่อสู้แบบสันติวิธีในสถานการณ์ความขัดแย้ง”
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒

เริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์
โดย ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิจารณ์ปาฐกถา 24 มิ.ย.52
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิปรายโดย
แม่ผา กองธรรม สมัชชาคนจน พื้นที่เขื่อนราษีไศล ภาคอีสาน
พ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ชนเผ่า ผู้อยู่กับป่าในพื้นที่ภาคเหนือ
เป๊าะจิ๊ดือราแม ดาราแม ชาวบ้านพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้
วิไลวรรณ แซ่เตีย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
สอบถามรายละเอียด โทร. ๐-๒๓๘๑-๓๘๖๐-๑ โทรสาร ๐-๒๓๘๑-๓๘๕๙
E-mail : banomyong_inst@yahoo.com

24 มิถุนายน 2552
ขอเชิญร่วมสัมมนา

70 ปีสยามเป็นไทย-ย้อนเวลาสู่อนาคต
24 มิถุนายน 2482-2552
70th Anniversary-From Siam to Thailand: Back to the Future?
24 June 1939-2009
วันพุธ 24 มิถุนายน 2552 - 9.00 - 18.00
ณ หอ (เล็ก) ศรีบูรพา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร
09.00 ลงทะเบียน (วีซีดีสยามเป็นไทย)
09.30 กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล นายกสภาฯ ธรรมศาสตร์
10.00 เปิดตัวหนังสือ “หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทย-จากกบฏ ร.ศ. 130 ถึงรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือ ประชาธิปไตยกับ อำมาตยาธิปไตย” โดย ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี
และ ผศ.ดร..ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
10.30 ขับร้องเพลงประสานเสียง “เพลงชาติสยาม - ชาติไทย - 24 มิถุนา”
โดย SEAS/TU BAND
10.45 ปาฐกถานำ "พัฒนาการของรัฐชาติกับความขัดแย้งภายในของชาวสยาม"
โดย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
12.00 อาหารกลางวันตามอัธยาศัย (วีซีดี สยามเป็นไทย)
13.00 อภิปราย "การเมืองสยามประเทศไทย เราจะไปทางไหนกัน"
คุณ บัญญัติ บรรทัดฐาน
คุณ จาตุรนต์ ฉายแสง
ศ. ผาสุก พงษ์ไพจิตร
คุณคำสิงห์ ศรีนอก (ลาวคำหอม)
ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ดำเนินรายการ
จบรายการด้วยขับร้องเพลงประสานเสียง “เพลงชาติลาว-กัมพูชา-พม่า”
เพื่อนบ้านของเราในอุษาคเนย์/อาเซียน)

15.30 ละครประกอบเพลง "70 ปี ดอกไม้งามจากสยามเป็นไทย"
16.30 ขับเพลงประสานเสียง-เพลงศรีอโยธยา, ราตรีประดับดาว, มาร์ช มธก.
โดย SEAS/TU BAND
17.00 งิ้วธรรมศาสตร์ (จูเนียร์) ตอน “เสียมก๊ก ตอนเปาบุ้นจิ้นผจญโป๊ยก๊ก”
18.00 ปิดงาน
พิธีกร - สมฤทธิ์ ลือชัย -อัครพงษ์ ค่ำคูณ และ นศ. SEAS/TU
หมายเหตุ :
ก. จัดโดย: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 02-424-5768 ร่วมด้วยคณะศิลปศาสตร์ มธ., โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ศศ. มธ., สมาคมจดหมายเหตุสยาม, กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์, ชมรมอุษาคเนย์-อาเซียน
ข. เนื่องในโอกาส
-77 ปีของการอภิวัฒน์/ปฏิวัติ 24 มิถุนายน (2475-2552)
-75 ปี มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (2477-2552)
-70 ปี สยามประเทศไทย (2482-2552) รวมทั้งวาระครบรอบ
-57 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2495-2552) และ
-47 คณะศิลปศาสตร์ (2505-2552) และ
-10 ปี โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (2542-2552)
ค. ไม่มีค่าลงทะเบียน

