"น้องทักษิณ"มั่นใจพี่ย่องมาเขมร น.ศ.พม่าไม่พอใจยกแม้วเท่า"ซูจี" พท.ผวาพลิกเกมชาตินิยมตี"แม้ว"
"น้อง ทักษิณ"มั่นใจพี่ย่องมาเขมร พท.ผวาพลิกเกมชาตินิยมตี"แม้ว" น.ศ.พม่าไม่พอใจยก"ทักษิณ"เท่า"ซูจี" อดีตนายกฯ บอกมีผู้นำอาเซียนโทรบ่นรัฐบาลไทยจัดพิธีการเยอะเหนื่อยมากยันไม่ใช่"ฮุน เซน" ปัดชักใยเบื้องหลังผู้นำเขมรเป็นเกียรติถูกยกเทียบ "ซูจี" อัดลูกน้องที่เคยไว้ใจเอาเงินไปใช้ยังทิ้งกันลงท้า"มาร์ค"ยุบสภา
"แม้ว"บอกมีผู้นำอาเซียนโทรบ่นรัฐบาลไทยจัดพิธีการเยอะ
ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทวิตข้อความผ่านเว็บไซต์ Twitter.com ว่า "เมื่อคืนนี้มีผู้นำท่านหนึ่งที่ไม่ใช่ท่านฮุน เซ็นโทรมาบ่นว่างานประชุมครั้งนี้เหนื่อยมาก เพราะเจ้าภาพชอบพีอาร์ตัวเอง เลยมีพิธีการเยอะไปหน่อย รัฐบาลบอกว่าผมใช้ท่านฮุน เซ็นออกมาพูดให้ผมโถ..ผม ต้องเจียมตัวครับ สถานะอย่างผมวันนี้อย่าว่าจะไปใช้ผู้นำประเทศอื่นเลยแม้กระทั่งลูกน้องที่ เคยไว้ใจ ลูกน้องที่เอาเงินผมไปใช้ยังทิ้งผมเลย ผมจะไปใช้ใครได้ มีแต่คนที่เขาทนไม่ได้ต่อความไม่เป็นธรรมที่ผมถูกรังแกอย่างทุเรศๆเท่านั้น ที่ออกมาต่อสู้ให้ คนที่ออกมาสู้ให้ผมมีหลายระดับหลายฐานะและการศึกษาแต่รับรองได้คนเหล่านี้มี จิตใจเป็นธรรมไม่เชื่อลองเข้าไปดูในกลุ่มคนเสื้อแดงก็จะรู้ความจริงครับ เห็นคุณอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์ว่าพร้อมยุบสภาและเลือกตั้งคราวหน้าจะสูสีเพื่อ ไทยผมเลยอยากจะขอให้ยุบเลยครับเพราะตอนนี้ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่แล้วครับ"
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังทวิตข้อคววามตอบแฟนคลับถึงความรู้สึกที่ถูกสมเด็จฯฮุนเซ็น นำไปเปรียบเทียบกับนางอองซาน ซูจี ว่า “รู้สึกเป็นเกียรติครับ จริงๆก็คือเป็นผู้มาจากประชาธิปไตยโดยประชาชนแต่ถูกบี้โดยอำนาจเผด็จการและ ใช้กระบวนการดูเสมือนยุติธรรมอธิบาย”
นอกจากนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ยังทวิตข้อความถึงกรณีการใช้งบประชาสัมพันธ์ในโครงการต่างๆของรัฐบาลว่า “เป็นรัฐบาลที่ใช้งบหลวงประชาสัมพันธ์ตัวเองเยอะที่สุดตั้งแต่เป็นประเทศไทย มาครับ สมัยผมถ้าจำไม่ผิดปีๆหนึ่งอยู่ราวๆ6-700 ล้านบาทครับ
เด็ก"แม้ว" ขู่เปิดข้อมูลเท็จฟ้องแน่
ด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์ออกมาระบุว่า จะทำหนังสือหรือเอกสารเปิดเผยผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสมเด็จฯฮุน เซน ขอบอกว่าเก่งไม่กลัว กลัวช้า ขอให้รีบทำออกมาเลย เพราะที่ผ่านมา
แม้ พ.ต.ท.ทักษิณจะไปทำธุรกิจโทรทัศน์ในกัมพูชา ก็ไปในฐานะนักธุรกิจ ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ ไม่ได้ไปร่วมทุนกับครอบครัว หรือตัวสมเด็จฯฮุน เซน เอง หากเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเท็จออกมาจะฟ้องร้องทันที และอีก 1-2 วันจะไปทำเนียบรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอข้อมูลที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อนในกัมพูชา หากมีข้อมูลเป็นเท็จก็ฟ้องร้องดำเนินคดีเช่นกัน
"ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้สมเด็จฯฮุน เซน เลือกระหว่างประเทศไทยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดของ ปชป.และนายอภิสิทธิ์มาก เพราะนายอภิสิทธิ์เองไม่ใช่ประเทศไทย แต่เป็นเพียงโชเฟอร์ที่มาแทนโชเฟอร์ที่ถูกระบอบอำมาตย์ถีบออกไปจากการรัฐ ประหาร หากให้สมเด็จฯฮุน เซน เลือก ก็ต้องเลือกไทยอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายความเลือกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ จุดเริ่มต้นปัญหาคือ นายอภิสิทธิ์มีโอกาสเลือกระหว่างประเทศไทยกับนายกษิต ภิรมย์ แต่นายอภิสิทธิ์กลับเลือกนายกษิต ผู้เป็นปฏิปักษ์ทางความคิดกับประเทศเพื่อนบ้าน" นายนพดลกล่าว
นายนพดล กล่าวว่า ที่นายอภิสิทธิ์ไปใช้คำพูดว่า "เบี้ย" หรือ "เหยื่อ" กับสมเด็จฯฮุน เซน ซึ่งการพูดเช่นนี้สถาบันทางการทูตชั้นนำของโลกไม่มีใครสอนกัน เพราะเป็นการทูตแบบชี้หน้าด่าเพื่อนไม่เป็นผลดีกับคนไทย รัฐบาลชุดนี้ทำให้ความสัมพันธ์ทางการทูตกับเพื่อนบ้านดิ่งเหวลงไป
น้องทักษิณมั่นใจพี่ย่องมาเขมร
ขณะที่ นายพายัพ ชินวัตร น้องชาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์จัดทำข้อมูลชี้แจงประชาชนถึงความเชื่อมโยง พ.ต.ท.ทักษิณกับสมเด็จฯฮุน เซน ว่า รัฐบาลคิดผิด เพราะหากรัฐบาลทำอย่างนั้นจะส่งผลให้สัมพันธ์ทั้งในและนอกประเทศย่ำแย่ลง พ.ต.ท.ทักษิณและสมเด็จฯฮุน เซน เป็นเพื่อนกันมานานก่อนเป็นนายกฯ ในสมัยที่ไปลงทุนสัมปทานบริษัทไอบีซี ที่กัมพูชา ขอร้องว่าอย่านำหมวกการเมืองไปสวมให้เขา "ถ้ามีเพื่อน ผมชวนเพื่อนว่าจะมาเที่ยวบ้านเมื่อไหร่ถามว่าเสียหายไหมก็ไม่ เพราะเป็นเพื่อนกัน แต่รัฐบาลคิดอะไรขนาดนั้นจะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งที่เรื่องนี้เป็นแค่คดีใบขับขี่เท่านั้น"
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะไปกัมพูชาตามคำเชิญหรือไม่ นายพายัพกล่าวว่า ถ้ารัฐบาลยังทำเช่นนี้ต่อไป พ.ต.ท.ทักษิณจะไปกัมพูชาอย่างแน่นอน ซึ่งมีหลายเหตุผลที่จะไป
เมื่อถามว่า นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พท. ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับประเทศไทยภายใน 60 วัน นายพายัพกล่าวว่า อาจจะเป็นจริง แต่เวลาอาจจะเร็วหรือช้ากว่านั้นก็ได้ เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย ส่วนเรื่องกฎหมายนั้นว่าไปตามกระบวนการ สู้คดีกันไป แต่เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาแล้วความปั่นป่วนในบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร วันนี้ต้องถือว่ารัฐบาลเดินเกมผิด ชาตินี้ทั้งชาติก็จะสมานฉันท์ไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่เห็นใจหัวใจสีแดงของประชาชน
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ พล.อ.ชวลิตใช้สัมพันธ์อันดีส่วนตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์พยายามบิดเบือนเจตนา ทั้งที่การไปพูดคุยสมเด็จฯฮุน เซน ถือว่าดีมาก ในต่างประเทศ อดีตนายกฯหรืออดีตประธานาธิบดีที่มีความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศไปพบผู้ นำประเทศ รัฐบาลมีแต่ขอบคุณ ยินดี
พท.ผวาพลิกเกมชาตินิยมตี"แม้ว"
