ฮุนเซนจวกเละ มาร์ค-กษิต ดูหมิ่นกัมพูชา
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา"สมเด็จฮุน เซน"ฉุน"อภิสิทธิ์-กษิต"ดูหมิ่นกรณีไม่ส่งตัว"ทักษิณ"ลั่นไม่มีความสุข หากทั้งสองยังอยู่ในอำนาจ ระบุอีกทำงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีไทยยาก
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อช่วงค่ำวันที่ 30 พ.ย.ว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกมาวิจารณ์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ระบุว่า ทั้งสองคน ดูหมิ่นกัมพูชากรณีไม่ยอมส่งมอบตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ และว่า กัมพูชาจะไม่มีความสุขเลย ถ้านายอภิสิทธิ์ และนายกษิต อยู่ในอำนาจ ทั้งนี้การวิจารณ์ผู้นำไทย เกิดขึ้นระหว่างสมเด็จฮุน เซน ขึ้นกล่าวในพิธีการระดับจังหวัดแห่งหนึ่งซึ่งข่าวไม่ระบุสถานที่แน่่ชัด
สม เด็จฮุน เซน เผยต่อไปว่าเขาไม่ใช่ศัตรูของคนไทย แต่นายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศของไทย ดูถูกกัมพูชาอย่างมาก โดยยังยืนยันจะไม่ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ฝ่ายไทย เพราะคดีที่ถูกตัดสินผิด เป็นคดีที่มีการเมืองเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผู้นำกัมพูชา ยังกล่าวตอบโต้อย่างรุนแรงเรื่องที่ไทยขู่จะปิดพรมแดนด้วยว่า ถ้าคุณเป็นคนงี่เง่าและอยากสูญเสียก็จงได้โปรดปิดพรมแดนเถิด
ผู้นำ กัมพูชา ยังเผยด้วยว่า เขาได้แจ้งนายอภิสิทธิ์ว่า กัมพูชา ขอยกเลิกข้อตกลงที่ฝ่ายไทยจะให้กู้เงิน1,400 ล้านบาทเพื่อนำไปสร้างถนนจากพรมแดนไทยและจะทบทวนการกู้เงินอื่นๆของไทยด้วย และยังได้แจ้งต่อนายอภิสิทธิ์ อีกว่าเขาและประชาชนชาวกัมพูชารู้สึกเจ็บปวด เมื่อได้ยินตอนที่พวกคุณกล่าวถึงเรื่องที่ว่าจะยุติการช่วยเหลือและระงับ เงินกู้ ตอนนี้ ขอให้เลิกพูดลักษณะนี้ได้แล้ว เพราะเป็นคำหยาบคายและเด็กๆพูดกัน เท่าที่เขาทำงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีไทยมา 10 คน นายอภิสิทธิ์ เป็นคนที่ทำงานด้วยยากที่สุด.
ไทยรัฐออนไลน์
* โดย ทีมข่าวต่างประเทศ
* 30 พฤศจิกายน 2552, 20:50 น.