ที่มา "ไทยอีนิวส์" และ เว็บบอร์ดประชาไทย

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิเคราะห์การเมือง - ไทยรัฐ



มีเรื่องจริงที่เล่ากันมาปากต่อปากในหมู่นักเลือกตั้งรุ่นเก่า กับลูกเล่นของ "จอม เก๋า" แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่เซียนยอมยกให้เป็นปรมาจารย์ในวิชาหาเสียงเลือกตั้ง
โดยช็อตที่สั่งให้คนเอาร่มไปกางไว้ตรงเวทีปราศรัย แต่พอขึ้นเวทีกลางแดดร้อนเปรี้ยงๆก็ประกาศต่อหน้าคนฟัง สั่งให้เอาร่มออก
พร้อมกับบอกกับชาวบ้านว่า พ่อแม่พี่น้องอุตส่าห์มานั่งฟังปราศรัยกลางแดดร้อนๆ แล้วจะให้ผู้แทนราษฎรมาอยู่ในร่มสบายๆ มันใช้ไม่ได้
ชาวบ้านลำบากยังไง ผู้แทนฯต้องอยู่เคียงข้าง และพร้อมลำบากกว่าเจอมุกนี้เข้าไป คะแนนไม่ไหลมาเทมาก็ให้มันรู้ไป
โดยตำนานที่ลอกแบบกันได้ มันจึงไม่ใช่เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ กับคิวที่นายเนวิน ชิดชอบ ผู้มีบารมีนอกสภาของพรรคภูมิใจไทย เล่นบทครูใหญ่ เป่านกหวีด ไล่ให้ ส.ส.และทีมผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย ออกจากเต็นท์รับรอง
ไปลุยตากแดดดำนาร่วมกับชาวบ้าน
ภายใต้ฉากรายการ "เรียลลิตีโชว์" ของพรรคภูมิใจไทย ที่วัดโนนสวรรค์ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
กำกับคิวรัฐมนตรี ผู้แทนราษฎร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ลิ้มรสความลำบากของคนยากคนจน แยกไปนอนตามใต้ถุนบ้าน คอกวัวคอกควาย กระท่อมปลายนา ศาลาวัด
เดินเช็กชื่อตามบ้าน ใครแอบหนี คัดชื่อออกจากทีมทันที
ไม่เว้นแม้แต่ "ปู่จิ้น" นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่วัยปาเข้าไป 73 ปี ก็ยังต้องฝืนร่วมรายการทรมานสังขาร
แม้จะดูเก้ๆกังๆ ขัดตากับภาพ "เจ้าสัว" นั่งปั้นจิ้มข้าวเหนียวกับปลาร้า ล้อมวงกินข้าวก้นบาตรพระ ลุยโคลนดำนา ก้มๆเงยๆ
เล่นบทสมจริงสมจัง จนหน้ามืดตาลาย ลมใส่
แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน พระเอกรุ่นปู่ร่วมวงเรียลลิตี้สร้างกระแส
ที่แน่ๆ "พระเอกหนุ่ม" อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และยี่ห้อพรรคประชาธิปัตย์ ไม่สามารถไปจัดรายการเรียลลิตี้ "กระตุ้นเรตติ้ง" แบบนี้ได้ในภาคอีสาน
ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะทำการตลาด เจาะสนามที่มี ส.ส.มากที่สุดในประเทศไทย
ในทางกลับกัน กลายเป็นค่ายภูมิใจไทยเสียอีก ที่กำลังวางแผนรุกใหญ่ เปิดพื้นที่ ทำการตลาดในเมืองหลวง เดินหน้าเจาะฐานเสียงเมืองกรุงแข่งกับยี่ห้อประชาธิปัตย์
กับเกมยุทธ์ของ "เนวิน" พลิกเหลี่ยมสู้ "รถเมล์เอ็นจีวีไม่ใช่แค่เรื่องเงิน หรืองบประมาณเท่านั้น แต่หมายถึงคะแนนเสียงใน กทม.ด้วย"
ล่าสุด ค่ายภูมิใจไทยสั่งขึ้นบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ติดตั้งใจกลางกรุงเทพฯที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และป้ายข้างทางด่วน โดยมีข้อความตัวอักษรสีน้ำเงินพื้นสีขาว "ภูมิใจไทยตั้งใจทำเพื่อประชาชน รถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน เที่ยวละ 12 บาท ตั๋ว 1 วัน 30 บาท ตั๋วรายเดือน เด็กนักเรียน นักศึกษา 600 บาทต่อเดือน ตั๋วรายเดือน ผู้ใหญ่ 800 บาทต่อเดือน" คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จภายในวันอังคารที่ 9 มิถุนายนนี้
ประกาศความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โปรเจกต์รถเมล์เอ็นจีวี
และโดยอาการนั่งไม่ติด พรรคประชาธิปัตย์ต้องรีบส่งนายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. ออกมาดักทางแกมบลัฟค่ายภูมิใจไทย
โครงการที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯต้องพิจารณาในแง่ของผลงานและความโปร่งใสที่หยิบยื่นให้คน กทม.ด้วย
เน้นมุกคุณชายสะอาดข่มภาพมอมแมมของเพื่อนเนวิน
แต่ก็เป็นอะไรที่เล่นเป็นทีมเหมือนกัน โดยการโผล่ออกมาของมวยรุ่นใหญ่อย่างนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อีกหนึ่งผู้มีบารมีนอกสภาของพรรคภูมิใจไทย ออกมาทิ่มหมัดใส่พรรคประชาธิปัตย์ เก่งแต่เตะตัดขา สกัดโครงการของพรรคร่วมรัฐบาล เหยียบบ่าเพื่อนตีกิน
สุดท้ายก็เลยไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน
ในอารมณ์ที่เปรียบเทียบกันได้พอดี ยี่ห้อประชาธิปัตย์ได้ภาพสะอาด แต่ถนัดแค่เตะตัดขาคู่แข่ง ไม่มีสมองริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานไม่เป็น ขณะที่ยี่ห้อภูมิใจไทย แม้จะเลอะเทอะมอมแมม แต่มีความถนัดริเริ่ม กล้าคิดกล้าทำ
คนกรุงเทพฯ มีการบ้านให้คิดก็แล้วกัน.

"ทีมข่าวการเมือง" รายงาน
ไทยรัฐออนไลน์โดย ทีมข่าวการเมือง
8 มิถุนายน 2552, 05:05 น.

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

24 มิถุนา เคยเป็นและเลิกเป็นวันชาติได้อย่างไร?


โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เวลา ที่ได้ยินคนในแวดวงรัฐบาล(หรือที่เคยอยู่ในแวดวงรัฐบาลอย่างณรงค์ กิตติขจร) ออกมาคัดค้านการตั้งชื่อวันที่ 14 ตุลาคมว่า "วันประชาธิปไตย" โดยยกเหตุผลทำนองว่า เป็นเการขัดกับความจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่ทราบว่าจะร้องไห้หรือหัวเราะดี
ก็ถ้าบรรดา ฯพณฯ เห็นความสำคัญของ 24 มิถุนายน ขนาดที่กลัวว่า 14 ตุลาคม จะมาแย่งความสำคัญไป ทำไมไม่ทำให้ 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมาเสียก่อนเล่า?
ความจริงคือ ทุกวันนี้ วันที่ 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นวันอะไรทั้งสิ้นในปฏิทินของทางราชการ และบรรดา ฯพณฯ ที่ยกเอา 24 มิถุนายน ขึ้นมาคัดค้าน 14 ตุลาคม ก็ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่มีทีท่าว่าจะเสนอให้เปลี่ยน 24 มิถุนายน เป็นวันสำคัญขึ้นมา
โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเรียก 14 ตุลาคม ว่า "วันประชาธิปไตย" แต่ไม่ใช่เพราะ 24 มิถุนายน จึงควรเป็นวันประชาธิปไตย ผู้เขียนไม่คิดว่า 24 มิถุนายน ควรเป็นเช่นกัน เหตุการณ์ทั้งคู่ไม่ได้ทำให้เกิดประชาธิปไตย แต่ขอเสนอว่า 24 มิถุนายน มีความสำคัญในลักษณะที่สมควรเปลี่ยนกลับเป็นวันชาติ

เพราะ 24 มิถุนายน ทำให้เกิดระบอบรัฐแบบใหม่ ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน

ระบอบ รัฐที่ว่านี้คือ ระบอบรัฐที่มีสภา, คณะรัฐมนตรี และ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหารสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่มีบทบาทสำคัญอย่างสูงในระบอบรัฐนี้ ตลอด 70 ปีนี้ "ความเป็นประชาธิปไตย" ของระบอบรัฐนี้ มีขึ้นมีลง แต่องค์ประกอบสำคัญ 4 อย่าง(สภา, ครม., นายกฯ, พระมหากษัตริย์)ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
จะไม่อภิปรายสนับสนุนข้อเสนอนี้ใน ที่นี้ ซึ่งต้องอ้างอิงเหตุผลยืดยาว รวมถึงการโต้แย้งประเด็นที่บางคนอาจจะตกอกตกใจเกินเหตุไปเองว่า ข้อเสนอนี้เป็นการ "กระทบกระเทือนสถาบัน"
อันที่จริง สถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่สำคัญเป็นผลมาจาก 24 มิถุนายน เอง 24 มิถุนายน ไม่ได้เป็นตัวแทนของความเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันกษัตริย์ ปัจจุบัน 24 มิถุนายน เป็นปฏิปักษ์เฉพาะกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเชื่อว่าในปัจจุบันไม่มีใครบ้าพอจะเสนอให้กลับไปใช้
ในบทความนี้ เพียงแต่อยากจะเล่า เพื่อเป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์แก่สาธารณชน ว่าครั้งหนึ่ง 24 มิถุนายน ถูกทำให้เป็น, และถูกเลิกให้เป็น, วันชาติได้อย่างไร เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยกับข้อเสนอเมื่อสักครู่หรือไม่ คงยอมรับ ว่านี่เป็นความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในตัวเอง
เรื่อง นี้ความจริงถ้าจะเล่าให้ตลอด เป็นเรื่องยาว เช่น ต้องเท้าความถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะราษฎรกับรัชกาลที่ 7 และความสัมพันธ์ภายในคณะราษฎร เป็นต้น จึงขอเล่าสั้นๆ เฉพาะเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง พูดแบบภาษาวิชาการประวัติศาสตร์คือ เล่าแบบไม่มีปริบทหรือมีแต่น้อย

เอกสารที่กำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ คือ "[ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี] เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481"

โปรด สังเกตว่าผู้เขียนใส่วงเล็บสี่เหลี่ยมข้างหน้าและหลัง "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี" เพราะถ้าใครไปเปิดดูในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ลงประกาศนี้ (เล่ม 55 วันที่ 1 สิงหาคม 2481 หน้า 1322) จะพบเรื่องประหลาดมากๆ ว่า ประกาศนี้ไม่มีหัวว่าเป็นประกาศประเภทไหน!
ที่ประหลาดมากยิ่งขึ้นคือ ประกาศที่(ถ้ามองจากปัจจุบัน) น่าจะเป็นเรื่องใหญ่มาก(กำหนดวันชาติ) มีข้อความเพียงเท่านี้ คือ

เรื่องวันชาติ

ด้วย คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติว่า วันที่ 24 มิถุนายน ย่อมถือว่าเป็นวันชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศมา ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2481