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะทำงานด้านยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แจ้งว่า ที่ประชุมวิตกกังวลในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและสมเด็จฯฮุน เซน หลังประเมินว่า ปชป.กำลังปลุกกระแสชาตินิยมและให้ข่าวพุ่งเป้าไปที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนชักศึกเข้าบ้าน ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งจะไปสอดคล้องกับสิ่งที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษออกมากล่าวถึงเรื่องทรยศชาติก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นความเสียเปรียบของ พท. ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่าพรรคต้องเร่งออกมาแถลงข่าวและตอบโต้ต่อสาธารณะโดย ประเด็นหลักที่จะใช้ตอบโต้คือความล้มเหลวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียน
"รวมถึงประเด็นที่ผู้นำสูงสุดจากประเทศหนึ่งไม่เข้าพักในบ้านพักที่ รัฐบาลไทยจัดรับรอง แต่ได้พักที่บ้านพักตากอากาศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ แทน ซึ่งถือเป็นการหักหน้ารัฐบาลไทย และผู้นำประเทศท่านนี้ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเมื่อครั้งที่เดินทางไปเยือนประเทศดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่านก็ได้จัดบ้านพักรับรองภายในเขตพระราชวังให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ" แหล่งข่าวจากพรรคเพื่อไทยกล่าว
น.ศ.พม่าไม่พอใจยกแม้วเท่า"ซูจี"
ที่ จ.ตาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวพม่าซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง นักศึกษาพม่า และประชาชนทั่วไปตามแนวชายแดนไทย-พม่า และในพื้นที่ อ.แม่สอด ต่างไม่พอใจที่สมเด็จฯฮุน เซน ออกมาเปรียบเปรย พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักสู้เพื่อประชาธิปไตยเทียบชั้นนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดี และนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า เพราะส่วนใหญ่เห็นว่าไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่สามารถเคลียร์ตัวเองเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังไม่เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หากจะต่อสู้ต้องกลับมาในประเทศไทย
นายหม่อง หม่อง ยี อดีตนักศึกษาพม่า กล่าวว่า นางออง ซาน ซูจี เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่อยู่ในประเทศตลอด ไม่เคยคิดออกนอกประเทศ และต่อสู้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง ต่างกับ พ.ต.ท.ทักษิณมาก จะมาเทียบชั้นกันไม่ได้
จากมติชน...27/10/52
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552
“ฮุนเซน” รับให้ที่พักทักษิณจริง!! ตบหน้าอำมาตย์ เสื้อแดงรักเป็นล้าน ทำไมเพื่อนคนนี้จะรักทักษินไม่ได้
นนี้ (23 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 16.30 น.ที่ท่าอากาศยานหัวหิน (บ่อฝ้าย) สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมด้วยภริยาและคณะ ได้เดินทางถึงประเทศไทยด้วยเครื่องบินพิเศษถึงประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมประเทศคู่เจรจา ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมี นายธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีเกียรติยศให้การต้อนรับ หลังจากนั้น สมเด็จฮุนเซน ได้เดินทางต่อมายังโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ซึ่งเป็นโรงแรมที่พัก