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
“เอนก” ที่มีรากเหง้า-เนื้อในจากพรรคประชาธิปัตย์
มีการปล่อยข่าวเพื่อหาข่าวจากอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย เปิดทางให้ “ขุนพล” จากพรรค การเมืองอื่นไหลลื่นเข้าสังกัดตามเกมเก่า
เป็นการปล่อยข่าวเพื่อ “ทุบหุ้น” ที่มีอนาคตบนกระดานที่ชื่อ “ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์”
เป็น “เอนก” ที่มีรากเหง้า-เนื้อในจากพรรคประชาธิปัตย์ผ่านไปแตกกอในพรรคมหาชน และเคยต่อยอดให้กับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และแต่งกิ่งในนามกลุ่มการเมืองหัวกะทิ “กลุ่มรักษ์ไทย”
เมื่อห่างหายจากวงการเมือง “เอนก” ไปต่อยอดในวงวิชาการ ผลิตงานใน “เนื้อเดิม” อันเป็นจุดก่อเกิดก่อนมา งอกเมล็ดงามในพรรคการเมือง
ทั้งงานวิจัยเกี่ยวกับ “ประชานิยม” หรือ “อภิวัฒน์ท้องถิ่น” อันเป็นการสำรวจทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้างท้องถิ่นให้เป็นฐานใหม่ของ ประชาธิปไตย
และผลิตงานวิชาการต่อยอดจากประสบการณ์ตรงจากวงการเมือง ในเนื้อหาที่ว่าด้วย “แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน สร้างการปกครองท้องถิ่น ให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย”
กลับจากเวทีปราศรัยหาเสียงในฐานะ “หัวหน้าพรรค” ไปเป็นนักวิชาการสาธารณะ “เอนก” ขึ้นเวทีวิชาการ กล่าวถึง “โอกาสของท้องถิ่น วาระการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติ”
ระหว่างที่ผลิตผลงานวิชาการ “เอนก” เดินสายพบปะผู้คน-ค้นคว้า ความจริงและข้อมูลประกอบการอภิปราย จึงได้ปฏิสัมพันธ์กับคนการเมืองหลายสาย-หลายขั้ว
ชื่อ “เอนก” จึงถูกดึงไปพัวพันทั้งกับ “พรรคการเมืองใหม่” และ “ข่าว” ล่าสุดมีคนวงใน “พรรคเพื่อไทย” เปิดทางไว้ว่า เขาจะเข้าไปเป็น “ที่ปรึกษา” ของ “ประธานที่ปรึกษา”
คนแวดวงการเมืองจึงสนใจไถ่ถาม ความจริงจากปากของ “เอนก”
เขาบอกว่า “เขียนไว้ได้เลย ขีดเส้นใต้ไว้ได้เลยว่า ณ ปลายฝนต้นหนาวของปี 2552 นี้ ไม่มีชื่อ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ใน พรรคเพื่อไทยเป็นแน่แท้ แต่ฤดูร้อนปีหน้าค่อยมาว่ากันอีกที”
“เอนก” เป็นที่สนใจของทุกพรรค ทุก “หัว” แม้กระทั่ง “นายหัว” ชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาใหญ่แห่งค่ายพรรค ประชาธิปัตย์ ยังไถ่ถาม-ชักชวนให้คืนรัง ดังเดิม
ส่วนความสัมพันธ์อันดีเมื่อครั้งอดีตกับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ที่ย้ายสังกัดไปประกบอยู่กับ “บรรหาร ศิลปอาชา” แห่งค่ายชาติไทยพัฒนา ณ วันนี้ก็ยังแนบแน่นเช่นเดิม
เช่นเดียวกับ “คอนเน็กชั่นพิเศษ” กับ “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ผู้มากบารมีที่ยังคงมี “เอนก” เป็นแขกประจำในมื้อค่ำ ไม่สร่างซา-ห่างหาย
ถามว่า “อาจารย์เอนก” สนใจร่วมหอลงโรง ร่วมหัวจมท้าย กับพรรคไหน และจะกลับจากเวทีวิชาการเข้าสู่วงจรการเมืองอีกหรือไม่
คำตอบคือ “ผมสนใจการคุยกับทุกพรรค ทุกฝ่าย เพื่อให้ก่อเกิดนวัตกรรมทางการเมืองรูปแบบใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ”
“ตอนนี้กำลังหาทางออกด้วยการทำวิจัย เขียนหนังสือชื่อ จุดคานงัดนำสังคมไทยพ้นวิกฤต ไม่มีอะไรเป็นเรื่องฝัก-ฝ่าย” ในฐานะอาจารย์เขาคร่ำเคร่งทำวิจัย-จัดวงเสวนา-ทำโฟกัสกรุ๊ป และชักชวนทุกขั้ว- ทุกฝ่ายมาร่วมวง
เป็นงานวิจัยที่ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่บนหิ้ง ทิ้งไว้บนหอคอยงาช้าง แต่กำลังนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวงวรรณกรรม-วิชาการ โดยสำนักพิมพ์ “มติชน” เร็ว ๆ นี้