พ.อ.พหลพลพยุหเสนา

นายกรัฐมนตรี


ตอน ที่เห็นประกาศนี้ครั้งแรก ผู้เขียนยืนงงเป็นไก่ตาแตกอยู่หลายนาที เพราะนึกไม่ถึงว่า จะมีข้อความเพียงเท่านี้ (ต้องบอกด้วยว่า ได้อ่านประกาศของจอมพลสฤษดิ์ ฉบับที่ยกเลิกวันที่ 24 มิถุนายน ในฐานะวันชาติ ซึ่งมีข้อความยาวพอสมควร มาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อข้างหน้า

ขอ ทำเชิงอรรถในที่นี้ด้วยว่า ในหนังสือวิชาการส่วนใหญ่(เช่น ของชาญวิทย์ เกษตรศิริ หรือ แถมสุข นุ่มนนท์) เมื่อเขียนถึงการกำหนดให้ 24 มิถุนายนเป็นวันชาติ เข้าใจผิดว่า เป็นเรื่องในสมัย "ชาตินิยม" หรือ "สร้างชาติ" ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งหลวงพิบูลฯและหลวงวิจิตรวาทการ มีบทบาทในเรื่องนี้จริงๆ ดังจะได้เล่าต่อไป แต่ประกาศนี้มีขึ้นในสมัยพระยาพหลฯเพียงแต่การฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน ครั้งแรกในปี 2482 นั้น มีขึ้นเมื่อหลวงพิบูลฯขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว

ผู้ เขียนได้ไปค้นเพิ่มเติมในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีสมัยนั้น พบว่าการพิจารณาให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ มีลักษณะห้วนๆ รวบรัดตัดตอน ไม่มีหัวไม่มีหาง แบบเดียวกับประกาศข้างต้นเหมือนกัน(ต้องบอกก่อนว่า รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี มีจุดอ่อนที่อาจจะไม่ได้บันทึกละเอียดแบบคำต่อคำ แต่เฉพาะกรณีนี้เชื่อว่า คงไม่ห่างจากที่อภิปรายกันจริงนัก ผู้สนใจเรื่องรายงานการประชุม ครม.กรุณาตามอ่านบทความของผู้เขียนที่เล่าเรื่องการประชุม ครม.วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่จะตีพิมพ์ใน ศิลปวัฒนธณรม ฉบับเดือนตุลาคมนี้)

เรื่อง นี้ถูกเสนอเข้าที่ประชุม ครม.พระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2481 เป็น "วาระจร" (วาระที่ 24 ใน 28 วาระการประชุมครั้งนั้น) ผู้เสนอคือ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีลอย(ไม่ได้ว่าการกระทรวงใดๆ) เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าเคยถูกถามถึง "วันชาติ" กำหนดวันไหน ข้าพเจ้าได้ตอบไปว่ายังไม่กำหนดแน่นอน ฉะนั้น จึงใคร่ขอทราบว่า จะถือว่าวันไหนเป็นวันชาติ กล่าวคือ วันที่ 10 ธันวาคม หรือวันเฉลิมฯ หรือวันพระราชพิธีรัชชมงคล" (เข้าใจว่าหมายถึง 2 มีนาคม ซึ่งรัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์-สมศักดิ์)

หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ซึ่งเป็น "ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี" กล่าวว่า "ควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม เพราะวันเฉลิมมีเปลี่ยน" ขอให้จำความเห็นนี้ของ "ท่านวรรณ" ให้ดี เพราะจะเกี่ยวข้องกับตอนเลิกใช้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ)

หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีกลาโหม กล่าวว่า "วันชาติอยากให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายน เพราะวันเฉลิมเปลี่ยนไปตามพระมหากษัตริย์

หลวงวิจิตรฯจึงสนับสนุนว่า "ถ้าเลือกวันที่ 24 มิถุนายน กับ 10 ธันวาคม วันที่ 24 มิถุนายน ดีกว่าเพราะรัฐธรรมนูญ อาจมีแก้ได้

หลังจากนั้น รายงานการประชุม ได้บันทึกว่า "ที่ประชุมตกลง ให้กำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ"

ผู้ อ่านคงอยากทราบว่า ปรีดี พนมยงค์ สมาชิกคณะราษฎรคนสำคัญ มีความเห็นว่าอย่างไร ปรากฏว่าขณะนั้นปรีดี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศกำลังอยู่ในระหว่าง "ลาหยุดพักรักษาตัว" ไม่ได้เข้าประชุม ความจริงเคยมีครั้งหนึ่งที่ปรีดีอยู่ระหว่างเยือนต่างประเทศ ไม่ได้เข้าประชุม แต่ยังเสนอความเห็นมาให้ ครั้งนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์บนธนบัตร ความเห็นของปรีดีทำให้ที่ประชุมถึงกับตัดสินใจยับยั้งการดำเนินการไว้ก่อน เพื่อรอปรีดีกลับ(เรื่องนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย ซึ่งจะเล่าในโอกาสหลัง) แต่ครั้งนี้ ไม่มีการบันทึกว่าปรีดีเสนอความเห็นอะไร ทั้งๆ ที่มี นายปพาฬ บุญ-หลวง เลขานุการ รัฐมนตรีการต่างประเทศ เข้าประชุมแทน