ต่อมาเวลา 16.45 น.ที่โรงแรมดุสิตธานี สมเด็จฮุนเซน ให้สัมภาษณ์เป็นภาษากัมพูชา ผ่านล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยให้ สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะให้ที่พักพิงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีสถานะเป็นนักโทษหนีคดีจากประเทศไทย โดยใน ฮุนเซน ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถที่จะอยู่ในกัมพูชา ในฐานะแขกของกัมพูชา และจะเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้ตนอีกด้วย เมื่อถามว่า เหตุใดจึงตัดสินใจเช่นนั้น สมเด็จฮุนเซน กล่าวว่า เป็นคำถามที่อาจจะมีคำตอบได้หลายอย่าง และยังไม่ทราบว่าใครจะเป็นผู้ที่ตอบได้ทั้งหมด แต่คนคิดว่าเป็นเหตุผลทางด้านมนุษยชน
เมื่อถามต่อว่า หมายถึงเป็นการช่วยอุปการะเพื่อนฝูงกันใช่ไหม สมเด็จฮุนเซน กล่าวว่า เรื่องภายในของประเทศไทย ควรจะเป็นเรื่องของคนไทย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่กัมพูชา จะเข้าไปแทรกแซง อย่ามากล่าวหาฮุนเซนเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ในเรื่องการเมืองภายในประเทศ การที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะมาที่กัมพูชามีการชุมนุมของพวกเสื้อแดงอยู่แล้ว
ต่อคำถามว่าการที่เชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ มายังประเทศกัมพูชานั้น ถือเป็นการแทรกแซงเรื่องภายในของไทยด้วยหรือเปล่า สม เด็จฮุนเซน กล่าวว่า ไม่เป็นการแทรกแซง แต่เป็นสิทธิ เป็นอธิปไตยของประเทศกัมพูชา ที่จะให้หลายคนพูดถึง อองซาน ซูจี ในประเทศพม่า แต่ไม่เห็นมีใครพูดถึงเคราะห์กรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ เลย การที่กัมพูชาทำเช่นนั้น ไม่ถือเป็นการแทรกแซง เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา สม รังษี ได้เดินทางมาประเทศไทย และมาพูดให้ร้ายประเทศกัมพูชา และทีวีของประเทศไทยได้กล่าวถึง อันนี้คล้ายๆ กับน้ำหยดเล็กๆ เท่านั้น อันนี้เป็นศลีธรรม และเป็นสิ่งที่คนไทยควรจะให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
“คน ไทยเป็นล้านๆ เสื้อแดงก็เป็นผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วทำไมข้าพเจ้าซึ่งเป็นเพียงเพื่อน ซึ่งอยู่ห่างไกลจะไม่สามารถสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ หากไม่มีการปฏิวัติรัฐประหารสิ่งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น” สมเด็จฮุนเซน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถาม ย้ำว่า แถลงการณ์ฉบับล่าสุด ที่ระบุว่า ทางกัมพูชาจะให้ที่พำนักแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย และจะไม่ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ให้กับทางการไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน รวมถึงจะแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจนั้นเป็นเรื่องจริงใช่หรือไม่ สมเด็จฮุนเซน กล่าวยอมรับว่า แถลงการณ์ล่าสุดเป็นเรื่องจริง
http://www.prachataiwebboard.com/webboard/wbtopic2.php?id=847398
“แจ๋วริมจอ”เปิดจม.ประชาชน ด่า“รบ.ปัญญาอ่อน”ผลาญงบเกณฑ์คนเข้าแถวดู“ธงชาติไทย”ถูกชักลงจากยอดเสา !