ประเด็นที่ผู้คนสนใจไถ่ถาม “เอนก” มากไม่แพ้การเลือกฝ่าย คือ พบปะ-คบหากับ “บิ๊กจิ๋ว” ใกล้ชิดขนาดไหน คำตอบที่ได้ คือ เป็นการพูดคุยเรื่องพื้นฐานการปกครองส่วนท้องถิ่น
เขาบอกว่า การคบหา-กินข้าวคาว-หวานกับนายกรัฐมนตรี-อดีตนายกรัฐมนตรี นั้นมีตลอดทุกยุคทุกสมัย
“จริง ๆ แล้วผมก็คุยกับคนได้หลายฝ่าย ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล กับนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผมก็เคยพบรับประทานอาหารด้วยกัน เช่นเดียวกับอดีตนายกฯอานันท์ ปันยารชุน ก็พบปะกัน แม้กระทั่งท่านอดีตนายกฯบรรหาร ศิลปอาชา ก็เคยคบหาร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน”
“แต่คนการเมืองที่พบปะกับผมมากที่สุด ไปเที่ยวกันบ่อยที่สุดชื่อ สุริยะใส กตะศิลา…ในฐานะลูกศิษย์-ลูกหา” อาจารย์เอนก เล่ารายละเอียดเส้นทางคน-เส้นทางการเมือง
เมื่อ “บิ๊กจิ๋ว” จุดพลุ “นครรัฐปัตตานี- นครปัตตานี” ดังสนั่น-สว่างไสวไปทั่วกระดานการเมือง ในฐานะที่เป็นกูรู-รัฐศาสตร์ “เอนก” อธิบายปรากฏการณ์
“การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องใช้แพ็กเกจใหญ่ ใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่งไม่ได้ การพูดถึง “นคร” รูปแบบการปกครองพิเศษ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแพ็กเกจใหญ่ ซึ่งมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า หากพื้นที่ใดมีความพร้อม มีเจตนาอยากปกครองรูปแบบพิเศษ ก็สามารถทำได้โดยให้อยู่ในกฎหมาย”
“ในยุครัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าฯ มีพระราชดำริจะนำเอาพื้นที่ชะอำ หัวหิน เป็นเขตปกครองพิเศษ เป็นเขตรักษาชายฝั่งทะเลตะวันตก แต่ก็ยังไม่ทันได้ทำสำเร็จก็เกิดเหตุการณ์ 2475 เสียก่อน” อาจารย์เอนกย้อนความ
“ส่วนข้อเสนอที่จะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพิเศษ โดยอยู่ในวัฒนธรรมแบบมุสลิมในแบบไทย ซึ่งมีเชื้อสายมาจากมาเลเซียที่มีการนับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด”
“การจัดเขตปกครองพิเศษ จะทำให้เขาได้ปกครอง-แก้ปัญหาของตัวเองได้มากขึ้น”
ข้อย้อน-แย้งที่พลพรรคประชาธิปัตย์รุมโต้-ต้าน ภายใต้หลักคิด-กรอบองค์กร “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้” โดยเรียกชื่อดั้งเดิมยุคสมัย “ชวน หลีกภัย” ที่เรียกชื่อย่อว่า ศอบต. ถูก “ดร.เอนก” วิพากษ์
ด้วยการหยิบยกโครงสร้างอำนาจมาวาดเค้า-วางเรื่อง-เห็นภาพว่า “การตั้งเขตการปกครองพิเศษ โดยมีศูนย์ ศอบต.เป็น ผู้บริหารพื้นที่นั้น เป็นการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางยิ่งกว่ารวมศูนย์เสียอีก เพราะเป็นการใช้ผู้บริหารส่วนกลางเข้าไปรวมศูนย์ที่ส่วนกลางสำนักนายก รัฐมนตรีในการแก้ปัญหาท้องถิ่น”
“ที่ผ่านมารัฐไทยได้พยายามแก้ปัญหาโดยส่วนกลางจนหมดเงิน หมดทรัพยากร หมดสติปัญญาไปเป็นจำนวนมาก ก็แก้ปัญหาไปได้ไม่มากเท่าไร ยามนี้หากใครคิดที่จะใช้ท้องถิ่นแก้ปัญหาท้องถิ่น ก็ถือว่าเป็นการสะท้อนเจตนารมณ์ของชาวบ้านอย่างแท้จริง”
ในฐานะเจ้าความคิดเรื่องการกระจายอำนาจที่ยึดทางออกด้วย “ท้องถิ่น” จึงเห็นว่า การกระจายอำนาจเป็นเรื่องของทุกจังหวัด ทุกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องใส่ใจ ไม่ใช่เฉพาะเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
เขาเห็นว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคอีสาน ก็ควรมีโอกาสได้ปกครองแบบพิเศษ แบบพื้นเพภาคอีสาน”