ลักษณะรวบ รัดตัดตอนไม่มีหัวไม่มีหางของการกำหนดวันชาติเช่นนี้ ทำให้ในการประชุม ครม.ครั้งต่อไปวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 นายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นเลขาธิการ ครม. ต้องนำเรื่องเข้าสู่วาระอีกครั้ง เพราะมติครั้งแรกไม่มีรายละเอียดว่าจะให้ทำอย่างไรต่อ "ขอหารือว่าเรื่องนี้จะควรแจ้งให้ กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทราบและควรออกประกาศเพียงใดหรือไม่" ซึ่งหลวงวิจิตรฯเสนอว่า (1) ควรแจ้งให้กระทรวงทบวงกรมต่างๆ ทราบ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูต" เพราะปรากฏว่าในหนังสือบางฉบับ เช่น Almanac มีบอกวันชาติต่างๆ ไว้ด้วย ถ้าบอกไว้คลาดเคลื่อน หรือมิได้บอกวันชาติของเราไว้ ก็ให้ติดต่อให้เขาทราบเสียด้วย" และ (2) "เรื่องเพลงชาติเคยประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่องวันชาติก็ควรประกาศเช่นเดียวกัน"

หม่อมเจ้าวรรณฯเสนอว่า "เรื่องวันชาตินี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเคยเสนอเป็นพระราชบัญญัติ โดยกำหนดวันที่ 24 มิถุนายน เหมือนกัน แล้วตกไป ฉะนั้น ประกาศควรกล่าวว่า "ย่อมนิยมว่าเป็นวันชาติ"

ที่ประชุมตกลงให้ทำตามที่หลวงวิจิตรฯ เสนอ โดยให้ทำเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ในราชกิจจานุเบกษา ในการประชุมครั้งนี้ปรีดียังคงลาป่วย ไม่เข้าประชุม มีนายปพาฬ บุญ-หลง ประชุมแทน

นี่เองคือที่มาของประกาศให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ รวมทั้งของข้อความแปลกๆ "ย่อมนิยมว่าเป็นวันชาติ" ข้างต้น

24 มิถุนายน เป็น "วันชาติ" อยู่ 21 ปี ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม 2503 มี "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ลงนาม "จอมพล ส.ธนะรัชต์" นายกรัฐมนตรี(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอน 43, หน้า 1452+1453) ต่างจากประกาศที่ให้ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งส่วนเนื้อหามีความยาวเพียง 2 บรรทัด ในราชกิจจานุเบกษา

ประกาศฉบับหลังนี้ มีความยาวประมาณ 26 บรรทัด!

นับ ว่ายาวไม่น้อย สำหรับเรื่องเพียงเรื่องเดียว และถ้าความสั้น ไม่มีเหตุผลอธิบายประกอบเลยของประกาศฉบับแรก จะชวนให้ผิดหวังว่าไม่สมกับความใหญ่ของเรื่อง
การที่รัฐบาลสฤษดิ์ อุตส่าห์เสียเวลา ไม่เพียงร่างประกาศที่ยาวพอสมควรแต่ (ดังจะเห็นต่อไป) ก่อนหน้านั้นถึงกับต้องตั้งเป็น "คณะกรรมการ" เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ก็ชวนให้แปลกใจได้ไม่น้อย เพราะภาพลักษณ์ของรัฐบาลสฤษดิ์ คือ รัฐบาลที่มีอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ที่กระตือรือร้นจะรื้อฟื้นอุดมการณ์อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ 2475 อย่างเป็นระบบ
คำ อธิบายของเรื่องนี้คือ ในปี 2503 แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะล่วงเลยไปแล้วถึง 28 ปี และไม่ใช่สิ่งที่จะมีความหมายหรือเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้คนอย่างมากมายอะไร อีก แต่ในจิตสำนึกของชนชั้นที่มีการศึกษา ซึ่งที่สำคัญไม่น้อยได้แก่คนในวงการรัฐบาลและระบบราชการเอง(กรณีทวี บุณยเกตุ ผู้ก่อการคนหนึ่ง และ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มีความเคารพปรีดี เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ว่าการธนาคารชาติของสฤษดิ์ เป็นเพียงตัวอย่างที่เด่นชัด) 24 มิถุนายน ยังมีความสำคัญในฐานะจุดเริ่มต้นของระบอบการปกครองแบบใหม่ที่เป็นไปในทิศทาง ประชาธิปไตยและการปกครองด้วยกฎหมาย การจะยกเลิกวันนี้ ในฐานะวันชาติ จึงไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ(คิดว่า ความรู้สึกด้านลบต่อ 2475 ในหมู่ปัญญาชน เพิ่งมาเกิดขึ้นจริงๆ ในช่วงใกล้ทศวรรษ 2510 แล้ว) สฤษดิ์จึงต้องทำให้ดูเหมือนกับเป็นเรื่องที่ทำอย่างมีขั้นตอนและสมเหตุสมผล ดังที่ปรากฏในประกาศฉบับดังกล่าว ดังนี้

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
ด้วย คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐนตรีเป็นประธาน
คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆ ได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติต่างๆ กัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติโดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น แม้ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยมา แล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เอง
คณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตรยิ์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน เสีย
คณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบด้วย จึงได้ลงมติให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง วันชาติ นั้นเสีย และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยด้วย ต่อไปตั้งแต่บัดนี้
ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2503

จอมพล ส.ธนะรัชต์

นายกรัฐมนตรี

หลัง จากนั้น 2 สัปดาห์(8 มิถุนายน 2503) รัฐบาลก็ออกประกาศอีกฉบับหนึ่งยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ใช่วันชาติอีกต่อไป(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอนที่ 49, หน้า ฉบับพิเศษ หน้า 1)