“เสียดายงบ”
"เรียนคุณแจ๋วริมจอที่นับถือ ติดตามท่านมาตลอด เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วแต่ ประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ที่เห็นด้วยอย่างจริงแท้แน่นอนก็คือ ความอัปลักษณ์ทางความคิดของบางคนในรัฐบาลนี้
ก็เรื่องบังคับให้คนไทยต้องเคารพธงชาติตอน 6 โมงเย็น และขู่เข็ญให้โทรทัศน์ต้องถ่ายทอดสดกิจกรรมดังว่า
เวลา เพียงไม่กี่วินาที (ความยาวของเพลงชาติ) กับการต้องเกณฑ์คนนับพันมาทรมานกว่าจะได้ ถ่ายทอดสดนั้น มันคุ้มกันหรือไม่ก็ไปลองคิดเอาเอง
ผมเข้าใจความรู้สึกของรัฐบาลคณะนี้ ที่ต้องเดินนโยบาย "ความรักชาติ" และ "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อดูให้เห็นว่า ต้องการรวมคนไทยเป็นปึกแผ่น
แต่ที่ผ่านมาก็ยังทำไม่สำเร็จ เพราะทุกกิจกรรมมันเหมือนหลอกตัวเอง หลอกคนไทยให้เพ้อฝันในนามธรรมเท่านั้น
ผมสอบถามเพื่อนๆทุกคนว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่เขาบังคับเราให้เคารพธงชาติ 6 โมงเย็น หรือเที่ยวเกณฑ์คนไปร่วมกิจกรรมตากแดดตากฝน
ปรากฏว่าเพื่อนทุกคนลงความเห็นเหมือนกันหมดว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเหมือนรัฐบาลไม่มีความจริงใจ ทำราวกับยุคเผด็จการในอดีต
อยากให้ลองทำโพลสำรวจความเห็นจากประชาชนอย่างเป็นธรรม ผมเชื่อว่าคนไม่เห็นด้วยจะมากกว่าแน่นอน
แล้วสำรวจให้ละเอียดด้วยว่า ที่ลงทุน ถ่ายทอดสดทุกวันนั้น คุ้มค่าเงินงบประมาณของประชาชนทั้งประเทศที่เอามาละลายเล่นหรือไม่
ที่แปลกประหลาดที่สุด น่าจะอยู่ที่วิธีการคิด เพราะแทนที่จะไปเคารพธงชาติ ชักธงชาติขึ้นเสาตอน 8 โมงเช้า เหมือนที่หน่วยราชการปฏิบัติ
แต่นี่กลับไปชักธงลงจากเสาตอน 6 โมงเย็น ทำให้ผู้คนที่ถูกเกณฑ์มา ทั้งผู้หญิงเด็กต้องเดือดร้อนในการเดินทางกลับบ้านตอนมืดค่ำ
เอางบประมาณที่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครั้งนี้ ไปเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส ยังได้ศรัทธาจากประชาชนมากกว่าเป็นไหนๆ"
"คนไทยเข้มแข็ง"
ครับ, จดหมายคุณตกค้างอยู่นาน แต่เรื่องเพลงชาติยังเป็นเรื่องเม้าท์ฮอตฮิตในทุกวงการ
จึงขอนำความเห็นทั้งหมดมาฉายซ้ำอีกที โดนใจหลายคนครับ!!
"แจ๋วริมจอ"
(ที่มา ไทยรัฐ ,19 ตุลาคม 2552)
"เรียนคุณแจ๋วริมจอที่นับถือ ติดตามท่านมาตลอด เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วแต่ ประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ที่เห็นด้วยอย่างจริงแท้แน่นอนก็คือ ความอัปลักษณ์ทางความคิดของบางคนในรัฐบาลนี้
ก็เรื่องบังคับให้คนไทยต้องเคารพธงชาติตอน 6 โมงเย็น และขู่เข็ญให้โทรทัศน์ต้องถ่ายทอดสดกิจกรรมดังว่า
เวลา เพียงไม่กี่วินาที (ความยาวของเพลงชาติ) กับการต้องเกณฑ์คนนับพันมาทรมานกว่าจะได้ ถ่ายทอดสดนั้น มันคุ้มกันหรือไม่ก็ไปลองคิดเอาเอง
ผมเข้าใจความรู้สึกของรัฐบาลคณะนี้ ที่ต้องเดินนโยบาย "ความรักชาติ" และ "ไทยเข้มแข็ง" เพื่อดูให้เห็นว่า ต้องการรวมคนไทยเป็นปึกแผ่น
แต่ที่ผ่านมาก็ยังทำไม่สำเร็จ เพราะทุกกิจกรรมมันเหมือนหลอกตัวเอง หลอกคนไทยให้เพ้อฝันในนามธรรมเท่านั้น
ผมสอบถามเพื่อนๆทุกคนว่า เห็นด้วยหรือไม่ที่เขาบังคับเราให้เคารพธงชาติ 6 โมงเย็น หรือเที่ยวเกณฑ์คนไปร่วมกิจกรรมตากแดดตากฝน
ปรากฏว่าเพื่อนทุกคนลงความเห็นเหมือนกันหมดว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเหมือนรัฐบาลไม่มีความจริงใจ ทำราวกับยุคเผด็จการในอดีต
อยากให้ลองทำโพลสำรวจความเห็นจากประชาชนอย่างเป็นธรรม ผมเชื่อว่าคนไม่เห็นด้วยจะมากกว่าแน่นอน
แล้วสำรวจให้ละเอียดด้วยว่า ที่ลงทุน ถ่ายทอดสดทุกวันนั้น คุ้มค่าเงินงบประมาณของประชาชนทั้งประเทศที่เอามาละลายเล่นหรือไม่
ที่แปลกประหลาดที่สุด น่าจะอยู่ที่วิธีการคิด เพราะแทนที่จะไปเคารพธงชาติ ชักธงชาติขึ้นเสาตอน 8 โมงเช้า เหมือนที่หน่วยราชการปฏิบัติ