อาจารย์เอนก ย้อนตำนานพรรค ประชาธิปัตย์ กับแนวคิดกระจายอำนาจว่า สมัยที่ “อภิสิทธิ์” เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำกับนโยบายการกระจายอำนาจ แต่ก็ยังไม่เกิดผล ดังนั้น หากจะ “คิดริเริ่ม” ตั้งแต่ตอนนี้ก็ยังสามารถทำได้
ข้อคิดเห็น ทิ้งทาย ท้าทาย ทั้งเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์
“การแก้ปัญหาที่ยุ่งยาก นอกจากจะทุ่มเทแรงกายแรงใจแล้วต้องมองหา นวัตกรรมทางความคิดใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาด้วย ปัญหาชายแดนใต้ โดยหลักต้องแก้ด้วยการเมือง”
ที่มา : http://www.wiseknow.com/blog/2009/11/09/3887/
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ใครทำเครียด
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6918 ข่าวสดรายวัน
ใครทำเครียด
คอลัมน์ เหล็กใน
กระทรวงต่างประเทศ แสดงความไม่พอใจที่สมเด็จฮุน เซน แต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ทางด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา
ด้วยการออกแถลงการณ์ระบุกัมพูชาแทรกแซงกิจการภายในของไทย ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของไทย ประกาศไม่ยอมส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ร้ายข้ามแดน
พร้อมกับระบุว่ากัมพูชาไม่สามารถแยกแยะออกจากความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้ ทำให้กระทบต่อความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ เนื่องจากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้หลบหนีคดีอาญา และยังคงมีบทบาททางการเมืองในประเทศอยู่
จึงจำเป็นต้องทบทวนสถานะความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ด้วยการเรียกตัว นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัคร ราชทูต ณ กรุงพนมเปญ กลับประเทศไทย
ทบทวนพันธกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา
ทบทวนความร่วมมือต่างๆ ที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการกับกัมพูชาด้วยความจำใจ โดยระบุว่ารัฐบาลไทยประสงค์มาโดยตลอดที่จะให้ความร่วมมือกับกัมพูชา เพื่อพัฒนาการอยู่ดีกินดีของชาวกัมพูชา เพื่อลดช่องว่างของประชาชนกัมพูชากับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
การออกแถลงการณ์ดังกล่าว แม้กระทรวงต่างประเทศจะปฏิเสธว่าไม่ถึงขั้นปิดชายแดน แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว
โดยเฉพาะชายแดนที่มีการติดต่อทางด้านการค้าระหว่าง 2 ประเทศทั้งหมด
แถมกองทัพยังสั่งเตรียมกำลังทหารพร้อม ณ ที่ตั้ง ก็ยิ่งตึงเครียดขึ้นไปอีก
ความจริง กัมพูชาไม่ได้เป็นประเทศแรกที่แต่งตั้งคนไทยเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ หรือร่วมวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.คลังหลายสมัย ก็เคยได้รับเกียรติจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาแล้ว
ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาค่อนข้างราบรื่น เพื่อประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ
แม้จะมีกรณีการบุกเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ แต่ก็ได้แก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจจนดีขึ้นตามลำดับ
แต่ความสัมพันธ์มามีปัญหาในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ กลับเลวร้ายถึงขนาดรบราฆ่าฟัน บาดเจ็บล้มตายกัน
ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ร่วมมือกลุ่มพันธมิตรใช้กรณีเขาพระวิหารมาเป็นเรื่องการเมือง
นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ แสดงท่าทีในเรื่องดังกล่าวอย่างไร รู้กันทั้งอาเซียน