ตามด้วยประกาศลงวันที่ 20 มิถุนายน 2503 ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับระเบียบการชักธงชาติ ที่ให้ชักและประดับธงชาติในวันที่ 23 ถึง 25 มิถุนายน(ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอนที่ 51, หน้า 1566)

สิ่งที่ต้องสังเกตคือ โดยประกาศเหล่านี้ สฤษดิ์ ไม่เพียงแต่ยกเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันชาติเท่านั้น แต่ยังยกเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันหยุด หรือวันสำคัญทางราชการโดยสิ้นเชิงด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดเผยให้เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเปลี่ยนวันชาติเท่านั้น เพราะถ้าลำพังเป็นเรื่องเปลี่ยนวันชาติ ต่อให้มีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยน ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่สามารถรักษาวันที่ 24 มิถุนายน ไว้ ในฐานะวันสำคัญทางราชการ ดังที่ได้เห็นก่อนหน้านี้ในบทความนี้ว่า ในปลายปี 2480 เคยมีการกำหนดให้ 24 มิถุนายน เป็น "วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ" สฤษดิ์ หรือ "คณะกรรมการ" ที่เขาตั้ง สามารถกำหนดให้ 24 มิถุนายน กลับไปเป็น "วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ" หรืออะไรทำนองนั้นก็ได้ การเลิก 24 มิถุนายน ในฐานะวันสำคัญทางราชการโดยสิ้นเชิงนี้ ไม่มีการให้เหตุผลประกอบใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับเหตุผลที่ "คณะกรรมการ" ให้ว่าประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยทั่วไปถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันชาตินั้น ก็ไม่จริงเสมอไป กรณีเดนมาร์ก ซึ่ง "คณะกรรมการ" ยกเป็นตัวอย่าง ฉลองวันชาติในวันที่ 5 มิถุนายน โดยถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 1849 ได้รับการรับรองครั้งสุดท้าย เมื่อ 5 มิถุนายน 1953 (ปัจจุบัน เบลเยียม สเปน สวีเดน ซึ่งมีกษัตริย์เป็นประมุข ก็ไม่ได้ฉลองวันพระราชสมภพในฐานะวันชาติแต่อย่างใด)
และคงจะจำได้ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กรกฎาคม องค์ประธาน "คณะกรรมการ" ที่เสนอให้เปลี่ยนวันชาติของสฤษดิ์ กรมหมื่นนราธิปฯ สมัยมีพระยศเป็น "หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร" ทรงกล่าวเองว่า "ควรเป็นวันที่ 10 ธันวาคม เพราะวันเฉลิมมีเปลี่ยน"
น่าเสียดายว่า ถึงปี 2503 รายงานการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้กลายเป็นการจดบันทึกแบบสรุปด้วยภาษาราชการล้วนๆ ไม่มีการบันทึกอีกต่อไปว่า ใครพูดอะไรจริงๆ บ้างแม้แต่น้อย
กรณีการ เปลี่ยนวันชาตินี้ผู้เขียนอ่านพบว่า ได้รับการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2503 ซึ่งเป็นการประชุม "ครั้งพิเศษ" ที่ "บ้านรับรองเขาสามมุข บางแสน จังหวัดชลบุรี" (สฤษดิ์ชอบไป "พักผ่อน" ที่นั่น) โดยเป็นวาระที่ 11 ในการประชุมครั้งนั้น ภายใต้หัวข้อ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย
บันทึกการ ประชุมวาระนี้ เริ่มต้นว่า "ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมี พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาเรื่องวันชาตินั้น บัดนี้ คณะกรรมการรายงานว่า ได้พิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่า..."
จากนั้นเป็นข้อความแบบเดียวกับ ย่อหน้าที่ 2 และ 3 ของประกาศยกเลิก 24 มิถุนายนเป็นวันชาติข้างต้น แล้วตามด้วยการบันทึก "มติ" ว่า ที่ประชุม "เห็นชอบด้วยให้ยกเลิก...." ซึ่งตรงกับข้อความในย่อหน้าที่ 4 โดยมีข้อความในวงเล็บต่อท้ายว่า "มีแก้ถ้อยคำในร่างประกาศฯเล็กน้อย" สรุปแล้ว ส่วนที่บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี ต่างจากตัวประกาศ ก็เพียงย่อหน้าแรกสุดของประกาศที่อ้างว่าการเอา 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ "มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ" และมีประชาชนและหนังสือพิมพ์เรียกร้องให้พิจารณาใหม่
ผู้เขียนยังค้น ไม่พบว่า ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีของสฤษดิ์ได้ประชุมพิจารณาเรื่องวันชาติและมีมติให้ตั้ง "คณะกรรมการ" ชุด "เสด็จในกรมฯ" ตั้งแต่เมื่อไร
มติชน