แต่นี่กลับไปชักธงลงจากเสาตอน 6 โมงเย็น ทำให้ผู้คนที่ถูกเกณฑ์มา ทั้งผู้หญิงเด็กต้องเดือดร้อนในการเดินทางกลับบ้านตอนมืดค่ำ
เอางบประมาณที่ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำครั้งนี้ ไปเลี้ยงเด็กด้อยโอกาส ยังได้ศรัทธาจากประชาชนมากกว่าเป็นไหนๆ"
"คนไทยเข้มแข็ง"
ครับ, จดหมายคุณตกค้างอยู่นาน แต่เรื่องเพลงชาติยังเป็นเรื่องเม้าท์ฮอตฮิตในทุกวงการ
จึงขอนำความเห็นทั้งหมดมาฉายซ้ำอีกที โดนใจหลายคนครับ!!
"แจ๋วริมจอ"
(ที่มา ไทยรัฐ ,19 ตุลาคม 2552)
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552
เหตุ (ร้าวลึก!) เกิดที่ศาลปกครอง
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
เป็นการช็อคแวดวงวิชการกฎหมายมหาชนอย่างมาก เมื่อ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ซึ่งมีโอกาสดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดในอนาคตอันใกล้ได้ยื่นใบลาออก จากตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างกระทันหันโดยให้มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
แม้การลาออกของ ดร.วรพจน์ เมื่อดูผิวเผินแล้วอาจจะเป็นผลมาจากกรณีที่ ดร.วรพจน์และนายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกคนหนึ่งพลาดจากตำแหน่งตุลาการหัวหน้าคณะในศาล ปกครองสูงสุดซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศ.ป.)มีมติแต่งตั้งไปเมื่อวัน ที่ 25 กันยายน 2552 จำนวน 3 ตำแหน่งโดยบุคคลทั้งสองรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีการข้ามอาวุโสและเป็นการผิดข้อตกลงบางประการ
แต่ความจริงแล้ว ปรากฎกาณณ์ครั้งนี้อาจเป็น สะท้อนอาการร้าวลึกของศาลปกครองที่เริ่มปรากฎขึ้นมาตั้งแต่ศาลปกครองกลางมี คำสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 คุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.2551 ซึ่งเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการการใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว นอกจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดงวงวิชาการแล้ว แม้แต่ในแวดวงศาลปกครองเอง ตุลาการระดับสูงจำนวนหนึ่งซึ่งในจำนวนนี้มี ดร.วรพจน์ และนายชาญชัย ไม่เห็นด้วยอย่างมาก โดยเห็นว่า เรื่อง ดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นการ กระทำในทางรัฐบาล หรือเรื่องในทางนโยบาย โดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครอง
ในการวิการวิพากษ์วิจารณ์มีการหยิบยกกรณีคดีข้อตกลงทางหุ้นส่วน เศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทยหรือเจเทปป้าที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งไม่ รับเรื่องไว้พิจารณาด้วยเหตุผลว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเนื่องจากเป็นการกระทำในทางรัฐบาลมาเป็นบรรทัด ฐาน
ต่อมาคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ซึ่งมี ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ มีคำสั่งเมื่อ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลโดยสรุปว่า แถลงการณ์ร่วมฯอาจ ก่อให้เกิดความความแตกแยกกันในด้านความคิดเห็นของคนในสังคม และอาจก่อให้เกิดวิกฤติสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ประเทศกัมพูชา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แถลงการณ์ร่วมจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย
ดังนั้นหากดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ดังกล่าว ก็จะมีผลเสียหายและกระทบต่อประเทศชาติโดยรวมและสิทธิของประชาชนได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชนโดยรวม
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธาน 2 คน และตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดอีก 4 คน รวม 7 คน (องค์คณะปกติมีตุลาการ 5 คน และมีหัวหน้าคณะ 1 คน) การใช้องค์คณะที่ 1 พิจารณาคดีดังกล่าว เป็นครั้งแรกนับแต่จัดตั้งศาลปกครองมา 8 ปี น่าจะเป็นเพราะผู้บริหารศาลให้ความสำคัญกับคดีนี้อย่างมาก
แต่การให้ความสำคัญกับคดีนี้มากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลเน้นในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติในมุมมองหนึ่ง อาจทำให้อีกมุมมองเห็นว่า เป็นการละเลยหลักการทางวิชาการ และอาจมีผลกระทบต่อความยุติธรรมได้
ที่สำคัญเกรงว่า จะทำให้ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถือหางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของศาลที่เคยสร้างบรรทัดฐานในการพิพากษาคดี สำคัญมาแล้วเป็นจำนวนมาก
กรณีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสข่าวมากมายเกี่ยว กับการบริหารจัดการด้านคดีที่ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงว่า แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพราะกระแสข่าวดังกล่าว ถ้าเป็นจริงถือเป็นร้ายแรงอย่างมากในกระบวนการยุติธรรม
หลังจากคดีดังกล่าวในทางเปิดเผยได้เกิดวิวาทะกันอย่างระหว่าง ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษาใหญ่ศาลปกครองกับกลุ่มนักวิชาการกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้เกิดสภาพมึนตึงได้เกิดขึ้นในศาลปกครองที่ผู้บริหารศาลบางคนมองว่า มีกรณี"ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า "จึงเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันมานับแต่บัดนั้น
ด้วยเหตุนี้เมื่อ ดร.วรพจน์ลาออกอย่างกระทันหัน จึงถูกมองว่า อาจจะเป็นผลพวงจากความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจากปมปราสาทพระวิหาร
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ หลังจากการลาออก ดร.วรพจน์ ผู้บริหารศาลปกครองจะสรุปบทเรียนใอย่างไร เพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของสถาบันแห่งนี้
จาก มติชน
เป็นการช็อคแวดวงวิชการกฎหมายมหาชนอย่างมาก เมื่อ ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ซึ่งมีโอกาสดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดในอนาคตอันใกล้ได้ยื่นใบลาออก จากตุลาการศาลปกครองสูงสุดอย่างกระทันหันโดยให้มีผลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
แม้การลาออกของ ดร.วรพจน์ เมื่อดูผิวเผินแล้วอาจจะเป็นผลมาจากกรณีที่ ดร.วรพจน์และนายชาญชัย แสวงศักดิ์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุดอีกคนหนึ่งพลาดจากตำแหน่งตุลาการหัวหน้าคณะในศาล ปกครองสูงสุดซึ่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศ.ป.)มีมติแต่งตั้งไปเมื่อวัน ที่ 25 กันยายน 2552 จำนวน 3 ตำแหน่งโดยบุคคลทั้งสองรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีการข้ามอาวุโสและเป็นการผิดข้อตกลงบางประการ
แต่ความจริงแล้ว ปรากฎกาณณ์ครั้งนี้อาจเป็น สะท้อนอาการร้าวลึกของศาลปกครองที่เริ่มปรากฎขึ้นมาตั้งแต่ศาลปกครองกลางมี คำสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 คุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.2551 ซึ่งเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลกไปดำเนินการการใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว นอกจากเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดงวงวิชาการแล้ว แม้แต่ในแวดวงศาลปกครองเอง ตุลาการระดับสูงจำนวนหนึ่งซึ่งในจำนวนนี้มี ดร.วรพจน์ และนายชาญชัย ไม่เห็นด้วยอย่างมาก โดยเห็นว่า เรื่อง ดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนี้เป็นการ กระทำในทางรัฐบาล หรือเรื่องในทางนโยบาย โดยแท้ มิใช่การกระทำทางปกครอง