โดยเฉพาะที่บอกจะทวงคืนเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
ที่สำคัญ ดันตั้ง นายกษิต ภิรมย์ ที่เคยขึ้นเวทีพันธมิตร เท้าสะเอว ชี้หน้าด่า สมเด็จฮุนเซน เป็นกุ๊ย เป็นไอ้นักเลงข้างรั้ว
ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศอีกต่างหาก
ขอบคุณข่าวสด
ใครทำเครียด
คอลัมน์ เหล็กใน
กระทรวงต่างประเทศ แสดงความไม่พอใจที่สมเด็จฮุน เซน แต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ทางด้านเศรษฐกิจ และที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา
ด้วยการออกแถลงการณ์ระบุกัมพูชาแทรกแซงกิจการภายในของไทย ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของไทย ประกาศไม่ยอมส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้ร้ายข้ามแดน
พร้อมกับระบุว่ากัมพูชาไม่สามารถแยกแยะออกจากความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้ ทำให้กระทบต่อความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ เนื่องจากพ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้หลบหนีคดีอาญา และยังคงมีบทบาททางการเมืองในประเทศอยู่
จึงจำเป็นต้องทบทวนสถานะความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ด้วยการเรียกตัว นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัคร ราชทูต ณ กรุงพนมเปญ กลับประเทศไทย
ทบทวนพันธกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายกัมพูชาในช่วงที่ผ่านมา
ทบทวนความร่วมมือต่างๆ ที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการกับกัมพูชาด้วยความจำใจ โดยระบุว่ารัฐบาลไทยประสงค์มาโดยตลอดที่จะให้ความร่วมมือกับกัมพูชา เพื่อพัฒนาการอยู่ดีกินดีของชาวกัมพูชา เพื่อลดช่องว่างของประชาชนกัมพูชากับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
การออกแถลงการณ์ดังกล่าว แม้กระทรวงต่างประเทศจะปฏิเสธว่าไม่ถึงขั้นปิดชายแดน แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นแล้ว
โดยเฉพาะชายแดนที่มีการติดต่อทางด้านการค้าระหว่าง 2 ประเทศทั้งหมด
แถมกองทัพยังสั่งเตรียมกำลังทหารพร้อม ณ ที่ตั้ง ก็ยิ่งตึงเครียดขึ้นไปอีก
ความจริง กัมพูชาไม่ได้เป็นประเทศแรกที่แต่งตั้งคนไทยเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ หรือร่วมวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรมว.คลังหลายสมัย ก็เคยได้รับเกียรติจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมาแล้ว
ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาค่อนข้างราบรื่น เพื่อประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ
แม้จะมีกรณีการบุกเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ แต่ก็ได้แก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจจนดีขึ้นตามลำดับ
แต่ความสัมพันธ์มามีปัญหาในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ กลับเลวร้ายถึงขนาดรบราฆ่าฟัน บาดเจ็บล้มตายกัน
ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ร่วมมือกลุ่มพันธมิตรใช้กรณีเขาพระวิหารมาเป็นเรื่องการเมือง
นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ แสดงท่าทีในเรื่องดังกล่าวอย่างไร รู้กันทั้งอาเซียน
โดยเฉพาะที่บอกจะทวงคืนเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
ที่สำคัญ ดันตั้ง นายกษิต ภิรมย์ ที่เคยขึ้นเวทีพันธมิตร เท้าสะเอว ชี้หน้าด่า สมเด็จฮุนเซน เป็นกุ๊ย เป็นไอ้นักเลงข้างรั้ว
ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศอีกต่างหาก
ขอบคุณข่าวสด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)