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หมูกับแมว





วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6762 ข่าวสดรายวัน


หมูกับแมว
คอลัมน์ เหล็กใน


โครงการเช่ารถเมล์ 4,000 คันมูลค่า 6-7 หมื่นล้าน หวนกลับมาเข้าครม.จนได้ 3
นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าหากนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม แกนนำพรรคภูมิใจไทย ยืนยันจะนำเรื่องโครงการเช่ารถเมล์ 4,000 คันเข้าที่ประชุมครม.ก็จะเซ็นอนุมัตินำเรื่องเสนอเข้าครม.ให้ ที่ "เทพเทือก" ต้องเซ็นอนุมัติเอง เพราะเป็นช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้พอดี
ย้อนรอยอภิมหาโครงการ 7 หมื่นล้าน จะเห็นว่ามีคนออกมาค้านกันมากมายโดย เฉพาะนายกฯ มาร์คคนนี้นี่แหละค้านหัวชนฝาตั้งแต่สมัยเป็นผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายโจมตีรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เปิดโปงโครงการนี้อย่างดุเด็ดเผ็ดร้อนพอ เข้ามาเป็นรัฐบาลเอง จะยอมให้โครงการนี้ผ่านไปง่ายๆ ก็ใช่ที่ การประชุมครม.เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ก็เลยหักดิบพรรคภูมิใจไทยเจ้าของโครงการ ตีกลับโครงการ สั่งให้กระทรวงคมนาคมไปทบทวนใหม่
เหตุผลง่ายๆ ทำไมต้อง "เช่า" ด้วยเงินมหาศาลถึง 7 หมื่นล้าน!?ราคาสูงกว่าซื้อถึง 3-4 เท่า
จากนั้นก็เกิดรายการทั้งต่อรองทั้งเอาคืน
ความจริง พรรคภูมิใจไทยที่มีนายเนวิน ชิดชอบ กุมบังเหียนอยู่ ก็มีบรรยากาศอึมครึมกับพรรคประชาธิปัตย์พอสมควร
เริ่มตั้งแต่การปะทะกันระหว่างนายกฯ มาร์คกับนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เรื่องโครงการแทรกแซงราคาข้าวโพดและแทรกแซงราคาข้าว
ถึงแม้จะบอกว่าเคลียร์กันได้แล้วก็เถอะ แต่เชื่อว่ายังมี "รอยร้าว" อยู่ลึกๆ!
ยัง มีเรื่องย้ายสนามบินดอนเมืองกลับไปสุวรรณภูมิที่ตอนแรกนายกฯมาร์คตั้งท่าไม่ ยอมให้ย้าย ยื้อกันอยู่พักใหญ่ สุดท้ายนายโสภณ ซารัมย์ ก็ย้ายกลับไปสุวรรณภูมิจนได้
พอมาถึงโครงการรถเมล์ 4 พันคัน ตอนแรกๆ เข้าใจว่าพรรคประชาธิปัตย์คงไม่อยากโดนประณามว่ากลืนน้ำลายตัวเอง ก็เลยต้องคัดค้านพอเป็นพิธี
แต่ทำไปทำมา กลับกลายเป็นว่าพรรคประชาธิปัตย์จะโยนโครงการหลายหมื่นล้านนี้ให้กรุงเทพมหานครรับไปดูแลแทน
พรรคภูมิใจไทยซึ่งดูแลโครงการนี้มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ไม่ยอมให้ใครหยิบชิ้นปลามัน เอาคืนพรรคประชาธิปัตย์ทันควัน
ฮึ่ม ตรวจสอบโครงการเช่าที่ดินสาธารณะไร่ละ 10 บาทของกระทรวงมหาดไทยที่นายถาวร เสนเนียม ดูแลอยู่ ให้เหตุผลว่าอาจมีนายทุนอยู่เบื้องหลังสวมรอยชาวบ้านไปเช่าที่ดิน
ดีไม่ดีอาจจะเกิดเรื่องอื้อฉาวซ้ำรอยส.ป.ก.4-01
ความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทยช่วงนี้ซัดกันนัวเนีย หากหาทางลงดีๆ ไม่ได้ก็คงต้องแตกหัก
และถ้าพรรคภูมิใจไทยถอนยวงออกไปจริงๆ พรรคเพื่อไทยก็ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ
ทั้ง 2 พรรคคงรู้ปัญหานี้ดีว่าการแตกหักไม่เป็นผลดีทั้ง 2 ฝ่าย เพราะช่วงเวลานี้ยังไม่เหมาะให้ยุบสภาเลือกตั้งใหม่
รัฐบาลเพิ่งตั้งไข่ หลักยังไม่มั่น งบประมาณยังไม่ออก ข้าราชการยังไม่ได้ย้าย
ทางออกที่ดีที่สุดคือการเจรจาแลกผลประโยชน์กัน!?
สุดท้ายก็ออกมาแบบที่เห็นกันอยู่ "เทพเทือก" ยอมเซ็นอนุมัติให้โครงการรถเมล์ 4 พันคันเข้าครม.
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าภูมิใจไทยก็ไม่ติดใจโครงการเช่าที่ดินสาธารณะแล้ว
แต่ปัญหายังไม่จบแน่นอน
ประชาธิปัตย์ต้องตอบสังคมที่ยังคาใจให้ได้ หากโครงการนี้ผ่านครม.จริงๆ