ในการวิการวิพากษ์วิจารณ์มีการหยิบยกกรณีคดีข้อตกลงทางหุ้นส่วน เศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทยหรือเจเทปป้าที่ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำสั่งไม่ รับเรื่องไว้พิจารณาด้วยเหตุผลว่า ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองเนื่องจากเป็นการกระทำในทางรัฐบาลมาเป็นบรรทัด ฐาน
ต่อมาคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ซึ่งมี ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะ มีคำสั่งเมื่อ 11 กันยายน 2551 ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง
ศาลปกครองสูงสุดให้เหตุผลโดยสรุปว่า แถลงการณ์ร่วมฯอาจ ก่อให้เกิดความความแตกแยกกันในด้านความคิดเห็นของคนในสังคม และอาจก่อให้เกิดวิกฤติสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ประเทศกัมพูชา ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง แถลงการณ์ร่วมจึงเป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทย
ดังนั้นหากดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ดังกล่าว ก็จะมีผลเสียหายและกระทบต่อประเทศชาติโดยรวมและสิทธิของประชาชนได้ จึงมีเหตุเพียงพอที่ศาลจะกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้ต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของประเทศและประชาชนโดยรวม
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดคณะที่ 1 ประกอบด้วยประธานศาลปกครองสูงสุด รองประธาน 2 คน และตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุดอีก 4 คน รวม 7 คน (องค์คณะปกติมีตุลาการ 5 คน และมีหัวหน้าคณะ 1 คน) การใช้องค์คณะที่ 1 พิจารณาคดีดังกล่าว เป็นครั้งแรกนับแต่จัดตั้งศาลปกครองมา 8 ปี น่าจะเป็นเพราะผู้บริหารศาลให้ความสำคัญกับคดีนี้อย่างมาก
แต่การให้ความสำคัญกับคดีนี้มากเป็นพิเศษ โดยให้เหตุผลเน้นในเรื่องผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติในมุมมองหนึ่ง อาจทำให้อีกมุมมองเห็นว่า เป็นการละเลยหลักการทางวิชาการ และอาจมีผลกระทบต่อความยุติธรรมได้
ที่สำคัญเกรงว่า จะทำให้ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ถือหางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จนอาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของศาลที่เคยสร้างบรรทัดฐานในการพิพากษาคดี สำคัญมาแล้วเป็นจำนวนมาก
กรณีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสข่าวมากมายเกี่ยว กับการบริหารจัดการด้านคดีที่ยังไม่มีใครทราบข้อเท็จจริงว่า แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เพราะกระแสข่าวดังกล่าว ถ้าเป็นจริงถือเป็นร้ายแรงอย่างมากในกระบวนการยุติธรรม
หลังจากคดีดังกล่าวในทางเปิดเผยได้เกิดวิวาทะกันอย่างระหว่าง ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษาใหญ่ศาลปกครองกับกลุ่มนักวิชาการกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียวกันได้เกิดสภาพมึนตึงได้เกิดขึ้นในศาลปกครองที่ผู้บริหารศาลบางคนมองว่า มีกรณี"ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า "จึงเกิดความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันมานับแต่บัดนั้น
ด้วยเหตุนี้เมื่อ ดร.วรพจน์ลาออกอย่างกระทันหัน จึงถูกมองว่า อาจจะเป็นผลพวงจากความขัดแย้งที่ต่อเนื่องมาจากปมปราสาทพระวิหาร
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ หลังจากการลาออก ดร.วรพจน์ ผู้บริหารศาลปกครองจะสรุปบทเรียนใอย่างไร เพื่อมิให้กระทบกระเทือนต่อความน่าเชื่อถือศรัทธาของสถาบันแห่งนี้
จาก มติชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)