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จิตร ภูมิศักดิ์


จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 ต. ประจันตคาม อ. ประจันตคาม จ. ปราจีนบุรี — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ต. บ้านหนองกุง อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร) เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด
จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
การศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น
ถึงปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่น ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด
แนวคิดและการต่อสู้
ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496. ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน. ผลก็คือ ระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน. ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทรศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกให้ออก เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป. จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา และถูกกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ที่ ตำบลบ้านหนองกุง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนครผลงาน
จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง. ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว. ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้, จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน. แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์.
งานเขียนชิ้นเด่น
หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519*
หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์")
หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"*
หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์"
หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย"
หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524
หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526
หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด"
เพลง "ภูพานปฏิวัติ"
เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย"
บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์*
ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

ข้อมูลจากวีกิพีเดีย

แสงดาวแห่งศรัทรา



เพลงแสงดาวแห่งศรัทรา
พร่างพรายแสง ดวงดาวน้อยสกาว
ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
ดั่งโคมทองผ่องเรืองรุ้งในหทัย
เหมือนธงชัยส่องนำจากห้วงทุกข์ทน
พายุฟ้า ครืน ข่มคุกคาม
เดือนลับยามแผ่นดินมึดหม่น
ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน
ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย
ขอเยาะเย้ย ทุกข์ยาก ขวากหนามลำเค็ญ
คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
แม้ผืนฟ้ามึดดับเดือนลับละลาย
ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
ดาวยังพรายอยู่จน.........ฟ้ารุ่งราง


คำร้องทำนองโดย จิตร ภูมิศักดิ์
เสียงเพลงประกอบโดย วง กรรมมาชน ชุด 2

คืบหน้า... สื่อเสื้อแดง


จาตุรนต์ ฉายแสง

แกนนำเสื้อแดงตบเท้าร่วมงานระดมทุนเปิดตัว หนังสือพิมพ์คนเสื้อแดง ย้ำเจตนารมณ์ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ไม่บิดเบือน เคียงคู่ เดอะเรดนิวส์

เมื่อเวลา 18.00 น.ที่ผ่านมา (30 พ.ค.)ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ชั้น 6 ศูนย์กลางค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว กลุ่มคนเสื้อแดง นำโดย นายเอกสิทธิ์ หมวดทองบรรณาธิการบริหารและเจ้าของหนังสือพิมพ์คนเสื้อแดง ได้จัดงานเลี้ยงโต๊ะจีน 150 โต๊ะระดมทุนในราคาโต๊ะละ 5,500 บาทและเปิดตัวหนังสือพิมพ์คนเสื้อแดงอย่างเป็นทางการ โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นประธานกล่าวเปิดตัวหนังสือและบรรดาแกนนำ นปช. อาทิ นพ.เหวง โตจิราการ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และนายชูพงษ์ ถี่ถ้วน มาร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่ง

ทั้งนี้นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เป็นความจำเป็นที่ผู้รักประชาธิปไตยต้องเร่งทำสื่อของตัวเองออกมาเพื่อให้ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องกับประชาชนทั่วประเทศ ในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย เนื่องจากที่ผ่านมาสื่อกระแสหลักต่างนำสนอข้อมูลที่บิดเบือนไม่ตรงกับความ เป็นจริงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจขบวนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยผิดไป สำหรับหนังสือพิมพ์คนเสื้อแดง ถือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการเปิดตัวอย่างทางการ เป็นรายที่ 2 ต่อจากหนังสือพิมพ์เดอะเรดนิวส์ของนายวิบูลย์ แช่มชื่น อดีต สว.กาฬสินธุ์ และนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยจัดพิมพ์ขนาดบอร์ดชีต จำนวน 16 หน้า พิมพ์ปก 4 สี เป็นจัดจำหน่ายรายเดือน ผ่านระบบสมาชิก ในราคาฉบับละ 35 บาท

จาก ไทยรัฐ 3/5/2552

วันชาติไทย



24 มิถุนายนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบอารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี



วันชาติ คือวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยมากมักจะถือเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย วันชาตินั้นมักจะเป็นวันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ หรือวันที่มีเอกราชในรัฐ (หรือได้รับเอกราชคืนจากผู้ยึดครอง) นอกจากนี้ยังอาจใช้วันที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เป็นวันชาติก็ได้

ความสำคัญของวันชาติในแต่ละประเทศนั้นย่อมแตก ต่างกันไป บ้างก็เห็นว่ามีความสำคัญมาก บ้างก็ไม่เน้นความสำคัญมากนัก เช่น ในประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ขณะที่ประเทศอังกฤษไม่สู้จะฉลองอย่างเอิกเกริกมากนัก นอกจากนี้วันชาติในบางประเทศอาจเปลี่ยนได้ตามเหตุการณ์สำคัญ

วันชาติของไทย
วัน ชาติของประเทศไทย เดิมคือวันที่ 24 มิถุนายน อันเป็นวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยจากระบอบราชาธิปไตยมา เป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 ทั้งนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในรัฐบาล พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา วันที่ 24 มิถุนายน จึงเป็นวันชาติของไทยนับแต่นั้นมา

อย่างไรก็ตาม วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันชาติ” ของไทยอยู่ได้นานเพียง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า

ด้วย คณะรัฐมนตรีได้ พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติ ต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น

แม้ ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิม ฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เองคณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย

โดยปัจจุบันวันชาติของไทยมีนัยแห่งการเฉลิมฉลองไปในทางเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ มากกว่าการแสดงออกในทางการเมืองถึงสถาบันชาติ...

คัดตัดตอนมาจาก ไทยอีนิวส์
2-5-52